พบกันทุกวันเสาร์




หน้าหลัก | ความพร้อมคือ | ความพร้อมฝึกฝนได้ | วิธีเตรียมความพร้อม | ตรวจสอบความพร้อม
ความพร้อม ฝึกฝนได้
ความพร้อมเกิดเองตามธรรมชาติ
แนวความคิดที่ว่าความพร้อมเป็นสิ่งที่เกิดเองตามธรรมชาติ ไม่ใช่สิ่งที่เร่งได้มีมานานแล้วตั้งแต่สมัย รุสโซ ฟรอยด์ ปัจจุบันก็มีความเชื่อตามแนวคิดนี้กันมาก รวมทั้งแนวคิดเกี่ยวกับการจัดการศึกษาแบบพิพัฒนาการของ จอห์น ดิวอี โดย เฉพาะ ยีน พิอาเจต์ ค้นคว้าเรื่องพัฒนาการทางสติปัญญาของเด็กขึ้น ยิ่งเป็นการสนับสนุนให้มีผู้เชื่อตามแนวคิดนี้เพิ่มมากขึ้น แนวคิดของนักจิตวิทยากลุ่มนี้ มีผลต่อการเลี้ยงดูเด็กและต่อการจัดการศึกษา โดยสรุปดังนี้
1. การเลี้ยงดูเด็กควรปล่อยให้อิสระไม่ควรเข้มงวดผู้ใหญ่ไม่ควรเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับเด็กมากนักโดยเฉพาะอย่างยิ่งในวัยแรกเกิดถึง 6 ขวบทเป็นช่วงสำคัญของชีวิต ถ้าเด็กได้รับการเลี้ยงดูไม่ถูกวิธี จะมีผลต่อบุคลิกภาพตอนโตภายหลัง
2. โรงเรียนไม่ควรบังคับให้เด็กเรียนอะไรจนกว่าเด็กจะแสดงให้เห็นว่าพร้อมทั้งร่างกายและจิตใจ ครูไม่ควรเร่งรัดเด็ก ควรปล่อยให้เด็กพร้อมเองโดยธรรมชาติ เมื่อพร้อมแล้ว เด็กจะเรียนรู้ได้เร็วในระยะเวลาอันสั้น การเร่งเด็กเพราะเห็นว่าระดับสติปัญญาสูง ในขณะที่ขาดวุฒิภาวะทางร่างกาย จะมีผลเสียต่ออารมณ์และสังคม โดยเฉพาะในวัยแรกเรียน
3. โรงเรียนควรจัดประสบการณ์ให้เด็กได้มีทางเลือกให้มาก เพราะโดยธรรมชาติแล้วมนุษย์ต้องการเสรีภาพ และถ้าสิ่งที่เรียนตรงกับความสนใจของผู้เรียนแล้ว เขาจะเรียนได้ดี
4. เชื่อว่าทุกคนเกิดมาดีโดยธรรมชาติ ไม่ต้องการบังคับ การเรียนการสอนควรเน้นเป็นรายบุคคล เพราะคนเรามีความแตกต่างกันในด้านต่างๆ
ความพร้อมฝึกฝนและเร่งได้
นักจิตวิทยาที่มีความเชื่อตามแนวนี้ เชื่อว่าประสบการณ์มีความสำคัญ มนุษย์เป็นสิ่งที่เราสามารถปั้นได้แต่งได้ การรอคอยให้เด็กพร้อมเองตามธรรมชาติเป็นการเสียเวลา เพราะเวลาตลอดทุกช่วงวัยมีค่า ครูจึงให้ความช่วยเหลือเด็ก ให้เรียนรู้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้
นักจิตวิทยาที่เห็นว่าความพร้อมเป็นสิ่งที่เร่งได้ ฝึกฝนได้ ได้แก่ ธอรันไดค์ สกินเนอร์ กานาย แฮร์บาร์ต และบรูเนอร์ ความคิดดังกล่าวมีผลต่อการอบรมเลี้ยงดูเด็กและการจัดการศึกษาดังนี้
1. ไม่สนับสนุนการแบ่งกลุ่มเด็กตามระดับสติปัญญา แต่อาจแบ่งตามกลุ่มอายุ โดยเฉพาะในวัยเริ่มต้นขณะที่วุฒิภาวะทางร่างกายยังมีความสำคัญมาก เพราะเด็กวัยเริ่มต้นมีพัฒนา การอย่างรวดเร็ว
2. ครูอาจสอนวิชาใดๆ หรือเนื้อหาใดๆ ก็ได้ให้แก่เด็กทุกวัย ถ้าครูสามารถจัดประสบการณ์ที่เหมาะสม โดยการทำเนื้อหาให้เกิดความต่อเนื่องกัน และปรับเนื้อหาให้สอดคล้องกับความสามารถของเด็กในแต่ละวัยจะรับรู้ได้
3. เน้นบทบาทครูให้เป็นผู้มีความสำคัญในการเรียนการสอน เพราะครูจะเป็นผู้นำและช่วยเหลือให้นักเรียนได้พัฒนาอย่างเต็มความสา มารถ
4. ก่อให้เกิดการเรียนการสอนระบบไม่มีชั้น เพราะเชื่อว่านักเรียนแต่ละคนควรเรียนได้เต็มความสามารถโดยไม่ต้องคอยชั้นเรียน ทำให้เกิดการเรียนการสอนโดยใช้บทเรียนแบบโปรแกรมรวมแบบฝึกด้วยตนเองหรือเครื่องช่วยสอนเป็นรายบุคคล
ปัจจุบันการจัดการศึกษาในสภาพการณ์ที่เป็นจริงได้พยายามประนีประนอมความคิดที่เชื่อว่า ความพร้อมเป็นไปตามธรรมชาติกับความ พร้อมเป็นสิ่งที่เร่งฝึกฝนได้ สรุปลงเป็นความเชื่อที่ว่า ความพร้อมเป็นสิ่งที่ต้องคอยวุฒิภาวะหรือเกิดขึ้นตามธรรมชาติ แต่ในเวลาเดียวกันก็จำ เป็นที่จะต้องมีการเตรียมความพร้อมหรือฝึกความพร้อมให้เด็กก่อนล่วงหน้า เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้สะดวกขึ้นเมื่อเวลาที่บรรลุนิติภาวะ ในขณะเดียวกัน การเตรียมความพร้อมยังมีผลต่อการปรับตัวและพัฒนาบุคลิกภาพของเด็กอีกด้วย
แนวคิดเกี่ยวกับความพร้อมในประเทศไทย มักจะกล่าวถึงมากในระดับก่อนเรียนประถมศึกษา ซึ่งทุกท่านที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาและ ผู้ใคร่รู้น่าจะลองทบทวนตรวจสอบดูว่า เรากำลังยึดถือแนวคิดใด