ReadyPlanet.com
dot dot
วัฒนาสาธิตรักในหลวง  ขอพระองค์ทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน  : โรงเรียนอนุบาลวัฒนาสาธิต และติวสาธิตครูจอย  รับเด็กเนอสเซอรี่ - เด็กอนุบาล 3  เตรียมสอบเข้าสาธิตมศว สาธิตจุฬา  สาธิตเกษตร  มาแตร์เดอี  วัฒนาสาธิต  และคาทอลิคชั้นนำ  สอบถามติดต่อ  02-3971172
dot
เราจะเป็นลูกที่ดีของในหลวง
dot
bulletพระราชประวัติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ
bullet20 ภาพประทับใจ
dot
แนะนำโรงเรียน
dot
bulletข้อมูลทั่วไป
bulletแนะนำผู้บริหาร
bulletสัมภาษณ์ผู้รับใบอนุญาต
bulletอาคารและสถานที่
dot
นวัตกรรมการศึกษา
dot
bulletMontessori
bulletWhole Language
bulletActivity Base Learning
dot
การรับประกันคุณภาพ
dot
ขอแสดงความยินดีกับ คณะครูและผู้ปกครองโรงเรียนอนุบาลวัฒนาสาธิต  ทางโรงเรียนผ่านการการรับรองมาตราฐานาการศึกษา รอบสาม  (พ.ศ.๒๕๕๔-๒๕๕๘)   ระดับดีมาก ค่า
dot
กิจกรรมต่าง ๆ
dot
bulletกิจกรรมวันสำคัญ
bulletกิจกรรมการเรียนการสอน
bulletกิจกรรมนอกสถานที่
bulletกิจกรรมทัศนศึกษา
bulletกิจกรรมช่วงปิดเทอม
bulletโครงการลดกล่อง แยกขยะ
dot
แฟ้มภาพกิจกรรมประจำปี
dot
bulletClip VDO กิจกรรมเด็ก
bulletโครงการประจำปี 2560
bulletโครงการประจำปี 2561
bullet โครงการประจำปี 2559
bulletโครงการประจำปี 2551
bulletประมวลภาพกิจกรรมย้อนหลัง
dot
คุยกับคุณครู
dot
bulletมาตราการรับมือ โรคมือ เท้า ปาก พันธุ์ Enterovirus
bulletคำถามยอดฮิต สำหรับผู้ปกครองใหม่
bulletเทคนิคติวเชาวน์ด้วยตนเอง
bulletกำหนดการสอบเด็กเล็กเครือสาธิตฯ
bulletแด่คุณพ่อ คุณแม่ .... จากใจคุณครูด้วยความเคารพ
bulletสองมือน้อย ๆ ช่วยกันลดโลกร้อน
dot
เยี่ยมชมโรงเรียน
dot
dot
Charity Corner
dot
bulletร่วมงานกับเรา
bulletApply Job
bulletผู้ปกครองสัมพันธ์
bulletแผนผังเวบไซต์


 ปฏิทินกิจกรรม
..Jan 2017..

เปิดรับสมัคร
นักเรียนใหม่ ปี 2560
ระดับเนอสเซอรี่
อายุ 1.6 - 3 ปี
เริ่มเรียนวันที่ 16 ม.ค.60
สอบถามรายละเอียดได้
ที่ฝ่ายธุรการ
โทร. 02-3971172

Open Enroll
For Nursery
ages 1.6 - 3 yrs
For Kindergarten 1-3
ages 3 - 6 yrs

more information
call 02-3971172

------------------

ติวสาธิตครูจอย ปี 60

คอร์สเตรียมพร้อมสู่ สาธิตมศว.
"สาธิตจุฬา สาธิตเกษตร"
เริ่ม 3 มิ.ย.60- 10 มี.ค.61
เปิดรับ 2 รอบ
คอร์สเช้า 10.30-12.30 น.
คอร์สบ่าย 14.00 -16.00 น.
เปิดจองแล้วคะ
------------------
คอร์สตะลุยโจทย์ ก.พ.60
"เตรียมพร้อมสู่สาธิต 60"
เริ่ม 5 ก.พ.- 11 มี.ค.60
คอร์สเช้า 10.30-12.30 น.
สำหรับสาธิตมศว
คอร์สบ่าย 14.00-16.00 น.
สำหรับสาธิตจุฬา
เปิดรับจองแล้วคะ

สอบถามเพิ่มเติม
โทร. 02-3971172

Satit Exam Program
Preparing course
For K2, K3 student
ready for Grade 1

More information
contact school
Tel:02-3971172 ,
086-5758882
------------------

ติดต่อโรงเรียน
โทร. 02-3971172
และ 086-5758882

------------------
โรงเรียนอนุบาลวัฒนาสาธิต อนุบาลสองภาษา   จัดกิจกรรมเสริมทักษะทางเชาวน์ปัญญา (เตรียมสอบเข้า ป.1 , ติวสาธิต)  และภาษา ทุกวันเสาร์
www.wattanasatit.com  : ศูนย์รวมการศึกษาและการท่องเที่ยว ทัศนศึกษานักเรียน ศึกษาต่อ  เรียนภาษาระยะสั้น เรียนต่อต่างประเทศ ซัมเมอร์คอร์สปิดเทอม ฝึกงาน ดูงานต่อประเทศ ทัศนศึกษา ท่องเที่ยว ไทยเที่ยวไทย ตั๋วเครื่องบิน


วิธีการเตรียมความพร้อม

พบกันทุกวันเสาร์ 

แนะนำตัว เกณฑ์การรับสมัคร การเตรียมตัวสอบ ปฏิทินการเรียนประจำปี ลานประลอง  สถิติการสอบปี 55 

 

 

www.wattanasatit.com

 หน้าหลัก | ความพร้อมคือความพร้อมฝึกฝนได้วิธีเตรียมความพร้อม | ตรวจสอบความพร้อม 

 

 เราจะมีวิธีเตรียมความพร้อมให้แก่เด็กได้อย่างไร

       ดังที่ทราบดีแล้วว่า  ความพร้อมต้องประกอบด้วยวุฒิภาวะ  ประสบการณ์เดิม  และแรงจูงใจ  การเตรียมความพร้อมสำหรับเด็กปฐมวัย ให้มีความพร้อมสูงในการเรียน  พ่อแม่ผู้ปกครองจึงมีบทบาทที่สำคัญยิ่งเพราะชีวิตในช่วงแรกของเด็กอยู่ที่บ้าน  พ่อแม่ไม่ควรคิดว่าภาระการ เตรียมความพร้อมเป็นของครูอนุบาลเท่านั้น  แต่ก่อนที่ผู้ปกครองจะใช้เทคนิควิธีเตรียมความพร้อมใดๆ  จะต้องคำนึงถึงความแตกต่างในตัวเด็กแต่ละคนด้วย

       เด็กมักจะแตกต่างกันทั้งทางสุขภาพกายและจิตใจ  แม้ว่าเด็ก ๆ เหล่านั้นจะอยู่ในครอบครัวเดียวกันก็ตาม  ความแตกต่างดังกล่าวอาจแสดงให้เห็นถึงภายนอก  เช่น  รูปร่าง  น้ำหนักต่างกัน  การแสดงออกแตกต่างกันในเรื่องความตั้งใจ  กิริยาตอบโต้  การบังคับอารมณ์  ความทรงจำ  เป็นต้น  ผู้มีหน้าที่เลี้ยงดูเด็ก  ไม่ว่าพ่อแม่หรือคนหนึ่งคนใด  ต้องทำความเข้าใจลักษณะเฉพาะที่แตกต่างของเด็กเสียก่อน  จึงจะเตรียม ความพร้อมใฝให้ได้ผลดีตามต้องการ

  

  บทบาทของพ่อแม่ในการเตรียมความพร้อม

       พ่อแม่จะช่วยเตรียมความพร้อมทางด้านร่างกาย  ทางอารมณ์  ทางสังคม  ทางสติปัญญา  ไปได้พร้อม ๆ กับการเลี้ยงดูตามปกติ

       1.  การเตรียมคามพร้อมทางด้านร่างกาย  พ่อแม่จะต้องฝึกฝนลูกในเรื่องการกินอาหาร  การนอน  การขับถ่าย  การเคลื่อนไหวและการ ใช้กล้ามเนื้อเป็นสำคัญ

            การฝึกฝนให้เด็กรู้จักกินเป็นเวลา  ต้องกำหนดให้เด็กได้กินอาหารวันละสามมื้อโดยให้กินเป็นเวลา  ความไม่สม่ำเสมอในการจัด อาหารควรเป็นเวลาที่มีแต่ความสุข  การสนทนาควรเป็นแต่เรื่องที่เด็กสนใจ  ไม่ใช่นำเรื่องหวาดเสียวมาเล่าหรือตั้งปัญหาถกเถียงกัน  ไม่ควร เปรียบเทียบปริมาณการกินอาหารระหว่างเด็กด้วยกัน  การนำเอาความกินจุของเด็กคนหนึ่งขึ้นมากล่าว อาจจะทำให้เด็กคนอื่นคิดว่าการเป็นคนกินน้อยจะได้รับความสนใจจากผู้ใหญ่มากกว่า  เด็กที่เพิ่งจะเริ่มไปโรงเรียนบางทีก็เป็นเหตุให้กินอาหารมื้อเช้าไม่ค่อยได้  พ่อแม่ไม่ควรบัง คับจนกว่าเด็กจะเคยชินกับโรงเรียน  เด็กก็จะกินอาหารเช้าได้ตามปกติ

            การฝึกให้เด็กนอนเป็นเวลา  การนอนเป็นเวลานั้นส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับการฝึกหัดและนิสัยเฉพาะของแต่ละคน  การหยุดทำงานต่างๆ ภายในบ้านเพื่อให้เด็กได้นอนหลับโดยปราศจากเสียงรบกวนนั้น  เป็นการสร้างสถานการณ์ที่เลว เพราะเด็กจะลำบากภายหลัง เมื่อเขาต้องนอนในสภาพแวดล้อมที่ไม่อำนวย  งานบ้านของแม่หรือผู้เลี้ยงดูเด็กควรจะดำเนินต่อไปไม่หยุดยั้งระหว่างที่เด็กนอน  เพื่อให้เด็กได้เคยชินกับเสียง อื่นๆ  บ้างพอประมาณ  เด็กควรจะนอนตามลำพังซึ่งสิ่งนี้มักจะเป็นไปไม่ได้ในทุกบ้านของครอบครัวไทย  หลักการอบรมเลี้ยงดูแนวใหม่เชื่อว่า  เด็ก ๆ ไม่ควรนอนร่วมเคียงกับพ่อแม่เมื่อพ้นระยะการเป็นทารกไปแล้ว  เด็กควรได้รับการอบรมตั้งแต่ต้นถึงเหตุผลของการตั้งเวลานอน และพ่อแม่ก็ต้องปฏิบัติตามเวลาเข้านอนของตนเช่นกัน  เพื่อเป็นตัวอย่างที่ดีแก่เด็ก

            การฝึกนิสัยในการขับถ่าย  การฝึกนิสัยและการควบคุมการขับถ่ายของเด็กเป็นสิ่งจำเป็นมากสำหรับแม่  แม่ที่เลี้ยงดูลูกเองควรฝึก หัดให้เด็กหัดขับถ่ายตามธรรมชาติทีละน้อย  เริ่มจากการให้เด็กรู้จักนั่งหม้อถ่ายเป็นประการแรก  เป็นเวลานานกว่าเด็กจะยอมรับสิ่งต่างๆ  ฉะ นั้นแม่จึงต้องดูแลอย่างใกล้ชิดในระยะหนึ่ง  การเริ่มฝึกเด็กตั้งแต่เนิ่นๆ  จะเป็นผลให้เด็กรู้จักรับผิดชอบอย่างสมบูรณ์  เมื่อเด็กอายุได้ 3 ½ - 4 ปี เด็กจะควบคุมการขับถ่ายและทำด้วยตนเองได้ดีขึ้นตามลำดับ  ความกังวลเกี่ยวกับการขับถ่ายมากเกินไปหรือการย้ายสถานที่ขับถ่ายใหม่ เช่น มี การเดินทาง  เด็กอาจจะถ่ายรดออกมาได้  ฉะนั้นพ่อแม่ควรหัดให้เด็กได้คุ้นเคยกับสถานที่อื่น ๆ บ้าง ไม่เฉพาะการขับถ่ายที่บ้านเท่านั้น

      

         2.  การเตรียมความพร้อมทางด้านอารมณ์  การเรียนรู้ของเด็กมีความสัมพันธ์กับอารมณ์  พ่อแม่ต้องรู้เรื่องอารมณ์ของเด็ก เพื่อจะให้เด็ก รู้จักใช้อารมณ์ให้เป็นประโยชน์แก่ตนเอง ไม่ใช่ให้โทษ  เมื่อมีปัญหาหลายอย่างเกิดขึ้นแก่เด็กพร้อมกัน  ซึ่งเด็กไม่มีคำตอบหรือการกระทำเพื่อแก้ปัญหานั้น  ความเปลี่ยนแปลงภายในจากการนี้เราเรียกว่า  “อารมณ์”  ซึ่งทำให้เด็กใช้หาทางออกได้  เช่น  เด็กที่แย่งของเล่นกัน  บางครั้งจะหาทางออกโดยการผลักเพื่อนออกไป  ถ้าเด็กที่ถูกผลักยอมให้ของเล่น  เด็กนั้นจะรู้สึกว่าวิธีผลักใช้ได้ผล  แต่ถ้าเด็กที่ถูกผลักไม่ยอมให้ง่าย ๆ เด็กนั้นก็จะรู้สึกเช่นกันว่าวิธีผลักไม่ได้ผลเสียแล้ว  เด็กที่ได้รับการเอาใจใส่ช่วยเหลือในการฝึกอารมณ์ให้เป็นไปในทางที่ถูกต้องแล้ว  เด็กจะ ไม่มีความลำบากเมื่อโตขึ้น  ฉะนั้นพ่อแม่จึงควรที่จะชี้แจงแสดงวิธีการอื่นๆ  ที่ถูกต้องให้เด็ก  เพื่อเด็กจะได้นำไปใช้เมื่อมีเหตุการณ์เฉพาะหน้า เกิดขึ้น

            การเตรียมความพร้อมทางอารมณ์ของเด็กให้เกิดผล  ควรปรับปรุงสิ่งที่ไปกระทบเด็กในเวลาที่เด็กเกิดอารมณ์  เช่น ในเวลาที่เด็ก           โกรธและขัดขืนแม่  ถ้าแม่ของเด็กโกรธตวาดเด็กดัง ๆ หรือตีเด็กแล้ว  จะทำให้เด็กเป็นคนเจ้าอารมณ์ยิ่งขึ้น  แต่ถ้าแม่ใจเย็นและหาสาเหตุที่ทำให้เด็กโกรธและขัดขืนแม่ก็จะไม่ลำบากใจในอารมณ์ของลูกเมื่อลูกโตขึ้น

               การหาสิ่งแวดล้อมที่ธรรมดาและเป็นระเบียบ  จะเป็นสิ่งที่ทำให้เด็กระงับอารมณ์ได้ดีกว่าสิ่งอื่นใด  เด็กควรจะได้เล่นกับเด็กวัยเดียวกันกับเขามากกว่าที่จะเล่นคนเดียวหรือเล่นกับผู้ใหญ่   การที่เด็กต้องอยู่ตามลำพังกับผู้ใหญ่ตลอดเวลา  ทำให้เด็กเกิดความตึงเครียดซึ่งพ่อแม่ไม่ได้นึกถึงเลย  ความประพฤติของผู้ใหญ่ไม่ได้เป็นแบบอย่างที่ดีที่สุดตลอดเวลาที่เด็กจะเอาอย่าง  ถ้าหากผู้ใหญ่เป็นคนชอบจับผิดหรือขาด ระเบียบวินัย  เด็กก็จะหาแบบอย่างที่ดีไม่ได้  เด็กทุกคนควรจะได้รับการสนับสนุนให้มีท่าทีที่คล่องแคล่ว  เมื่อเขาต้องเผชิญหน้ากับสถานการณ์ที่ยังไม่ได้แก้ไข  อารมณ์โกรธบางครั้งจะช่วยเสริมพลังให้บุคคลฟันฝ่าอุปสรรคที่ยากได้  เด็กๆควรได้รับการสอนให้เผชิญหน้ากับสถานการณ์ ปัญหาต่างๆ อย่างเฉลียวฉลาด  เด็กควรจะรู้ว่าเมื่อไรจึงจะขัดเคืองความประพฤติของผู้อื่น  เมื่อใดควรจะให้ความร่วมมือ  และเมื่อไรควรจะเป็น ผู้นำ

       3. การเตรียมความพร้อมทางด้านสังคม  พ่อแม่จำเป็นจะต้องมีความรู้เกี่ยวกับพัฒนาการทางสังคมของลูกทุกขั้นตอน  การฝึกหัดหรือ เตรียมความพร้อมให้ลูก  ควรสอนให้รู้จักยับยั้งชั่งใจตนเอง  เช่น ไม่ทำเสียงอึกทึกเกินไปให้เป็นที่รำคาญ  ไม่ละเมิดทรัพย์สินและสิทธิของผู้ อื่นไม่เอาเปรียบผู้อื่น  แต่พ่อแม่ต้องไม่ทำให้ทุกสิ่งเป็นข้อห้ามไปเสียหมด  จุดหมายที่สำคัญในการเตรียมความพร้อมทางสังคม  คือ การฝึกให้เด็กรู้จักการเอาใจเขามาใส่ใจเรา

 

       การฝึกฝนให้มีความร่วมมือกันตลอดเวลาที่ยังอยู่ในวัยเด็กปรากฏมาในรูปการเล่นและเกมต่างๆมีการติดต่อกับเด็กที่มีอายุและอารมณ์แตกต่างไปจากตนเอง  เด็กที่มีความเข้าใจถึงความรู้สึกและความต้องการของคนอื่น  ย่อมมีโอกาสจะเข้าใจกับบุคคลอื่นได้ดีที่สุด  ฉะนั้นเราก็ควรช่วยให้เด็กได้มีความพร้อมทางสังคม  โดยสนับสนุนให้เด็กมีความสนใจในการกระทำและความนึกคิดของผู้อื่น  สารเหล่านี้มีความสำคัญมากในสังคมไทยยุคปัจจุบัน  เราจะเห็นว่าความล้มเหลวของเด็กที่ไม่เคยเรียนรู้ถึงตัวของตัวเอง  ไม่ตระหนักว่าการดำเนินชีวิตที่ดีของคนเราจะต้องหลีกเลี่ยงความเห็นแก่ตัวให้มาก  ถ้าเด็กยังหวังแต่จะให้คนอื่นนำความสุขและความเป็นอยู่ที่ดีมาให้ตนเอง  และจะไม่พอใจเมื่อความต้องการของตนเองไม่ได้รับความสะดวก  ฉะนั้นเพื่อที่จะหลีกลี่ยงนิสัยที่ทำไม่ให้เป็นสุขเหล่านี้   พ่อแม่ควรเลี้ยงดูเด็กให้เป็นไปตามเป้าหมายอย่างระมัดระวัง  มิฉะนั้นเด็กก็จะหาความสุขโดยการคิดถึงแต่ตัวเองเป็นใหญ่  ข้อสำคัญพ่อแม่ต้องไม่ตามใจ  พะเน้นพะนอลูกจนเกินไป  จะทำให้เด็กเข้าใจว่าตนมีความสำคัญมากจนไม่นึกถึงความคิดความต้องการของผู้อื่น  ในที่สุดก็ไม่นึกถึงแต่พ่อแม่ตัวเอง

4.        การเตรียมความพร้อมทางด้านสติปัญญา  ประสบการณ์พื้นฐานของเด็กที่จะทำให้

เกิดความพร้อมทางด้านสติปัญญา  คือ  การเล่นเพราะการเล่นเป็นสิ่งที่ทำให้เด็กเกิดการ

เรียนรู้  การเล่นของเด็กจะทำให้เด็กเกิดการเลื่อนไหวได้ง่าย  ได้ออกกำลังกายโดยอิสระและทำให้เด็กเพลิดเพลินด้วย  ในการให้เด็กหัดปีนป่าย  ควรมีบันได  หีบ  เก้าอี้  จะเป็นประโยชน์มากในการให้เด็กผลัก  ปีน  หรือแบกมากกว่าจะใช้นั่ง  อย่างอื่นก็มีรถสำหรับลาก  เชือกสำหรับเล่นชิงช้า  สิ่งเหล่านี้จะทำให้กล้ามเนื้อแขนขาและหลังรู้จักการทรงตัวที่ดี  ถ้าบ้านที่มีบริเวณกว้างขวางหน่อย  ควรมีลูกบอลใหญ่ๆสำหรับกลิ้ง  ทรายผสมน้ำให้เด็กทำขนม  และเครื่องเล่นที่ใช้ทุบและต่อย  สิ่งเหล่านี้ทำให้เปลี่ยนความสนใจของเด็ก  เด็กๆชอบจับสิ่งของต่างๆมาก  เช่น  ตอกตะปูลงบนก้อนสบู่  ตีน้ำในอ่าง  ชอบหมุนเครื่องมือหรือล้อที่หมุนได้  นอกจากนั้นยังชอบเก็บของมารวมกันเป็นกองๆ   การเล่นนอกบ้านมีความเหมาะสมอย่างยิ่งสำหรับเด็ก  เพราะจะทำให้ได้ออกกำลังกาย  ได้ใช้กล้ามเนื้อและมีสุขภาพจิตที่ดี  แต่ในปัจจุบันการเล่นนอกบ้านของเด็กในเมืองแทบจะไม่มีโอกาสเสียเลย  เพราะสภาพสังคมได้เปลี่ยนแปลงไป  ทำให้เด็กหลายคนต้องอยาในตึกแถวและเล่นรวมกันในสนามเด็กเล่น  การปีนป่ายต้นไม้ชายทุ่งเป็นอันต้องยกเลิกไปให้แตกต่างจากรุ่นพ่อแม่โดยสิ้นเชิงเมื่อไม่มีต้นไม้ให้เด็กปีนป่าย  ก็ต้องมีบันไดแทน  มีเชือกขึง  มีกระบะทรายให้เด็กๆได้เล่นกัน

           

            สิ่งสำคัญที่ต้องคำนึงถึงในการเล่นของเด็กก็คือ  การเลือกของเล่นให้เด็ก  ควรเปลี่ยนแปลงไปตามความต้องการของเด็กด้วย  เช่น  ถ้าเรานำของเล่นที่เหมาะกับเด็กวัย  7  ขวบ  มาให้เด็กอายุ  4ขวบเล่น  เด็กจะเห็นความแปลกเพียงครู่เดียว  ต่อจากนั้นก็ไม่สนใจและค่อยๆทิ้งหายไปทีละชิ้นสองชิ้น

             

            บทบาทของโรงเรียนในการเตรียมความพร้อม 

            โรงเรียนจะเตรียมความพร้อมตามแนวการจัดประสบการณ์ที่นักวิชาการวางไว้  โดยสรุปดังนี้

              ก.  การเตรียมความพร้อมด้านทักษะ  เป็นการเตรียมความพร้อมที่รวมทักษะสามด้าน  คือ  ทักษะภาษาไทย  ทักษะคณิตศาสตร์และทักษะการคิด

            1.  การเตรียมความพร้อมด้านทักษะภาษาไทย  โดยปกติในช่วงอายุระหว่างวัยทารกถึง  6  ปี  จะมีพัฒนาการทางภาษาเป็นไปโดยธรรมชาติและมีขั้นตอน  ซึ่งทักษะการฟังและการพูดภาษา  จะพัฒนาได้ก่อนการอ่านและการเขียน  เด็กที่ไม่ได้รับการเตรียมความพร้อมอย่างเหมาะสม  เมื่อเข้าเรียนจึงมีปัญหาการอ่านและการเขียน

            สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ (2523)  แนะนำการสร้างประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กช่วงอายุ  4-6  ปีว่า  ควรหัดให้เด็กพูดและตอบคำถามเต็มประโยค  ถูกหลักไวยากรณ์  และให้ความรู้เกี่ยวกับสิ่งรอบตัวไปด้วย  ให้รู้จักจัดประเภท  เช่น  แทนที่จะชูรูปแมวพร้อมกันกับพูดว่า  “ลูกแมว”  ก็ให้พูดเป็นประโยคว่า   “ นี่คือลูกแมว”  และอธิบายต่อไปว่า  “แมวเป็นสัตว์สี่ขา”  “แมวเป็นสัตว์เลี้ยง”  ฝึกการจัดแบ่งประเภทโดยพูดว่า  “ดินสอ  แท่งไม้  ทำด้วยไม้เป็นพวกเดียวกัน”  “ส้ม  จาน  ใบหน้าเรา  เป็นวงกลมเหมือนกัน”  คำที่ใช้ทุกคำโดยเฉพาะลักษณะนามและคำวิเศษณ์เกี่ยวกับสั้น-ยาว  สูง-ต่ำ  หนัก-เบา  ใกล้-ไกล  ควรค่อยๆฝึกให้เด็กได้ใช้อย่างระมัดระวังไม่ให้สับสน

            กิจกรรมในการเตรียมความพร้อมด้านภาษาที่สำคัญ  คือ  การอ่านหนังสือ  การเล่านิทาน  การเล่นหุ่น  การท่องคำกลอนพร้อมจังหวะ  ซึ่งครูอาจเป็นผู้ทำเองหรือให้เด็กทำด้วยก็ได้  สำหรับการอ่านหนังสือของเด็กปฐมวัยนั้น  เป็นการอ่านภาพ  ซึ่งเกี่ยวข้องกับการรับรู้และประสบการณ์หลายๆอย่าง  พร้อมทั้งฝึกการเคลื่อนย้ายสายตาจากซ้ายไปขวาอีกด้วย

            ทักษะการเขียนเป็นทักษะสุดท้ายที่เด็กจะต้องรวบรวมความพร้อมทุกๆด้านมาใช้  จะต้องใช้ประสาทสัมพันธ์ระหว่างตาและมือ  การควบคุมกล้ามเนื้อให้ลากเส้นหรือเขียนได้ตามความคิด  การเตรียมความพร้อมทำได้โดย   การฝึกลีลามือ  การทำงานศิลปะ  และเล่นเกมต่างๆ

             2.  การเตรียมความพร้อมด้านทักษะคณิตศาสตร์  โดยปกติแล้วทั้งผู้ปกครองและครู  ต่างก็มีความสำคัญในการเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์ให้แก่ลูก  แต่ในสภาพสังคมปัจจุบันดูเหมือนว่าครูมีบทบาทมากกว่าและผู้ปกครองก็มักจะยกภาระนี้ให้แก่ครู

           

       การจำแนกความแตกต่าง  กิจกรรมการจำแนกความแตกต่าง  เด็กจะต้องใช้ทักษะการสังเกตเข้าช่วยมากที่สุด  เริ่มตั้งแต่การแยกประเภทสิ่งของเครื่องใช้ใกล้ตัว  เช่น  เสื้อ  กางเกง  หมวก  ของเล่น  ของใช้ในห้องน้ำ  ของใช้ในครัว  แล้วรู้จักเก็บสิ่งของเครื่องใช้เป็นหมวดหมู่  เช่น  ของเล่นเก็บไว้ด้วยกัน  เสื้อผ้าใส่ไว้ในตู้  หนังสือวางบนโต๊ะหรืออยู่บนชั้นหนังสือ  รู้จักจำแนกสิ่งที่อยู่รอบๆตัว  พวกพืช  สัตว์  จำแนกสิ่งของตามสีต่างๆไว้เป็นกลุ่ม  เป็นต้น

       การเปรียบขนาด  รูปร่าง  ส่วนใหญ่การฝึกจะแฝงมาพร้อมกับการเล่นของเด็ก  เช่น  การใส่รูปทรงให้ลงพอดีกับช่อง  การต่อภาพ  การต่อชิ้นส่วนไม้เป็นรูปตามจิตนาการของเด็ก  การใส่ของลงในขวด  การแต่งตัวตุ๊กตา  การคัดขนาดผลไม้  เป็นต้น

       การบอกตำแหน่ง  คำบอกตำแหน่งที่ควรให้เด็กปฐมวัยคุ้นเคยและใช้อยู่เสมอ  ได้กา  บน-ล่าง  หน้า-หลัง  ใกล้-ไกล  ซ้าย-ขวา  การบอกตำแหน่งเหล่านี้เด็กจะต้องฝึกใช้เป็นประโยคที่มีความหมายสมบูรณ์และสอดคล้องกับชีวิตประจำวัน  เช่น

                             ดินสอวางอยาบนสมุด

                             รองเท้าอยู่ใต้โต๊ะ

                             ครูเดินนำหน้านักเรียน

                             รถจอดใกล้เสาไฟฟ้า

      

       การเปรียบเทียบจำนวน  เด็กระดับปฐมวัยต้องฝึกการเปรียบเทียบจำนวนสิ่งของต่างๆได้ทีละ  2  กลุ่ม  ว่าจำนวนสิ่งของเหล่านั้นเท่ากันหรือไม่เท่ากัน  กลุ่มใดมากกลุ่มใดน้อย  โดยไม่ใช้วิธีการนับ  แต่จะอาศัยวิธีการจับคู่แบบหนึ่งต่อหนึ่งระหว่างสิ่งของทั้งสองกลุ่มนั้น  เช่น  องุ่นมากกว่าพุทธา  ช้อนกับส้อมหนึ่งคู่  มีเท่ากัน  ฝึกให้สังเกตโดยการจับคู่สิ่งของที่ใช้เป็นคู่ในชีวิตประจำวัน  จะช่วยให้นักเรียนพัฒนาความพร้อมในการเปรียบเทียบจำนวนได้ดีขึ้น

 

       3.  การเตรียมความพร้อมด้านทักษะการคิด  คำว่า  “ทักษะการคิด”  อาจใช้คำว่าสติปัญญา  เชาว์ปัญญา  หรือสติปัญญาและความคิด  ซึ่งเป็นคำที่มีความหมายในด้านความพร้อมเช่นเดียวกัน  คือ  ความสามารถทางสมองที่คนเรามีมาตั้งแต่แรกเกิด

       มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช(2523)  เสนอแนวคิดเบื้องต้นว่า  ความคิดในระดับปฐมวัยศึกษา  หมายถึง  การรับรู้  สังเกต  และนำประสบการณ์จากการรับรู้มาใช้คิดหาเหตุผล  ดังนั้นการจัดประสบการณ์หรือกิจกรรมต่างๆให้แก่เด็ก  ควรจัดให้เด็กมีส่วนกระทำ  สัมผัสรับรู้  สังเกตและเปรียบเทียบด้วยตัวเอง  เพราะจะสร้างพื้นฐานให้แก่เด็กในด้านสติปัญญา

       อย่างไรก็ตาม  พ่อแม่และครูต้องระลึกอยู่เสมอว่าพัฒนาการทางความคิดของเด็กปฐมวัย  อยู่ในขั้นรู้จักและสามารถใช้สัญลักษณ์ต่างๆได้  ในช่วงนี้เด็กจะเริ่มเข้าใจสัญลักษณ์และรู้จักใช้ภาษาในการสื่อสารความหมายเกี่ยวกับเหตุการณ์หรือสิ่งของ  มีการพัฒนาความสามารถในการเข้าใจ  องค์ประกอบและชนิดของสิ่งของ  เก็บเอาไว้ในโครงสร้างทางสติปัญญาเพื่อจะนำมาใช้ในเวลาต่อมา  ในช่วงนี้เด็กยังไม่สามารถคิดวิธีแก้ปัญหาแบบต่างๆเหมือนผู้ใหญ่ได้  ไม่เข้าใจการคงที่ของวัตถุ  แต่สามารถจัดลำดับจัดพวกได้  แต่พิจารณาได้เพียงมิติเดียว

 

       ความพร้อมด้านทักษะการคิดของเด็กไทยในยุคปัจจุบันได้รับการเตรียมโดยทางอ้อมจากสื่อมวลชน  โดยเฉพาะวิทยุและโทรทัศน์  เด็กจะมีพัฒนาการทางการคิดได้จากการฟัง  การรับรู้ทางตาและจดจำเลียนแบบได้

       การฝึกความพร้อมด้านทักษะการคิดในโรงเรียน  มักจะใช้ภาพเรื่องราวและรูปทรงเลขาคณิตเป็นสื่อให้ฝึกหักระบายสี  รู้จักการสังเกต  การเปลี่ยนแปลง  ความแตกต่างของแต่ละรูป  ความสมบูรณ์และไม่สมบูรณ์ของรูป  การจับคู่รูปในลักษณะการอุปมาอุปไมย  ซึ่งกิจกรรมเหล่านี้เด็กจะต้องใช้สมาธิและความคิดตลอดเวลา

      

         ข.  การเตรียมความพร้อมด้านประสบการณ์ชีวิต  ประกอบด้วย  ประสบการณ์พื้นฐานในการดำเนินชีวิตที่ดีในสังคม  ความสนใจในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม  การคิดแก้ปัญหาด้วยเหตุผล  ซึ่งประสบการณ์เหล่านี้มักจะจัดเป็นเนื้อหาให้เด็กได้เรียนรู้

 

         ค.  การเตรียมความพร้อมด้านลักษณะนิสัย  ครูจะจัดกิจกรรมเพื่อปลูกฝังความประพฤติที่ดีงามให้แก่เด็ก  เช่น  การรักษาความสะอาดร่างกาย  การกินอาหาร  การเล่น  การใช้คำพูด  การแสดงความเคารพ  เป็นต้น

 

 







Copyright © 2010 All Rights Reserved.
@โรงเรียนอนุบาลวัฒนาสาธิต 34 ซ.วชิรธรรมสาธิต 55 หมู่บ้าน อิมพีเรียล พาร์ค สุขุมวิท 101/1 พระโขนง กทม. โทร. 02-7464991