ReadyPlanet.com
dot dot
วัฒนาสาธิตรักในหลวง  ขอพระองค์ทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน  : โรงเรียนอนุบาลวัฒนาสาธิต และติวสาธิตครูจอย  รับเด็กเนอสเซอรี่ - เด็กอนุบาล 3  เตรียมสอบเข้าสาธิตมศว สาธิตจุฬา  สาธิตเกษตร  มาแตร์เดอี  วัฒนาสาธิต  และคาทอลิคชั้นนำ  สอบถามติดต่อ  02-3971172
dot
เราจะเป็นลูกที่ดีของในหลวง
dot
bulletพระราชประวัติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ
bullet20 ภาพประทับใจ
dot
แนะนำโรงเรียน
dot
bulletข้อมูลทั่วไป
bulletแนะนำผู้บริหาร
bulletสัมภาษณ์ผู้รับใบอนุญาต
bulletอาคารและสถานที่
dot
นวัตกรรมการศึกษา
dot
bulletMontessori
bulletWhole Language
bulletActivity Base Learning
dot
การรับประกันคุณภาพ
dot
ขอแสดงความยินดีกับ คณะครูและผู้ปกครองโรงเรียนอนุบาลวัฒนาสาธิต  ทางโรงเรียนผ่านการการรับรองมาตราฐานาการศึกษา รอบสาม  (พ.ศ.๒๕๕๔-๒๕๕๘)   ระดับดีมาก ค่า
dot
กิจกรรมต่าง ๆ
dot
bulletกิจกรรมวันสำคัญ
bulletกิจกรรมการเรียนการสอน
bulletกิจกรรมนอกสถานที่
bulletกิจกรรมทัศนศึกษา
bulletกิจกรรมช่วงปิดเทอม
bulletโครงการลดกล่อง แยกขยะ
dot
แฟ้มภาพกิจกรรมประจำปี
dot
bulletClip VDO กิจกรรมเด็ก
bulletโครงการประจำปี 2560
bulletโครงการประจำปี 2561
bullet โครงการประจำปี 2559
bulletโครงการประจำปี 2551
bulletประมวลภาพกิจกรรมย้อนหลัง
dot
คุยกับคุณครู
dot
bulletมาตราการรับมือ โรคมือ เท้า ปาก พันธุ์ Enterovirus
bulletคำถามยอดฮิต สำหรับผู้ปกครองใหม่
bulletเทคนิคติวเชาวน์ด้วยตนเอง
bulletกำหนดการสอบเด็กเล็กเครือสาธิตฯ
bulletแด่คุณพ่อ คุณแม่ .... จากใจคุณครูด้วยความเคารพ
bulletสองมือน้อย ๆ ช่วยกันลดโลกร้อน
dot
เยี่ยมชมโรงเรียน
dot
dot
Charity Corner
dot
bulletร่วมงานกับเรา
bulletApply Job
bulletผู้ปกครองสัมพันธ์
bulletแผนผังเวบไซต์


 ปฏิทินกิจกรรม
..Jan 2017..

เปิดรับสมัคร
นักเรียนใหม่ ปี 2560
ระดับเนอสเซอรี่
อายุ 1.6 - 3 ปี
เริ่มเรียนวันที่ 16 ม.ค.60
สอบถามรายละเอียดได้
ที่ฝ่ายธุรการ
โทร. 02-3971172

Open Enroll
For Nursery
ages 1.6 - 3 yrs
For Kindergarten 1-3
ages 3 - 6 yrs

more information
call 02-3971172

------------------

ติวสาธิตครูจอย ปี 60

คอร์สเตรียมพร้อมสู่ สาธิตมศว.
"สาธิตจุฬา สาธิตเกษตร"
เริ่ม 3 มิ.ย.60- 10 มี.ค.61
เปิดรับ 2 รอบ
คอร์สเช้า 10.30-12.30 น.
คอร์สบ่าย 14.00 -16.00 น.
เปิดจองแล้วคะ
------------------
คอร์สตะลุยโจทย์ ก.พ.60
"เตรียมพร้อมสู่สาธิต 60"
เริ่ม 5 ก.พ.- 11 มี.ค.60
คอร์สเช้า 10.30-12.30 น.
สำหรับสาธิตมศว
คอร์สบ่าย 14.00-16.00 น.
สำหรับสาธิตจุฬา
เปิดรับจองแล้วคะ

สอบถามเพิ่มเติม
โทร. 02-3971172

Satit Exam Program
Preparing course
For K2, K3 student
ready for Grade 1

More information
contact school
Tel:02-3971172 ,
086-5758882
------------------

ติดต่อโรงเรียน
โทร. 02-3971172
และ 086-5758882

------------------
โรงเรียนอนุบาลวัฒนาสาธิต อนุบาลสองภาษา   จัดกิจกรรมเสริมทักษะทางเชาวน์ปัญญา (เตรียมสอบเข้า ป.1 , ติวสาธิต)  และภาษา ทุกวันเสาร์
www.wattanasatit.com  : ศูนย์รวมการศึกษาและการท่องเที่ยว ทัศนศึกษานักเรียน ศึกษาต่อ  เรียนภาษาระยะสั้น เรียนต่อต่างประเทศ ซัมเมอร์คอร์สปิดเทอม ฝึกงาน ดูงานต่อประเทศ ทัศนศึกษา ท่องเที่ยว ไทยเที่ยวไทย ตั๋วเครื่องบิน


แนวคิดของ Whole Language Approach
www.wattanasatit.com
 
การสอนภาษาโดยองค์รวม (Whole Language Approach)

 ความเป็นมา

          การสอนภาษาโดยองค์รวม (Whole Language Approach) เป็นนวัตกรรมการศึกษาที่เสนอแนวคิดใหม่ในการสอนภาษา เกิดจากความพยายามของนักการศึกษาและนักภาษาศาสตร์ ซึ่งมองเห็นปัญหาการเรียนรู้ภาษาของเด็ก ซึ่งเกิดจากการสอนที่ครูมุ่งเน้นสาระทางภาษาเป็นหลัก ทําให้การเรียนการสอนไม่น่าสนใจ ไม่เป็นไปตามธรรมชาติคือไม่เหมาะกับวัย ความสนใจและความสามารถของเด็กและเมื่อคํานึงถึงประโยชน์ที่เด็กจําเป็นต้องใช้ภาษาในการเรียนร และการสื่อสารในชีวิตจริง พบว่าการสอนภาษาแบบเดิม (traditional approaches) ไม่เน้นความสําคัญของประสบการณ์และภาษาที่เด็กใชในชีวิตจริง จึงไม่ได้ให้โอกาสเด็กเรียนรู้ภาษาและใช้ภาษาเพื่อสื่อสารอย่างมีความหมายเท่าที่ควร

หลักการและแนวทฤษฎีที่มีอิทธิพล

          แนวการสอนภาษาโดยองค์รวมเกิดจากหลักการและแนวทฤษฎีของนักการศึกษาและนักภาษาศาสตร์ที่มีชื่อเสียง อาทิ ดิวอี้ (Dewey) เปียเจต์ (Piaget) ไวก็อตสกี้ (Vygotsky) ฮอลลิเดย์ (Halliday) และโรเซนแบลตต์ (Rosenblatt) ที่ชี้ให้เห็นความสําคัญของการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาการคิดและภาษาของเด็กในบริบททางสังคมวัฒนธรรม การสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับเด็ก ตลอดจนการสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ที่ตอบสนองธรรมชาติ และเหมาะสมกับขั้นพัฒนาการของเด็กแต่ละวัย หลักการเหล่านี้เมื่อนํามาเป็นแนวคิดในการปรับเปลี่ยนการสอนภาษา จะทําให้เด็กมีความสนใจเกิด แรงจูงใจที่จะเรียนรู้ภาษาได้ดีขึ้นเพราะสิ่งที่เรียนมีความหมายและไม่เกิดความรู้สึกว่าการเรียนภาษาเป็นเรื่องยากลําบาก

          เคนเนท กู๊ดแมน (Kenneth Goodman) เชื่อว่าการสอนภาษาเป็นเรื่องสําคัญสําหรับชีวิตเด็ก และโดยที่เด็กต้องเรียนรู้ภาษา และต้องใช้ภาษาเพื่อการเรียนรู้ ครูจะต้องตระหนักในความสําคัญ ดังกล่าว และจากการศึกษาภาษาศาสตร์เชิงจิตวิทยา สังคมวิทยา มนุษยวิทยา ปรัชญา การรู้หนังสือ และการจัดหลักสูตร กู๊ดแมนได้รับการยกย่องในฐานะผู้บุกเบิกแนวการสอนภาษาโดยองค์รวม มีผู้ให้ความสนใจนําความคิดไปใช้ในประเทศต่างๆ และมีผู้ให้การสนับสนุนเผยแพร่อย่างกว้างขวาง ในช่วงปี 1970 เป็นต้นมา

          จูดิท นิวแมน (Judith Newman) กล่าวไว้ในหนังสือ Whole Language Theory in Use ว่าการสอนภาษาโดยแนวคิดองค์รวมมีลักษณะเป็นปรัชญา(Philosophical stance) ความคิดของผู้สอนจะก่อตัวขึ้นจากหลักการสอนที่ผู้สอนนํามาประสานกัน

          วัตสัน (Watson) อธิบายว่าผู้สอนจะประสานแนวการสอนของตนกับองค์ประกอบทางทฤษฎี (theory) ความเชื่อ (belief) และการนําความรู้ทางทฤษฎีและความเชื่อไปปฏิบัติจริง (practice) องค์ประกอบทั้ง 3 มีความสัมพันธ์สนับสนุนกัน และกันเป็นวงจรที่ช่วยให้ผู้สอนเกิดการพัฒนาการสอนด้วยตนเอง โดยใช้ข้อมูลจากการสังเกตเด็กเพื่อทําความเข้าใจในความสามารถ และการแสดงออกของเด็กแต่ละคน บันทึกความก้าวหน้าของเด็กเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ภาษาของเด็กได้อย่างเหมาะสม ครูจะสามารถสร้างแนวคิดเชิงปรัชญาการสอนจากการแสวงหาคําตอบ (inquiry) โดยพยายามนําทฤษฎีไปใช้ในการ
สอนจริง (inactive theory active) พิสูจน์ความเชื่อของตนให้ปรากฏ (unexamined belief examined) และพัฒนาการสอนขึ้นเอง (borrowed practice owned)

กระบวนการ

          บรรยากาศการเรียนภาษาในชั้นเรียนมีลักษณะเป็นการร่วมมือกันระหว่างครูและเด็กๆ ตั้งแต่การวางแผนคือคิดด้วยกันว่าจะทําอะไร ทําเมื่อไร ทําอย่างไร จําเป็นต้องใช้วัสดุอุปกรณ์อะไร จะหาสิ่งที่ต้องการมาได้อย่างไร ใครจะช่วยทํางานในส่วนใด

          การวางแผนจะมีทั้งแผนระยะยาว (long-range plans) เพื่อวางกรอบความคิดกว้างๆ และแผนระยะสั้น (short-range plans) ซึ่งเด็กและครูจะใช้ความคิดพูดคุยปรึกษากันเพื่อหารายละเอียดและขั้นตอนในการทํากิจกรรม

          บทบาทของครูจะเป็นผู้หาวิธีการที่จะเชื่อมโยงประสบการณ์ที่เด็กมีอยู่เดิมให้สัมพันธ์กับกิจกรรมที่จัดขึ้น ซึ่งอาจเป็นการเล่าเรื่องที่เด็กเคยพบเห็น การเปิดโอกาสให้เด็กพูดจากความคิดหรือประสบการณ์ในขณะฟังเรื่องจากหนังสือที่ครูเลือกมาอ่านให้ฟัง การจัดหาหนังสือที่เหมาะกับวัยไว้ในชั้นเรียน เพื่อให้เด็กมีโอกาสหยิบมาอ่านหรือพลิกดูเสมอเพื่อเป็น การสร้างความคุ้นเคยกับภาพความคิดและตัวหนังสือ ซึ่งครูไม่จําเป็นต้องสอนให้เด็กอ่านออก เช่น การอ่านแบบเรียนเล่ม 1 เล่ม 2 ที่เคยนิยมใช้มาแต่เดิม

          การเขียนก็เช่นกัน เด็กไม่ควรถูกบังคับให้เขียนตัวพยัญชนะ คํา ประโยคตามที่ครูสั่ง แต่ในบรรยากาศการสอนแนวใหม่นี้ เด็กจะแสดงความต้องการให้ครูเห็นว่า เขาต้องการเขียนสิ่งที่มีความหมายสิ่งที่เขายากบอกให้ผู้อื่นเข้าใจ การเขียนในระยะแรกจึงเป็นการที่เด็กสร้างความคิด ซึ่งเกิดจากประสบการณ์ของเด็กและความต้องการสื่อความหมายให้ผู้อื่นทราบ จะเห็นว่าในระยะแรกเด็กจะเขียนเส้นขยุกขยิกคล้ายตัวหนังสือหรือเขียนสะกดบางคําได้ แต่ยังไม่ถูกต้อง ครูที่เข้าใจแนวการสอน
ภาษาโดยองค์รวม จะค่อยๆ ส่งเสริมความคิดความต้องการเขียนหนังสือของเด็ก โดยไม่ตําหนิให้เด็กแก้ไขสิ่งที่เขียนผิด ในทันทีแต่จะแนะให้เด็กสังเกตจากตัวอย่างต่างๆ ที่เด็กพบเห็นได้บ่อยๆ การสังเกตจะช่วยให้เด็กปรับการเขียนให้ถูกต้องได้โดย ไม่เกิดความรู้สึกผิดหรือถูกลงโทษ ซึ่งอาจจะมีผลทางทัศนคติของเด็กได้มาก ดังนั้นการสังเกตเด็กเป็นเรื่องที่สําคัญอย่างยิ่งที่ครูจะต้องเฝ้าดูว่าเด็ก แต่ละคนแสดงออกอย่างไร ครูจึงต้องมีบทบาทในการเฝ้าดูเด็ก (kid-watcher) เพื่อประเมินความสามารถ
และเรียนรู้ และจัดประสบการณ์ที่เอื้ออํานวยการพัฒนาภาษาของเด็กด้วยตัวครูเองตลอดเวลา

          การประเมินผลที่ครูพิจารณาจากการสังเกต การบันทึก การเก็บร่องรอยทางภาษาของเด็กขณะทํากิจกรรมต่างๆ และการสะสมชิ้นงานถือว่าสําคัญอย่างยิ่ง เพราะเป็นการประเมินการเรียนรู้ภาษาจากสภาพจริง (authentic forms of assessment) และมีประโยชน์ต่อการพัฒนาเด็กมากกว่าการใช้แบบทดสอบทางภาษา

สรุปแนวคิด                    

แนวคิดเดิม

แนวคิดใหม่

ครู  คือ  ผู้ถ่ายทอดความรู้

เด็ก คือ ผู้ตอบสนองโดยตรง

บรรยากาศการเรียน   จัดตามความต้องการของครู

หลักสูตร   กำหนดการเรียนทั้งหมด

การประเมิน   เป็นรายงานที่ไม่ชัดเจน

  ครู   คือ  ผู้สนับสนุนส่งเสริมการเรียนรู้

  เด็ก   คือ ผู้ริเริ่มเนื้อหา ร่วมคิด ร่วมจัดกิจกรรม

 บรรยากาศการเรียน   จัดตามความคิดและความต้องการของเด็ก

 หลักสูตร   สร้างเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ตามความเหมาะสม

 การประเมิน    เป็นตัวบ่งชี้ความก้าวหน้าของเด็ก

 

 

         

ขอบคุณข้อมูลจาก www.anubarn.com







Copyright © 2010 All Rights Reserved.
@โรงเรียนอนุบาลวัฒนาสาธิต 34 ซ.วชิรธรรมสาธิต 55 หมู่บ้าน อิมพีเรียล พาร์ค สุขุมวิท 101/1 พระโขนง กทม. โทร. 02-7464991