ReadyPlanet.com
dot dot
วัฒนาสาธิตรักในหลวง  ขอพระองค์ทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน  : โรงเรียนอนุบาลวัฒนาสาธิต และติวสาธิตครูจอย  รับเด็กเนอสเซอรี่ - เด็กอนุบาล 3  เตรียมสอบเข้าสาธิตมศว สาธิตจุฬา  สาธิตเกษตร  มาแตร์เดอี  วัฒนาสาธิต  และคาทอลิคชั้นนำ  สอบถามติดต่อ  02-3971172
dot
เราจะเป็นลูกที่ดีของในหลวง
dot
bulletพระราชประวัติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ
bullet20 ภาพประทับใจ
dot
แนะนำโรงเรียน
dot
bulletข้อมูลทั่วไป
bulletแนะนำผู้บริหาร
bulletสัมภาษณ์ผู้รับใบอนุญาต
bulletอาคารและสถานที่
dot
นวัตกรรมการศึกษา
dot
bulletMontessori
bulletWhole Language
bulletActivity Base Learning
dot
การรับประกันคุณภาพ
dot
ขอแสดงความยินดีกับ คณะครูและผู้ปกครองโรงเรียนอนุบาลวัฒนาสาธิต  ทางโรงเรียนผ่านการการรับรองมาตราฐานาการศึกษา รอบสาม  (พ.ศ.๒๕๕๔-๒๕๕๘)   ระดับดีมาก ค่า
dot
กิจกรรมต่าง ๆ
dot
bulletกิจกรรมวันสำคัญ
bulletกิจกรรมการเรียนการสอน
bulletกิจกรรมนอกสถานที่
bulletกิจกรรมทัศนศึกษา
bulletกิจกรรมช่วงปิดเทอม
bulletโครงการลดกล่อง แยกขยะ
dot
แฟ้มภาพกิจกรรมประจำปี
dot
bulletClip VDO กิจกรรมเด็ก
bulletโครงการประจำปี 2560
bulletโครงการประจำปี 2561
bullet โครงการประจำปี 2559
bulletโครงการประจำปี 2551
bulletประมวลภาพกิจกรรมย้อนหลัง
dot
คุยกับคุณครู
dot
bulletมาตราการรับมือ โรคมือ เท้า ปาก พันธุ์ Enterovirus
bulletคำถามยอดฮิต สำหรับผู้ปกครองใหม่
bulletเทคนิคติวเชาวน์ด้วยตนเอง
bulletกำหนดการสอบเด็กเล็กเครือสาธิตฯ
bulletแด่คุณพ่อ คุณแม่ .... จากใจคุณครูด้วยความเคารพ
bulletสองมือน้อย ๆ ช่วยกันลดโลกร้อน
dot
เยี่ยมชมโรงเรียน
dot
dot
Charity Corner
dot
bulletร่วมงานกับเรา
bulletApply Job
bulletผู้ปกครองสัมพันธ์
bulletแผนผังเวบไซต์


 ปฏิทินกิจกรรม
..Jan 2017..

เปิดรับสมัคร
นักเรียนใหม่ ปี 2560
ระดับเนอสเซอรี่
อายุ 1.6 - 3 ปี
เริ่มเรียนวันที่ 16 ม.ค.60
สอบถามรายละเอียดได้
ที่ฝ่ายธุรการ
โทร. 02-3971172

Open Enroll
For Nursery
ages 1.6 - 3 yrs
For Kindergarten 1-3
ages 3 - 6 yrs

more information
call 02-3971172

------------------

ติวสาธิตครูจอย ปี 60

คอร์สเตรียมพร้อมสู่ สาธิตมศว.
"สาธิตจุฬา สาธิตเกษตร"
เริ่ม 3 มิ.ย.60- 10 มี.ค.61
เปิดรับ 2 รอบ
คอร์สเช้า 10.30-12.30 น.
คอร์สบ่าย 14.00 -16.00 น.
เปิดจองแล้วคะ
------------------
คอร์สตะลุยโจทย์ ก.พ.60
"เตรียมพร้อมสู่สาธิต 60"
เริ่ม 5 ก.พ.- 11 มี.ค.60
คอร์สเช้า 10.30-12.30 น.
สำหรับสาธิตมศว
คอร์สบ่าย 14.00-16.00 น.
สำหรับสาธิตจุฬา
เปิดรับจองแล้วคะ

สอบถามเพิ่มเติม
โทร. 02-3971172

Satit Exam Program
Preparing course
For K2, K3 student
ready for Grade 1

More information
contact school
Tel:02-3971172 ,
086-5758882
------------------

ติดต่อโรงเรียน
โทร. 02-3971172
และ 086-5758882

------------------
โรงเรียนอนุบาลวัฒนาสาธิต อนุบาลสองภาษา   จัดกิจกรรมเสริมทักษะทางเชาวน์ปัญญา (เตรียมสอบเข้า ป.1 , ติวสาธิต)  และภาษา ทุกวันเสาร์
www.wattanasatit.com  : ศูนย์รวมการศึกษาและการท่องเที่ยว ทัศนศึกษานักเรียน ศึกษาต่อ  เรียนภาษาระยะสั้น เรียนต่อต่างประเทศ ซัมเมอร์คอร์สปิดเทอม ฝึกงาน ดูงานต่อประเทศ ทัศนศึกษา ท่องเที่ยว ไทยเที่ยวไทย ตั๋วเครื่องบิน


วันปิยมหาราช

วันปิยมหาราช


สร้างเมื่อ 19-10-2007 โดย IdealistCity

          23 ตุลาคมของทุกปี เป็น วันคล้ายวันสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทุกปีจะมีการวางพวงมาลาดอกไม้ที่พระบรมรูปทรงม้า เพื่อเป็นการรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

          เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม 2453 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงประชวรเสด็จสวรรคต ณ พระที่นั่งอัมพรสถานพระราชวังดุสิต ครั้นนั้นเป็นที่เศร้าสลดอย่างใหญ่หลวงของพระบรมวงศานุวงศ์และปวงชนทั่วประเทศ เพราะพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเป็นกษัตริย์ที่เคารพรักของหวยราษฎร์ ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณอเนกประการทั้งในการปกครองบ้านเมืองและพระราชทานความร่มเย็นเป็นสุขแก่ชนทุกหมู่เหล่า ทวยราษฎร์ทั้งปวงจึงได้ถวายพระนามว่า พระปิยมหาราช หรือ พระพุทธเจ้าหลวง

          เมื่อถวายพระเพลิงพระบรมศพตามราชประเพณีแล้ว ครั้งเมื่อบรรจบอภิลักขิตสมัยคล้ายวันสวรรคต พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ผู้สืบราชสันตติวงศ์ ได้ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลทักษิณานุปทานถวายตามราชประเพณี โดยเชิญพระโกศพระบรมอัฐิพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวออกประดิษฐานบนพระแท่นนพปฎลมหา-เศวตฉัตร และเชิญพระพุทธรูปปางประจำพระชนมวารประดิษฐาน ณ โต๊ะหมู่ในพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท หรือพระที่นั่งอนันตสมาคม

          ส่วนที่พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ พระลานพระราชวังดุสิต หน้าที่นั่งอนันตสมาคม ที่เรียกว่าพระบรมรูปทรงม้า ซึ่งเป็นพระบรมราชานุสาวรีย์ที่พระบรมวงศานุวงศ์ข้าราชการ พ่อค้า คหบดี ปวงชนชาวไทยทุกหมู่เหล่าผู้สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณได้ร่วมใจกันรวบรวมเงินจัดสร้างประดิษฐานขึ้นน้อมเกล้าฯถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวขณะที่ทรงพระชนม์อยู่เนื่องในมหามงคลสมัยที่ทรงครองราชย์ยั่งยืนนานถึง 40 ปี และพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินมาทรงเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์ด้วยพระองค์เอง เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายนพ.ศ. 2451 นั้น

          ต่อมาทางราชการได้ประกาศให้วันที่ 23 ตุลาคมซึ่งเป็นวันสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นวันที่ระลึกสำคัญของชาติเรียกว่า วันปิยมหาราช และกำหนดให้หยุดราชการวันหนึ่งในวันปิยมหาราช เจ้าหน้าที่กระทรวงมหาดไทยซึ่งต่อมาเป็น กรุงเทพมหานคร ร่วมด้วยกระทรวงวัง ซึ่งต่อมาเป็นสำนักพระราชวัง ได้จัดตกแต่งพระบรมราชานุสาวรีย์ ตั้งราชวัติ ฉัตร 5 ชั้น ประดับโคม ไฟ ราวเทียม กระถางธูป ทอดเครื่องราชสักการะที่หน้าพระบรมราชานุสาวรีย์ตั้งแต่นั้นมาจนถึงปัจจุบัน

          พระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลวันปิยมหาราชครั้งแรก คือ ถัดจากปีที่ได้ถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระจุลจอม เกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงบำเพ็ญพระราชกุศลทักษิณานุปทานถวายแล้ว ได้เสด็จฯไปถวายพวงมาลา ทรงจุดธูปเทียนเครื่องราชสักการะที่พระบรมราชานุสาวรีย์


พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว


หัวข้อ
พระราชประวัติ

          พระบาทสมเด็จพระปริมทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระนามเดิมว่า "สมเด็จเจ้าฬ้าชายจุฬาลงกรณ์ บดินทรเทพมหากุฎ บุรุษยรัตนราชรวิวงศ์ วรุตมพงศ์บริพัตรสิริวัฒนราชกุมาร" เป็นพระราชโอรสองค์ที่ 9 ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระเทพศิรินทรา บรมราชินี พระบรมราชสมภพเมื่อวันอังคารที่ 20 กันยายน พุทธศักราช 2396

          ทรงได้รับการศึกษาขั้นแรกจากสำนักพระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้าบุตรี กรมหลวงวรเสรฐสุดา พระเจ้าลูกเธอในรัชกาลที่ 3 ผู้ทรงรอบรู้ด้านอักษรศาสตร์ และโบราณราชประเพณีอย่างดียิ่ง นอกจากนั้นทรงศึกษาภาษามคธกับพระปริยัติธรรมธาดา(เนียม) เมื่อเป็นหลวงราชาภิรมย์ กรมราชบัณฑิต ทรงศึกษาวิชาการยิ่งปืนไฟจากสำนัก พระยาอภัยศรเพลิง(ศรี) ทรงศึกษาวิชาคชกรรมกับสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ามหามาลา กรมพระยาบำราบปรปักษ์ และวิชาอื่นๆ อันสมควรแก่บรมราชกุมาร

          นอกจากนี้ ได้ทรงศึกษาภาษาอังกฤษ จากชาวต่างประเทศโดยตรง คือ นางแอนนาเลียวโนแวนส์ ครูสตรีชาวอังกฤษ ต่อมาทรงศึกษากับหมอจันดเล ชาวอเมริกัน และ เมื่อเสวยราชสมบัติแล้ว พุทธศักราช 2416 ได้ทรงศึกษา ได้ทรงศึกษากับครูชาวอังกฤษ ชื่อฟรานซิส ยอร์จ แพตเตอสัน ต่อมาก็ทรงพระอุตสาหะศึกษาด้วยพระองค์เองจนมี ความรู้ภาษาอังกฤษอย่างแตกฉาน

          ในด้านวิชารัฐศาสตร์ ราชประเพณีและโบราณคดีนั้น สมเด็จพระบรมชนกนาถเป็นผู้พระราชทานการฝึกสอนด้วยพระองค์เองตลอดมา

          หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวสวรรคต เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พุทธศักราช 2411 เหล่าเสนาบดีและข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ พร้อมใจกันอัญเชิญสมเด็จ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ฯ ขึ้นเถลิงราชสมบัติ เป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 5 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์

          พระราชพิธีบรมราชาภิเษกครั้งแรกเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน พุทธศักราช 2411 ขณะนั้นทรงพระชนมายุเพียง 14 พรรษา สมเด็จพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ซึ่งขณะมีบรรดาศักดิ์เป็นเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ รับหน้าที่เป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน ระหว่างนั้นพระองค์ได้เสด็จประพาสต่างประเทศ คือ อินเดีย และชวา เพื่อทอดพระเนตรวิทยาการสมัยใหม่ที่ ประเทศทางตะวันตกนำมาเผยแพร่เพื่อนำเป็นแนวทางในการพัฒนาประเทศต่อไป

          เมื่อพระชนมายุบรรลุพระราชนิติภาวะ ทรงผนวชเป็นพระภิกษุเป็นเวลา 2 สัปดาห์ แล้วจึงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกเป็นครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน พุทธศักราช 2416 และนับจากนั้นมาก็ทรงพระราชอำนาจเด็ดขาดในการบริหารราชการแผ่นดิน ตลอดระยะเวลาที่ทรงครองสิริราชสมบัติ ทรงปกครองทำนุบำรุงพระราชอาณาจักรให้มั่นคั่งสมบูรณ์ ดัวยรัฐสมบัติ พิทักษ์พสกนิกรให้อยู่เย็นเป็นสุข บำบัดภัยอันตรายทั้งภายในภายนอกประเทศ ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจต่างๆ อันก่อให้เกิดคุณประโยชน์แก่ประเทศชาติให้รอดพ้นจากวิกฤตการณ์และสามารถธำรงเอกราชไว้ตราบจนทุกวันนี้


สมเด็จเจ้าฟ้าชายจุฬาลงกรณ์


พระราชพิธีบรมราชาภิเษก ครั้งที่ 1


พระราชพิธีบรมราชาภิเษก ครั้งที่ 2

 
พระราชกรณียกิจ

          ด้านการปกครองและการบริหารราชการแผ่นดิน ทรงผสมผสานประเพณีการปกครองของไทยกับต่างประเทศเข้าด้วยกัน โดยเริ่มจากการตั้งสภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน (Council  of  State) ขึ้นเมื่อปี พ.ศ.๒๔๑๗ และตั้งสภาองคมนตรี (Privy  Council)   ต่อมาในปี พ.ศ.๒๔๓๑  ทรงตั้งกรมขึ้นใหม่อีก ๖ กรม  รวมกับของเดิมเป็น ๑๒ กรม   กรมเหล่านี้ต่อมาใน พ.ศ.๒๔๓๕ ทรงให้ยกฐานะเป็นกระทรวง  ในส่วนภูมิภาคทรงให้จัดตั้งมณฑลเทศาภิบาลขึ้นเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ.๒๔๓๗  อยู่ในความดูแลของกระทรวงมหาดไทย

          ด้านเศรษฐกิจและการคลัง   ในปี พ.ศ.๒๔๑๖  ทรงให้ตั้งหอรัษฎากรพิพัฒน์เพื่อเก็บรายได้ของแผ่นดินมารวมไว้แห่งเดียวกัน   และให้มีการจัดทำงบประมาณแผ่นดินขึ้นเป็นครั้งแรก ที่สำคัญคือทรงให้แยกเงินแผ่นดินและเงินส่วนพระองค์ออกจากกันโดยเด็ดขาด ทรงโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งธนาคารขึ้นเป็นครั้งแรก คือ ธนาคารสยามกัมมาจล

          ด้านกฎหมายและการศาล ทรงสถาปนากระทรวงยุติธรรมในปี พ.ศ.๒๔๓๔ มีการชำระพระราชกำหนดกฎหมาย  มีการประกาศใช้กฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ.๑๒๗ เป็นฉบับแรก  ทรงสถาปนาโรงเรียนกฎหมายและทรงส่งนักเรียนไทยไปศึกษาวิชากฎหมายในทวีปยุโรป   เพื่อกลับมาพัฒนากฎหมายไทยต่อมา

          ด้านการต่างประเทศ  ทรงเล็งเห็นความสำคัญของการเจริญพระราชไมตรี กับนานาประเทศทั่วโลก มีการส่งอัครราชทูตไปประจำต่างประเทศเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ.๒๔๒๔  นอกจากนี้ยังทรงเสด็จประพาสประเทศต่างๆ ในปี พ.ศ.๒๔๔๐ และ พ.ศ.๒๔๕๐ เพื่อนำความเจริญต่างๆ มาปรับปรุงบ้านเมืองให้พัฒนาก้าวหน้าอีกด้วย

          ด้านการทหารและการปกครองประเทศ ทรงนำแบบอย่างการวางรูปแบบทางการทหารของชาวยุโรป  มาแก้ไขปรับปรุงให้เหมาะสมใช้กับประเทศไทย  ทรงโปรดเกล้าฯ ให้รวมการบังคับบัญชาทหารบกและทหารเรือเป็นกรมยุทธนาธิการ  นอกจากนี้ ยังทรงให้ตราพระราชบัญญัติลักษณะเกณฑ์ทหารขึ้นในปี พ.ศ.๒๔๔๘  มีการจัดตั้งกรมเสนาธิการทหารบกเป็นครั้งแรก พระราชทานกำเนิดโรงเรียนนายร้อยทหารบกและโรงเรียนนายเรือ  ตลอดจนทรงส่งพระราชโอรสไปศึกษาวิชาการทหาร  ณ  ทวีปยุโรป

          ด้านการศึกษา ทรงโปรดเกล้าฯให้ตั้งโรงเรียนหลวงแห่งแรกขึ้นในพระบรม มหาราชวังเมื่อปี พ.ศ.๒๔๑๔ แล้วขยายออกสู่ประชาชน   โดยทรงโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งโรงเรียนสำหรับราษฎรแห่งแรกที่วัดมหรรณพาราม  ในปี พ.ศ.๒๔๒๗  นอกจากนี้ยังทรงริเริ่มการจัดตั้งหอพระสมุด  พิพิธภัณฑสถานและโบราณคดีสโมสรด้วย

          ด้านการศาสนา ในปี พ.ศ.๒๔๓๑โปรดเกล้าฯให้มีการสังคายนาและจัดพิมพ์  พระไตรปิฎกด้วยตัวอักษรไทยเป็นครั้งแรกและในปี พ.ศ.๒๔๔๕โปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติปกครองคณะสงฆ์เป็นฉบับแรก  นอกจากนี้  ยังโปรดเกล้าฯ ให้สร้างวัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามเป็นวัดประจำรัชกาล อีกด้วย

          การเลิกทาส   ทรงมีพระราชดำริว่า  “การมีทาสเป็นเครื่องถ่วงความเจริญของบ้านเมือง”   เพื่อให้ระบบทาสค่อยๆ หายไปจากสังคม  จึงเริ่มด้วยการ “พระราชบัญญัติพิกัดกระเษียรอายุลูกทาสลูกไทย” ขึ้นก่อน หลังจากนั้นทรงโปรดเกล้าฯให้ตรา “พระราชบัญญัติทาสรัตนโกสินทร์ ศก ๑๒๔”  ให้เลิกทาสทั่วพระราชอาณาเขต

          การคมนาคมและการสื่อสาร  ทรงโปรดเกล้าฯให้สร้างทางรถไฟและตัดถนนขึ้นหลายสาย  ทรงพระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์  สร้างสะพานเพื่อเป็นสาธารณประโยชน์เป็นประจำทุกปีในวันเฉลิมพระชนมพรรษา เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๔๓๘ เป็นต้นมา  นอกจากนี้ในปี พ.ศ.๒๔๑๘ ทรงโปรดเกล้าฯให้จัดสร้างและดำเนินการการโทรเลขขึ้น โทรเลขสายแรกในประเทศไทย  คือ  สายกรุงเทพ – สมุทรปราการ

          การสาธารณูปโภคและสาธารณสุข  ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกำหนดสุขาภิบาล เมื่อปี พ.ศ.๒๔๔๐ เรียกว่า“พระราชกำหนดสุขาภิบาลกรุงเทพฯ ร.ศ.๑๑๖”   ในช่วงวิกฤตการณ์ ร.ศ.๑๑๒ได้ทรงมีพระบรมราชานุญาตให้สมเด็จพระศรีพัชรินทรา บรมราชินีนาถ จัดตั้งสภาอุณาโลมแดง (สภากาชาดในปัจจุบัน) ขึ้น

          ด้านวรรณกรรมและศิลปกรรม ทรงพระราชนิพนธ์ทั้งร้อยแก้วและร้อยกรองอันทรงคุณค่าไว้เป็นจำนวนมาก  ทั้งยังโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระที่นั่งใหม่ๆ เป็นตึกขึ้นหลายองค์แทนพระที่นั่งเดิมซึ่งทำด้วยไม้และเริ่มผุผัง ที่สำคัญที่สุด คือ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท   ในปลายรัชกาลทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระราชวังดุสิต และพระที่นั่งอนันตสมาคม เป็นตึกหินอ่อนขนาดใหญ่ที่เสร็จในสมัยรัชกาลที่ ๖ อีกด้วย

          การเสด็จประพาสต้น   เป็นพระราชกรณียกิจที่สำคัญอีกอย่างหนึ่ง  เนื่องจากมีพระราชประสงค์ที่จะสอดส่องดูแลทุกข์สุขของราษฎรอย่างใกล้ชิด  ทรงโปรดเกล้าฯ ให้จัดการเสด็จพระราชดำเนินเป็นการลับ  ทรงแต่งพระองค์อย่างสามัญชน เสด็จพระราชดำเนินด้วยรถไฟบ้าง  เรือบ้าง  เพื่อทอดพระเนตรชีวิตความเป็นอยู่ของราษฎร   ด้วยเหตุนี้จึงทำให้พระองค์ทรงเป็นที่รักและเทิดทูนยิ่งของพสกนิกรทั้งปวง  จึงได้พร้อมใจกันถวายพระสมัญญานามว่า “พระปิยมหาราช” และร่วมกันออกทุนทรัพย์สร้างพระบรมรูปทรงม้าไว้บริเวณลานพระราชวังดุสิต   เพื่อเป็นที่เครารพสักการะอยู่ชั่วนิรันดร์


พระบรมรูปทรงม้า

          พระบรมรูปทรงม้า สร้างขึ้นในรัชสมัยของ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อ พ.ศ. 2451 ด้วยเงินที่ประชาชนได้เรี่ยไรสมทบทุน โดยจ้างนายช่างชาวฝรั่งเศสแห่ง บริษัทซุซ เซอรเฟรส ฟองเดอร์ หล่อมาจากกรุงปารีส พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จไปทรงทำพิธีเปิดด้วยพระองค์เอง ส่วนเงินที่เหลือ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้นำไปสร้างมหาวิทยาลัยขึ้น มีนามตามพระปรมาภิไธยว่า "จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย"

          พระบรมรูปทรงม้า ภาพนี้ถ่ายเมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๐ ในสตูดิโอของจอร์จ เซาโล  ณ กรุงปารีส ในภาพจะเห็นทั้งปฏิมากรและบรรดาผู้ช่วย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จ พระราชดำเนินเยือนสตูดิโอแห่งนี้เพื่อประทับ เป็นแบบให้เซาโล ระหว่างการเสด็จฯ ประพาสยุโรปครั้งที่ ๒ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๙

ที่มา

www.lib.ru.ac.th

www.aksorn.com



ขอบคุณข้อมูล www.sanook.com

พระบรมรูปทรงม้า



กิจกรรมประจำเดือน

วันสงกรานต์ : สวัสดีปีใหม่ไทย ๒๕๕๓
วาเลนไทน์
เทศกาลตรุษจีน
วันพ่อแห่งชาติ
วันแม่แห่งชาติ
16 มกราคม วันครู
วันเด็กแห่งชาติ 2556
วันปีใหม่
ประวัติวันเเม่แห่งชาติ
วันทหารผ่านศึก 3 ก.พ. ของทุกปี
พระบรมราโชวาท
วันฉัตรมงคล 5 พฤษภาคม
วันคุ้มครองโลก 22 เม.ย.
วันรัฐธรรมนูญ
น้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ ในสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา ฯ
กิจกรรมการเรียนประจำเดือน
Happy Birth Day Party
WST Gallery house 2007-2008
กิจกรรมกลุ่ม 18 แข่งขันวิชาการระดับอนุบาล ณ โรงเรียนพระหฤทัยคอนแวนต์
Gallery
christmas
วันลอยกระทง
วันปฐมนิเทศ 11 มิ.ย. 49
วันมาฆบูชา
วันวิสาขบูชา
วันเข้าพรรษา
วันอาสฬหบูชา article
Field trip @ Children's discovery house
ทัศนศึกษา โครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา
Field @ Dreamworld
Field Trip on Summer@ Siam Park City
Field Trip @ Butterfly Garden & Traffic City
ทัศนศึกษาSafari World
ทัศนศึกษาสนามบินสุวรรณภูมิ
วันไหว้ครู 14 มิ.ย.55
กีฬาอนุบาลกรุงเทพฯ ครั้งที่ 2 : โรงเรียนอนุบาลวัฒนาสาธิต สุขุมวิท 101/1
ประมวลภาพกิจกรรมตลอดภาคต้น
9 เหรียญทองแดง ในกีฬาอนุบาล กทม. ครั้งที่ 1
October camp >>> WST Deep through the sea camp : ผจญภัยใต้ท้องทะเล
Wattanasatit English camp on Summer
WST October camp Space Adventure 06
Summer Camp on April
Space Adventure on October Camp



Copyright © 2010 All Rights Reserved.
@โรงเรียนอนุบาลวัฒนาสาธิต 34 ซ.วชิรธรรมสาธิต 55 หมู่บ้าน อิมพีเรียล พาร์ค สุขุมวิท 101/1 พระโขนง กทม. โทร. 02-7464991