ReadyPlanet.com


แนวทางการเฝ้าระวัง โรคมือ เท้า ปาก สายพันธุ์ เอนเทอโรไวรัส
avatar
Admin


แนวทางการเฝ้าระวัง สอบสวนและรายงานโรคกรณีสงสัยติดเชื้อเอนเทอโรไวรัส (Enterovirus)

ที่มีอาการรุนแรง และการระบาดของโรคมือเท้าปาก

ปรับปรุง ณ วันที่ 2 กันยายน 2554

จำแนกผู้ป่วยเป็น 3 แบบ ดังนี้

1. ผู้ป่วยมีไข้ ร่วมกับ อาการหอบเหนื่อยเฉียบพลัน และมีอาการหรืออาการแสดงที่บ่งชี้การติดเชื้อในระบบประสาทส่วนกลาง (CNS infection) อย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้

·       ชัก/เกร็ง (seizure/convulsion) หรือ

·       สั่น (tremor) หรือ

·       แขน ขาอ่อนแรง (acute flaccid paralysis) หรือ

·       ตรวจร่างกายพบ myoclonic jerk หรือ

·       ตรวจร่างกายพบ meningeal sign

ไม่ว่าผู้ป่วยจะมีหรือไม่มีอาการของโรคมือ เท้า ปาก (Hand-foot-mouth disease) หรืออาการ
แผลในปากโดยไม่มีผื่นหรือตุ่มน้ำที่ฝ่ามือ ฝ่าเท้า (
Herpangina)

ข้อปฏิบัติ

·   รายงานผู้ป่วยทุกรายภายใน 24 ชั่วโมง โดยส่งรายละเอียดผู้ป่วยตามแบบฟอร์ม - EV ไปที่
สำนักระบาดวิทยา (โทรสาร
02-591-8579)

หมายเหตุ ในรายที่ผู้ป่วยมีอาการของโรคมือ เท้า ปาก (Hand-foot-mouth disease) หรือมีอาการแผลในปากเพียงอย่างเดียว (Herpangina) ร่วมด้วย ให้รายงานโรคตามระบบรายงาน 506 ด้วย โดยรายงานผู้ป่วยจากรหัส ICD10 ทั้งรหัส B08.4 และ B08.5

·   สอบสวนโรค สัมภาษณ์ผู้ป่วย ญาติ และค้นหาผู้ป่วยเพิ่มเติมจากสมาชิกครอบครัวในบ้าน โรงเรียน ชุมชน เดียวกัน

·   เก็บตัวอย่างส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการตามแนวทางที่กำหนด (เฉพาะผู้ป่วย และครอบครัว)

·       พิจารณาส่งต่อให้กุมารแพทย์เป็นผู้ดูแล

 

2. ผู้ป่วยมีอาการของโรคมือ เท้า ปาก (Hand-foot-mouth disease) หรือมีเฉพาะแผลในปาก โดยไม่มีผื่นหรือตุ่มน้ำที่ฝ่ามือ ฝ่าเท้า (Herpangina) ร่วมกับมีไข้สูง ≥ 39 องศาเซลเซียส และมีอาการแสดงอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้

2.1                     อาเจียน

2.2                     ท้องเสีย

2.3                     ซึม

2.4                     หอบเหนื่อย

2.5                     อาการทางระบบประสาทส่วนกลาง (ดังข้างต้น)

ข้อปฏิบัติ

·       ดำเนินการรายงาน สอบสวน และเก็บตัวอย่าง เช่นเดียวกับกรณีผู้ป่วยแบบที่ 1

·   รายงานโรคตามระบบรายงาน 506 ด้วย โดยรายงานผู้ป่วยจากรหัส ICD10 ทั้งรหัส B08.4 และ B08.5

 

3. ผู้ป่วยมีอาการของโรคมือ เท้า ปาก (Hand-foot-mouth disease) หรือมีเฉพาะแผลในปาก โดยไม่มีผื่นหรือตุ่มน้ำที่ฝ่ามือ ฝ่าเท้า (Herpangina) ที่ไม่มีอาการรุนแรง (ไม่ครบตามเกณฑ์ข้อ 1 หรือข้อ 2)

ข้อปฏิบัติ

·   รายงานโรคตามระบบรายงาน 506 ด้วย โดยรายงานผู้ป่วยจากรหัส ICD10 ทั้งรหัส B08.4 และ B08.5 และควบคุมโรคตามแนวทางของกรมควบคุมโรค

·   ตรวจสอบว่ามีผู้ป่วยเป็นกลุ่มก้อนในหมู่บ้าน ศูนย์เด็กเล็ก สถานรับเลี้ยงเด็ก โรงเรียนหรือไม่

·       หากพบผู้ป่วยมีลักษณะเป็นกลุ่มก้อน ได้แก่                             

- ผู้ป่วยมากกว่า 2 ราย ในศูนย์เด็กเล็ก สถานรับเลี้ยงเด็ก หรือห้องเรียนเดียวกันภายใน 1 สัปดาห์

- ผู้ป่วยมากกว่า 5 ราย ในโรงเรียนเดียวกัน หรือหมู่บ้านเดียวกันภายใน 1 สัปดาห์

ข้อปฏิบัติ

·   รายงานโรคตามระบบรายงาน 506 ด้วย โดยรายงานผู้ป่วยจากรหัส ICD10 ทั้งรหัส B08.4 และ B08.5

·   สอบสวนโรคและรายงานผลการสอบสวนโรค ตามแบบฟอร์ม สอบสวนโรคมือเท้าปาก ในคู่มือนิยามโรคติดเชื้อ และส่งที่สำนักงานป้องกันควบคุมโรค

·       เก็บตัวอย่างส่งตรวจ (ตามแนวทางที่กำหนด)

·       ควบคุมโรคตามแนวทางของกรมควบคุมโรค

 

 

หมายเหตุ ในการรายงานโรคตามระบบรายงาน 506 แยกเป็น 2 กรณี

1.   กรณีที่โรงพยาบาลสามารถดึงข้อมูลมาเข้าสู่โปรแกรม R506 ได้โดยตรง

1.1       สำนักระบาดวิทยาจะ Update โปรแกรม 506 เพื่อให้สามารถรายงานโรค Hand-foot-mouth disease โดยแยกรหัส Organism Type เป็น 3 รหัส คือ

1. (Hand-foot-mouth) ,

2. (Herpangina)  และ

3. (ไม่ทราบ)

1.2 ให้โรงพยาบาลกำหนดรหัส ICD10 ที่จะออกรายงาน 506 เพิ่มเติมคือ B08.5

2. กรณีของพื้นที่ซึ่งต้องมีการ key ข้อมูลเองเพื่อนำข้อมูลเข้าสู่โปรแกรม R506 ให้แยกกรณีของ Hand-foot-mouth disease และ Herpangina โดยลงข้อมูลที่ตัวแปร “ชนิดของเชื้อก่อโรค” (Organism Type)

2.1                     Hand-foot-mouth disease (ICD10: B08.4) ให้ลงเป็น 1

2.2                     Herpangina (ICD10: B08.5) ให้ลงเป็น 2

2.3                     กรณีไม่ระบุให้ลงเป็น 3

 

 

 

 

 

 

แนวทางการเก็บตัวอย่างส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ กรณีสงสัยการติดเชื้อเอนเทอโรไวรัส 71 (Enterovirus 71)

·   สำหรับผู้ป่วย ที่มีอาการทางระบบประสาทส่วนกลางและหอบเหนื่อยเฉียบพลัน รวมทั้งผู้ป่วยโรคมือเท้าปาก และ Herpangina ที่มีอาการรุนแรง ให้เก็บตัวอย่างส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ ที่ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ดังต่อไปนี้

1)เลือด (Clotted blood) ปริมาณ 3 มิลลิลิตร ปั่นแยกซีรั่ม โดยเก็บ 2 ครั้ง ห่างกัน 2 สัปดาห์

2)Throat swab หรือ Tracheal suction ใส่ใน viral transport media (VTM) สำหรับเอนเทอโรไวรัส (สีชมพู) ภายในช่วงสัปดาห์แรกหลังวันเริ่มมีไข้

3)อุจจาระจำนวน 8 กรัม ในตลับเก็บตัวอย่าง ภายใน 2 สัปดาห์แรกหลังวันเริ่มมีไข้

กรณีที่ไม่สามารถเก็บตัวอย่างข้างต้นได้ อาจพิจารณาเก็บส่งตัวอย่างดังต่อไปนี้

4)Rectal swab (ในกรณีผู้ป่วยรุนแรง) ใส่ใน VTM สำหรับเอนเทอโรไวรัส (สีชมพู)

5)น้ำไขสันหลัง (CSF) ปริมาณ 2 มิลลิลิตร ใส่ภาชนะปลอดเชื้อ

·   สำหรับผู้สัมผัสร่วมบ้านของผู้ป่วยอาการรุนแรง ให้เก็บตัวอย่างส่งตรวจที่สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ดังต่อไปนี้

1)ตัวอย่าง Throat swab หรือ Tracheal suction ใน viral transport media (VTM) สำหรับ
เอนเทอโรไวรัส (สีชมพู) ภายในช่วงสัปดาห์แรกหลังวันเริ่มป่วย

2)ตัวอย่างอุจจาระจำนวน 8 กรัม ในตลับเก็บตัวอย่าง ภายใน 2 สัปดาห์แรกหลังวันเริ่มป่วย

·   สำหรับผู้ป่วยมือเท้าปากที่พบเป็นกลุ่มก้อน เช่น พบผู้ป่วยในศูนย์เด็กเล็ก สถานรับเลี้ยงเด็ก โรงเรียน
ชั้นอนุบาล หรือชั้นประถมศึกษา ที่มีอาการ
Herpangina หรือ HFMD มากกว่า 2 คนขึ้นไปในเวลา 1 สัปดาห์ หรือพบ
ผู้ป่วยมากกว่า 5 ราย ในโรงเรียนเดียวกัน หรือหมู่บ้านเดียวกันภายใน 1 สัปดาห์
ให้พิจารณาการเก็บตัวอย่างดังต่อไปนี้  

1.  กรณีพบผู้ป่วยน้อยกว่า 20 คน ให้เก็บตัวอย่างจากผู้ป่วยจำนวน 5 คนที่มีประวัติไข้ หรือมีอาการ Herpangina/Hand-foot-mouth lesion ในกลุ่มก้อนเดียวกัน

2.  กรณีพบการระบาดเป็นกลุ่มก้อนตั้งแต่ 20 คนขึ้นไป ให้เก็บตัวอย่างจากผู้ป่วย 6 - 10 คนที่มีประวัติไข้ หรือมีอาการ Herpangina/Hand-foot-mouth lesion ในกลุ่มก้อนเดียวกัน

เก็บตัวอย่างส่งตรวจที่สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ดังนี้

1)ตัวอย่าง Throat swab หรือ Tracheal suction ใน viral transport media (VTM) สำหรับ
เอนเทอโรไวรัส (สีชมพู) ภายในช่วงสัปดาห์แรกหลังวันเริ่มป่วย

2)ตัวอย่างอุจจาระจำนวน 8 กรัม ในตลับเก็บตัวอย่าง ภายใน 2 สัปดาห์แรกหลังวันเริ่มป่วย

          ทั้งนี้ให้เลือกส่งตัวอย่างจากผู้ป่วยที่เก็บตัวอย่างได้ครบถ้วนมากที่สุดเป็นหลัก   

      

หมายเหตุ        สำหรับวิธีการนำส่งตัวอย่างอุจจาระ Throat swab หรือเลือดที่ปั่นแยกซีรั่มแล้วให้ใส่ถุงพลาสติกรัดยางและแช่ตัวอย่างในน้ำแข็งที่มากเพียงพอจนถึงปลายทาง ในกรณีที่ไม่สามารถส่งได้ทันที
ให้เก็บในช่องแช่แข็ง สามารถดูรายละเอียดได้จากเอกสาร การเก็บและนำส่งตัวอย่างตรวจ
โรคมือ เท้า ปาก ของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข



ผู้ตั้งกระทู้ Admin :: วันที่ลงประกาศ 2011-09-08 18:09:39 IP : 124.121.211.84


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล *
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.