ความเป็นมา
ทางโรงเรียนประยุกต์แนวความคิดมาจากการดูงานการจัดการโรงเรียนอนุบาล ณ ประเทศสิงคโปร์ ประยุกต์กับการเรียนรู้แบบโครงการ ( Project Approach) รูปแบบการเรียนรู้เป็นลักษณะ Discovery learning คือ การเรียนรู้ที่ผู้เรียนค้นหาคำตอบด้วยตนเอง ผ่านกระบวนของนักวิทยาศาสตร์ คือ ความสงสัย, การสังเกต, การสัมผัส, ลงมือสำรวจ, สั่งสมข้อมูล , สืบค้นข้อมูลสนับสนุน และ สรุปผลข้อสงสัย พัฒนาให้เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่ผ่านการลงมือปฏิบัติจริงทุกขั้นตอน จึงเกิดกระบวนการเรียนรู้ที่เรียกว่า ABL" หรือ Activity Base Learning Process หรือ "learning by doing"
นักการศึกษาปฐมวัยส่วนมากนิยมใช้โครงการกับเด็ก บางคนแนะนําว่าการสอนแบบโครงการเป็นวิธีการหนึ่งในหลายวิธีที่สามารถส่งเสริมให้เด็กรู้จักตัดสินใจ เห็นผลการกระทําที่ชัดเจนเป็นรูปธรรม และเด็กจะมีประสบการณ์จากการปฏิสัมพันธ์กับบุคคล วัตถุสิ่งของและสิ่งแวดล้อม ซึ่งทางอนุบาลวัฒนาสาธิตก็เห็นด้วยและนำมาปรับใช้ให้เหมาะกับอายุ และความสนใจของเด็ก
หลักการ
กระบวนการ คือ เด็ก หรือ ครู หรือทั้งเด็กและครู ช่วยกันตั้งคำถามจากสิ่งที่กลุ่มสนใจ การสืบค้นหาข้อมูลอย่างลึกตามหัวเรื่องที่เด็กสนใจควรแก่การเรียนรู้ โดยปกติการสืบค้นจะทําโดยเด็กกลุ่มเล็กๆ ที่อยู่ในชั้นเรียน หรือเด็กทั้งชั้นร่วมกัน หรือบางโอกาสอาจเป็นเพียงเด็กคนใดคนหนึ่งเท่านั้น จุดเด่นของโครงการ คือ ความพยายามที่จะค้นหาคําตอบจากคําถามที่เกี่ยวกับหัวเรื่อง โดยคําถามนั้น
จุดประสงค์ของโครงการ คือ การเรียนรู้เกี่ยวกับหัวเรื่อง มากกว่าการเสาะแสวงหาคําตอบที่ถูกต้องเพื่อตอบคําถามที่ครูเป็นผู้ถาม (Katz,1994)
การทําโครงการไม่สามารถทดแทนหลักสูตรทั้งหมดได้ สําหรับเด็กปฐมวัยถือเป็นส่วนที่เสริมเพิ่มเติมให้สมบูรณ์อย่างไม่เป็นทางการเพียงส่วนหนึ่งของหลักสูตรเท่านั้น งานโครงการจะไม่แยกเป็นรายวิชา เช่น ภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ฯลฯ แต่จะบูรณาการทุกวิชาเข้าด้วยกัน โดยเฉพาะเด็กปฐมวัยต้องการครูเป็นผู้ชี้แนะ และเป็นที่ปรึกษาในการทําโครงการ
ส่วนเวลาที่ใช้ในการทํางานแต่ละโครงการนั้นอาจใช้เวลาหลายวัน หลายสัปดาห์ หรือหนึ่งสัปดาห์ขึ้นอยู่กับหัวเรื่อง อายุและความสนใจของเด็ก (Katz, 1994)
การประเมินผลโครงการ ประเมินจากผลของการปฏิบัติการ วิธีการหาคำตอบ และข้อสรุปที่จะตอบข้อสงสัย
 |