ReadyPlanet.com
dot dot
วัฒนาสาธิตรักในหลวง  ขอพระองค์ทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน  : โรงเรียนอนุบาลวัฒนาสาธิต และติวสาธิตครูจอย  รับเด็กเนอสเซอรี่ - เด็กอนุบาล 3  เตรียมสอบเข้าสาธิตมศว สาธิตจุฬา  สาธิตเกษตร  มาแตร์เดอี  วัฒนาสาธิต  และคาทอลิคชั้นนำ  สอบถามติดต่อ  02-3971172
dot
เราจะเป็นลูกที่ดีของในหลวง
dot
bulletพระราชประวัติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ
bullet20 ภาพประทับใจ
dot
แนะนำโรงเรียน
dot
bulletข้อมูลทั่วไป
bulletแนะนำผู้บริหาร
bulletสัมภาษณ์ผู้รับใบอนุญาต
bulletอาคารและสถานที่
dot
นวัตกรรมการศึกษา
dot
bulletMontessori
bulletWhole Language
bulletActivity Base Learning
dot
การรับประกันคุณภาพ
dot
ขอแสดงความยินดีกับ คณะครูและผู้ปกครองโรงเรียนอนุบาลวัฒนาสาธิต  ทางโรงเรียนผ่านการการรับรองมาตราฐานาการศึกษา รอบสาม  (พ.ศ.๒๕๕๔-๒๕๕๘)   ระดับดีมาก ค่า
dot
กิจกรรมต่าง ๆ
dot
bulletกิจกรรมวันสำคัญ
bulletกิจกรรมการเรียนการสอน
bulletกิจกรรมนอกสถานที่
bulletกิจกรรมทัศนศึกษา
bulletกิจกรรมช่วงปิดเทอม
bulletโครงการลดกล่อง แยกขยะ
dot
แฟ้มภาพกิจกรรมประจำปี
dot
bulletClip VDO กิจกรรมเด็ก
bulletโครงการประจำปี 2560
bulletโครงการประจำปี 2561
bullet โครงการประจำปี 2559
bulletโครงการประจำปี 2551
bulletประมวลภาพกิจกรรมย้อนหลัง
dot
คุยกับคุณครู
dot
bulletมาตราการรับมือ โรคมือ เท้า ปาก พันธุ์ Enterovirus
bulletคำถามยอดฮิต สำหรับผู้ปกครองใหม่
bulletเทคนิคติวเชาวน์ด้วยตนเอง
bulletกำหนดการสอบเด็กเล็กเครือสาธิตฯ
bulletแด่คุณพ่อ คุณแม่ .... จากใจคุณครูด้วยความเคารพ
bulletสองมือน้อย ๆ ช่วยกันลดโลกร้อน
dot
เยี่ยมชมโรงเรียน
dot
dot
Charity Corner
dot
bulletร่วมงานกับเรา
bulletApply Job
bulletผู้ปกครองสัมพันธ์
bulletแผนผังเวบไซต์


 ปฏิทินกิจกรรม
..Jan 2017..

เปิดรับสมัคร
นักเรียนใหม่ ปี 2560
ระดับเนอสเซอรี่
อายุ 1.6 - 3 ปี
เริ่มเรียนวันที่ 16 ม.ค.60
สอบถามรายละเอียดได้
ที่ฝ่ายธุรการ
โทร. 02-3971172

Open Enroll
For Nursery
ages 1.6 - 3 yrs
For Kindergarten 1-3
ages 3 - 6 yrs

more information
call 02-3971172

------------------

ติวสาธิตครูจอย ปี 60

คอร์สเตรียมพร้อมสู่ สาธิตมศว.
"สาธิตจุฬา สาธิตเกษตร"
เริ่ม 3 มิ.ย.60- 10 มี.ค.61
เปิดรับ 2 รอบ
คอร์สเช้า 10.30-12.30 น.
คอร์สบ่าย 14.00 -16.00 น.
เปิดจองแล้วคะ
------------------
คอร์สตะลุยโจทย์ ก.พ.60
"เตรียมพร้อมสู่สาธิต 60"
เริ่ม 5 ก.พ.- 11 มี.ค.60
คอร์สเช้า 10.30-12.30 น.
สำหรับสาธิตมศว
คอร์สบ่าย 14.00-16.00 น.
สำหรับสาธิตจุฬา
เปิดรับจองแล้วคะ

สอบถามเพิ่มเติม
โทร. 02-3971172

Satit Exam Program
Preparing course
For K2, K3 student
ready for Grade 1

More information
contact school
Tel:02-3971172 ,
086-5758882
------------------

ติดต่อโรงเรียน
โทร. 02-3971172
และ 086-5758882

------------------
โรงเรียนอนุบาลวัฒนาสาธิต อนุบาลสองภาษา   จัดกิจกรรมเสริมทักษะทางเชาวน์ปัญญา (เตรียมสอบเข้า ป.1 , ติวสาธิต)  และภาษา ทุกวันเสาร์
www.wattanasatit.com  : ศูนย์รวมการศึกษาและการท่องเที่ยว ทัศนศึกษานักเรียน ศึกษาต่อ  เรียนภาษาระยะสั้น เรียนต่อต่างประเทศ ซัมเมอร์คอร์สปิดเทอม ฝึกงาน ดูงานต่อประเทศ ทัศนศึกษา ท่องเที่ยว ไทยเที่ยวไทย ตั๋วเครื่องบิน


สอนลูกให้รักการอ่าน

   

สอนลูกให้รักการอ่าน     


         เป็นที่ทราบกันโดยทั่วไป จากข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติปี 2544 พบว่า คนไทยโดยเฉลี่ยใช้เวลาอ่านประมาณ 1.28-4.43 นาทีต่อ 1 วัน หลายคนแสดงทรรศนะว่าไม่น่าจะเป็นไปได้ เพราะภาพผู้คนนับร้อยนับพันที่เบียดเสียดกันเข้าไปจับจองเป็นเจ้าของหนังสือเล่มโปรดในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ เป็นสิ่งที่น่าจะประกันความเป็นนักอ่านของคนไทยได้อย่างดีเยี่ยม แต่ความเป็นจริงก็คือ คนเหล่านั้นไม่ใช่คนส่วนใหญ่ของประเทศ ยังมีประชากร.กหลายสิบล้านคน ที่ไม่ชอบอ่านหนังสือ และไม่มีโอกาสได้อ่าน
        การปลูกฝังให้เด็กรักการอ่าน จึงถือเป็นภารกิจที่สำคัญยิ่งสำหรับพ่อแม่ หรือ จะเรียกได้ว่าเป็นภารกิจสำคัญของรัฐบาลที่มีต่อประชาชนของประเทศตน เพราะ หนังสือ คือ แหล่งความรู้ วิทยาการ และทักษะต่างๆทั้งในด้านวิชาการ สังคม และอื่นๆ สามารถบ่มเพาะความคิดของผู้นั้นต่อการมองโลกและชีวิตได้อย่างดี จนมีผู้กล่าวว่า หากผู้ใดรักการอ่านหนังสือ มักจะเป็นผู้รักการเรียนรู้ และการอ่านคือหนทางนำไปสู่ความสำเร็จทั้งชีวิต การงาน และ การศึกษาด้วยเช่นกัน
       งานวิจัยหลายชิ้นในหลายปีที่ผ่านมาทำให้ประจักษ์ชัดว่า ความสำเร็จของเด็ก ๆ นั้นล้วนมาจากความกระตือรือร้นในการส่งเสริมของพ่อแม่และสมาชิกในครอบครัวแทบทั้งสิ้น ยิ่งได้รับทั้งแรงกระตุ้นในการช่วยเหลือทั้งการสอนการบ้าน การพูดคุยกับคุณครูที่โรงเรียนเพื่อเชื่อมความร่วมมือระหว่างบ้านและโรงเรียน และการมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆของโรงเรียน ทั้งหมดล้วนเพิ่มความได้เปรียบของเด็กในสังคม
นอกเหนือจากการช่วยเหลือให้ลูกๆ ได้มีสุขภาพอนามัยที่ดีทั้งด้านร่างกายและจิตใจ สิ่งสำคัญที่สุดที่จะช่วยลูกๆในเรื่องการเรียนคือ การปลูกฝังการรักการอ่าน ซึ่งในระยะยาวส่งผลกระทบต่อความสำเร็จในการเรียนรู้ในชีวิตต่อไป การอ่าน เปรียบเสมือน กุญแจอันสำคัญที่จะเปิดประตูสู่โลกกว้างแห่งความรู้ต่างๆให้กับเด็กให้เรียนรู้ หากขาดกุญแจสำคัญดอกนี้แล้วไซร้ ก็เหมือนเด็กถูกทอดทิ้งให้จมอยู่กับโคลนเลนของความโง่เขลารอวันถูกเอารัดเอาเปรียบเรื่อยไป
สามารถกล่าวได้ว่าเด็กทารกเริ่มการเรียนรู้ได้ตั้งแต่เกิด ตั้งแต่ได้ยินเสียงพูดของพ่อแม่ ทุกครั้งที่พ่อแม่เปล่งเสียงพูดคุยกับเขา เสียงร้องเพลงให้เขาฟัง หรือตอบสนองต่อทุกเสียงที่ลูกทำ ทั้งหมดคือ การเรียนรู้ในเรื่องภาษา เพื่อให้เกิดความเข้าใจได้ชัดเจนขึ้น โปรดระลึกถึงการเรียนรู้ที่จะพูดของเด็กที่เริ่มจากการพูดคุย การฟัง การอ่าน และการเขียน หรืออย่างที่ไทยๆมักพูดว่า สุ จิ ปุ ลิ นั่นเอง หลักการทั้งสี่มีส่วนสำคัญในการพัฒนาในด้านภาษาให้กับเด็ก
พึงระลึกเสมอว่า พ่อแม่คือครูคนแรกและครูที่ดีที่สุดสำหรับลูก แม้ว่าพ่อแม่จะไม่ใช่นักอ่านตัวยง แต่พ่อแม่สามารถส่งเสริมนิสัยรักการอ่านนี้ให้กับลูกได้ด้วยความกระตือรือร้นในการส่งเสริมอย่างสม่ำเสมอ และเริ่มให้เร็วที่สุดเท่าที่เร็วได้ ยิ่งก่อนวัย 7 ขวบยิ่งส่งผลดีต่อเด็กมากเท่านั้น เพราะวัยนี้โสตประสาทแทบทุกส่วนหรือ สัมผัสทั้งห้าของเด็กไวต่อสิ่งเร้ามาก
ดังคำอธิบาย ศ.นพ. เกษม วัฒนชัย องคมนตรีและประธานมูลนิธิหนังสือเพื่อเด็ก อธิบายเรื่องการทำงานของสมองเด็กไว้อย่างน่าสนใจว่า "สมองต้องได้รับการเรียนรู้ ต้องได้รับรู้สิ่งที่พึงปฏิบัติ ตั้งแต่แรกเกิด ทั้งในบ้าน ในชุมชน ในโรงเรียน ในที่ทำงาน การเรียนรู้ต้องกระทำผ่านผัสสะทั้ง 5 กระบวนการเรียนรู้ของเด็ก เริ่มตั้งแต่อายุ 3-4 เดือน โดยเด็กจะเรียนรู้ผ่านทางรูปภาพและสี พ่อแม่มีหน้าที่ป้อนความรู้ให้เด็ก คนเราต้องรับผัสสะก่อนแล้วจึงไปสร้างความจำ"

       ขั้นตอนต่อไปนี้คือขั้นตอนในการสร้างนักอ่านหรือหนอนน้อยของพ่อแม่ โดยให้เด็กสามารถสร้างองค์ความรู้ของตนเอง หรือ แนวทางในการเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ต่อไป


- พูดคุยและร่วมฟัง (Talk and listen).
- ฟังเรื่องหรือนิทานซึ่งอ่านดังๆ (Listen to stories read aloud).
- เป็นตัวอย่างในการอ่าน (Pretend to read).
- เรียนรู้วิธีในการถือหนังสือ (Learn how to handle books).
- เรียนรู้การพิมพ์และวิธีการทำงาน (Learn about print and how it works).
- รับรู้ตัวอักษรทั้งการเรียกและรูปร่าง (Identify letters by name and shape).
- รับรู้การแยกเสียงในภาษาพูด (Identify separate sounds in spoken language).
- เขียนตัวอักษร (Write with scribbles and drawing).
- เชื่อมตัวอักษรเข้ากับเสียงที่พูด (Connect single letters with the sounds they make).
- เชื่อมสิ่งที่ได้รับรู้แล้วกับสิ่งที่ได้อ่าน (Connect what they already know to what they hear read).
- คาดการณ์สิ่งที่จะเกิดขึ้นจากนิทานและบทกวี (Predict what comes next in stories and poems).
- เชื่อมชุดของคำกับเสียง (Connect combinations of letters with sounds).
- รับรู้คำง่ายๆในการพิมพ์ (Recognize simple words in print.)
- สรุปใจความจากนิทาน (Sum up what a story is about).
- เขียนตัวอักษร (Write individual letters of the alphabet.)
- เขียนคำ (Write words).
- เขียนประโยคง่ายๆ (Write simple sentences.)
- อ่านหนังสือง่ายๆ (Read simple books.)
- เขียนเพื่อการสื่อสาร(Write to communicate.)

ข้างต้นเป็นเพียงแนวทางกว้างๆ ในการเรียนรู้ของเด็กต่อเรื่องของภาษาซึ่งจะโยงไปสู่เรื่องของการสร้างนิสัยรักการอ่าน ในเด็กบางคนอาจมีขั้นตอนการเรียนรู้ที่ต่างไปบ้าง แต่ไม่ใช่ทั้งหมด และอาจใช้ระยะเวลาในการเรียนรู้ไม่เท่ากัน ในคราวหน้าจะมีการพูดคุยถึงรายละเ.ยดในแต่ละขั้นตอน เพื่อให้ผู้อ่านเห็นภาพได้ชัดเจนยิ่งขึ้น
บทความนี้มุ่งหวังเพียงจุดประกายให้พ่อแม่มีส่วนร่วมในการปลูกฝังคุณลักษณะที่ดีในการเรียนรู้ของเด็ก ๆ ในรายละเ.ยด หรือการประยุกต์ใช้จึงเป็นหน้าที่ของพ่อแม่เองในการสร้างสรรค์ต่อไปเพื่อให้สอดคล้องกับเด็กในต่างสิ่งแวดล้อม

  บ่มเพาะให้เด็กมีความรักการอ่าน สำคัญกว่าการฝึกให้เด็กแค่อ่านหนังสือเป็น เนื่องจากหากเด็กมีลักษณะนิสัยในการรักการอ่านนั้น ผลพลอยได้ที่ตามมาคือ เขาจะอ่านหนังสือเป็นโดยปริยาย และการอ่านเป็นของเด็กที่รักการอ่านจะมีคุณภาพมากกว่าเด็กที่อ่านหนังสือเป็นโดยไม่ได้เกิดจากความรัก
ในบทความตอนนี้ต้องมาทำความเข้าใจในรายละเ.ยดของขั้นตอนที่กล่าวถึงเมื่อคราวที่แล้ว ที่ว่า การพูดคุยและการฟังลูกคุย

นักวิทยาศาสตร์ซึ่งเชี่ยวชาญด้านสมองพบว่า เด็กทารกนั้นเรียนรู้สิ่งรอบตัวที่มองเห็นและได้ยินมากกว่าสิ่งที่ผู้ใหญ่คาดคิดเสีย.ก ดังนั้น ควรอย่างยิ่งที่เราผู้ใหญ่ต้องใช้ความหิวกระหายใคร่เรียนรู้ของเด็กให้เป็นประโยชน์
ภายหลังการเปลี่ยนผ่านย้ายที่อยู่ของเด็กทารกจากในครรภ์สู่โลกภายนอกครรภ์ เด็กเรียนรู้สรรพสิ่งรอบตัวทั้งเสียงพูด สีหน้า ท่าทาง และการเคลื่อนไหวต่าง ๆ นี่คือเหตุผลที่เราต้องพูดคุยกับเขา หรือร้องเพลง หรือยิ้ม หรือตอบสนองความรู้สึกกับเขา เพราะเขากำลังเรียนรู้ในสิ่งที่คุณพูด นั่นคือขั้นตอนแรกของการเป็นนักอ่านที่ดี เขากำลังสนใจภาษาแล้ว เขาก็จะรักภาษาในที่สุดเมื่อเขาเติบโตขึ้น ควรอย่างยิ่งที่ต้องพูดคุยกับเขาอย่างต่อเนื่อง ถามไถ่ถึงสิ่งที่เขาทำ หรือคิดจะทำ ถามถึงเหตุการณ์หรือบุคคลต่าง ๆ ที่โลดแล่นในเรื่องราวที่คุณอ่านพร้อมกับเขา แสดงออกให้เขาเห็นว่า คุณให้ความสนใจทุกคำพูดที่เขาพูดกับคุณ กระตุ้นให้เขาพูดคุยหรือฟังสิ่งต่าง ๆ รอบ ๆ ตัวเขา พร้อมกับแสดงให้เห็นว่าคุณเคารพคำพูดที่เขาพูด สิ่งที่เขาคิดไปพร้อมกันด้วย
 

ร่วมอ่านด้วยกันแม่ลูก
ให้นำลูกนั่งตักแล้วอ่านหนังสือด้วยกันกับคุณ ณ จุดนี้ลูกจะเห็นความแตกต่างระหว่างการพูดคุยธรรมดา กับการอ่านหนังสือ ชี้ชวนให้ลูกดูรูปภาพ พร้อมคำบรรยาย เด็กจะจับความสัมพันธ์ระหว่างตัวอักษรกับภาพได้ดีขึ้น เขาจะรู้สึกสนุกกับการอ่านภาพพร้อมตัวอักษรในเบื้องต้น
หากลูกยังเป็นทารก การอ่านออกเสียงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับชีวิตประจำวัน พยายามหาเวลาที่เงียบสงบ เช่น เวลาก่อนนอนเป็นช่วงการอ่านประจำ ซึ่งเวลานี้เป็นเหมือนเวลาว่างที่ถ่ายโอนจากเวลาเล่นมาสู่เวลานอน ทำบรรยากาศสบาย ๆ ให้เด็กได้รับรู้ และมีความสุขปลอดภัยในไออุ่นจากแม่ด้วย จะเป็นการส่งเสริมทัศนคติที่ดีต่อการอ่าน เมื่อไรที่เด็กที่รู้สึกเหนื่อยล้า หรือหงุดหงิด ไม่สบายตัวในการร่วมอ่านด้วย ให้ระงับทันที
พยายามใช้เวลาในการอ่านประมาณ 30 นาทีต่อวัน ทั้งนี้ในเบื้องต้นควรเริ่มเพียงไม่กี่นาที และหลาย ๆ ครั้งต่อวัน จนพัฒนาเป็นเวลาประจำเพียงหนึ่งครั้งในท้ายที่สุด พยายามทำอย่างสม่ำเสมอทุกวัน เมื่อไรที่มีเหตุจำเป็นต้องยกเลิกหรือเลื่อนออกไป ควรรีบกลับมาใช้เวลาร่วมกันดังเดิม ทั้งนี้ช่วงเวลาอ่านหนังสือให้ลูกฟังควรเป็นช่วงที่มีความสุขทั้งแม่และลูก
 

เรื่องราวมันเป็นอย่างไรจ๊ะ
ขณะที่อ่านร่วมกับลูก ควรถามไถ่ความเห็นของลูกต่อเรื่องราวต่าง ๆ ที่คุณได้อ่านในกรณีที่ลูกของคุณสามารถสื่อสารได้บ้าง เช่น ในรูปนี้หนูอยู่ตรงไหนจ๊ะ แล้วชี้ชวนให้เขาชี้ หรือลองทายซิ เรื่องจะจบลงอย่างไร หนูคิดว่าเรื่องนี้สนุกไหม ... ทั้งหมดก็เพื่อการสร้างบรรยากาศ และสร้างวิธีที่ถูกต้องในการอ่านหนังสือ ที่มิใช่เพียงแค่อ่านผ่าน ๆ ให้จบ แต่ควรจะเก็บข้อคิดหรือกระตุ้นการคิดให้กับเด็กด้วย

การเลือกหนังสือ
เป็นสิ่งสำคัญมาก ที่ควรจะเลือกให้เหมาะกับวัยและสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้สามารถข้อคำแนะนำได้จากบรรณรักษ์ในห้องสมุด
เมื่อเด็กยังเป็นวัยทารกอยู่ ควรแนะนำหนังสือให้ลูก ๆ ได้สัมผัสเองในหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นหนังสือปกแข็ง หนังสือผ้าที่สามารถซักได้ หนังสือที่มีตุ๊กตาอยู่ภายในที่สามารถกระเด้งออกมาได้เมื่อเปิด หรือหนังสือที่มีเสียงพูดเสียงร้องที่ผู้จัดทำมักบรรจุกล่องเสียงเล็ก ๆ อยู่ภายใน หนังสือที่ควรเลือกให้กับลูกควรเป็นเล่มใหญ่พอสมควรที่ลูกจะไม่สามารถเอาเข้าปากได้ โดยมีเนื้อหาภายในที่สอดคล้องกับชีวิตประจำวันที่เขาได้สัมผัสอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน อย่าหงุดหงิดหรือโกรธเด็ก หากในวันแรก ๆ เขาโยนหนังสือทิ้ง หรือขว้างปา หรือฉีกหนังสือ ให้อดทนต่อปฏิกิริยาของเขาต่อหนังสือ เขาเพียงต้องการเรียนรู้ว่ามันคืออะไร ทำอะไรได้เท่านั้น ให้ชี้ชวนให้ดูรูปภาพภายในพร้อมแสดงออกให้รู้สึกกระตือรือร้นหรือสนใจอย่างมากต่อสิ่งที่คุณนำเสนอ ไม่นานก็จะเรียนรู้วิธีใช้ประโยชน์จากมัน แล้วเมื่อเขาเติบโตขึ้นมาหน่อย ราวสัก 3 ถึง 4 ขวบ เขาจะเป็นคนเลือกหนังสือให้คุณอ่านให้เขาฟังเองต่อเมื่อวัยอนุบาล หนังสือที่ควรอ่านให้ลูกฟังควรมีความยาวมากขึ้นหรือมีจำนวนคำมากขึ้น ทั้งนี้คำที่ใช้ในหนังสือควรมีคำซ้ำเพื่อให้จดจำได้ง่าย หรือคำคล้องจองเพื่อความสนุกสนาน จนเมื่อเริ่มวัยประถม 1 หนังสือที่เลือกอ่านควรมีความสนุกสนานของเนื้อหา การเล่นคำ มากกว่าหนังสือเชิงสารคดี
พึงระลึกเสมอว่า วัยเด็กเล็กมักสนใจในเรื่องของผู้คน สถานที่ต่าง ๆ หรือสิ่งที่เคยได้รับรู้มาบ้างแล้วที่ใกล้ตัวนั่นเอง เช่น เรื่องเกี่ยวกับจังหวัดที่เขาอาศัยอยู่ บ้านที่เขาอยู่ ส่วนหนึ่งของวัฒนธรรม ไม่ว่าการทำบุญตักบาตร การเล่นสงกรานต์ การไหว้หรือทักทายผู้คน การแต่งตัว วันหยุด หรือเด็กบางคนสนใจเรื่องไดโนเสาร์ก็ควรเลือกในสิ่งที่เขาสนใจ

แสดงให้ลูกเห็นว่าคุณสนใจอ่าน
การเป็นต้นแบบความรักการอ่านเป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งผู้แสดงบทบาทนี้ก็คือคุณพ่อคุณแม่นั่นเอง วิธีการก็คือ คุณแม่นำหนังสือที่ตนเองชอบโดยเลือกมาจากร้านหนังสือ หรือห้องสมุด นำมาอ่านร่วมกันกับลูก โดยให้ลูก ๆ อ่านหนังสือของเขาข้าง ๆ คุณ คุณอาจรู้สึกไม่สะดวกในการอ่านหนังสือของตัวเอง แต่นั่นแหละคือการปลูกฝังทัศนคติในการรักการอ่าน เพราะเมื่อเขาเห็นว่าหนังสือสำคัญต่อคุณ เขาก็คิดว่าหนังสือสำคัญต่อเขาเช่นกัน

เรียนรู้อักษรที่พิมพ์
การอ่านหนังสือโดยออกเสียง และชี้ไปด้วย ก็คือการประสานของอวัยวะต่าง ๆ เข้าด้วยกัน เด็กจะจับความสัมพันธ์ระหว่างภาพตรงหน้าพร้อมเสียงที่ได้ยิน และอักษรที่ปรากฏ ทำให้เขาเข้าใจความหมายโดยนัยได้อย่างไม่ยากเย็นนัก
ประมาณ 4 ขวบ เด็กเรียนรู้คำที่พิมพ์ในหนังสือนั้นมีความหมาย และประมาณ 5 ขวบ เด็กสามารถแยกแยะตัวอักษรได้ดีขึ้น ทราบว่าตัวอักษรนั้นเรียงจากซ้ายไปชวา ในภาษาอังกฤษมีตัวพิมพ์ใหญ่ตัวพิมพ์เล็กด้วย และประมาณ ประถม 1 เขาจะมีความกระตือรือร้นที่อ่านหนังสือเอง ควรปล่อยให้เขาทำ อย่าบังคับ เพราะการอ่านเป็นความภาคภูมิใจอย่างหนึ่งของเด็กที่สามารถทำอะไรได้เหมือนผู้ใหญ่ ต้องตระหนักว่า ต้องเป็นความต้องการของเขาเอง

หนังสือทำงานอย่างไร
เด็กเรียนรู้การถือหนังสืออ่าน การวางท่าเพื่ออ่านหนังสือจากพ่อแม่ แต่อาจไม่เข้าใจในสิ่งที่ปรากฏอยู่เบื้องหน้า ต้นแบบจึงสำคัญ และนับเป็นสัญญาณที่ดีที่เด็กเรียนรู้ที่จะรับเอาอุปกรณ์สิ่งหนึ่งเข้ามาในชีวิตของเขา นั่นคือ หนังสือ ทั้ง ๆ ที่ก่อนสามขวบเขาจะไม่เห็นความสำคัญของมันนัก อาจจะฉีก ขว้างทิ้ง หรือไม่สนใจก็ตาม แต่หลังสามขวบเขาก็จะรู้ว่า หนังสือมีไว้เพื่ออ่าน เขาเรียนรู้ว่า หนังสือ มีส่วนประกอบคือ ปกหน้า ปกหลัง มีจุดเริ่มต้น มีจุดสิ้นสุด มีหน้าต่าง ๆ ในแต่ละหน้ามี ส่วนต้น ซึ่งอาจมีเลขหน้า หรือส่วนท้ายที่อาจมีชื่อเรื่อง การเปิดพลิกแต่ละหน้าคือการดำเนินเรื่องราวต่าง ๆ และหนังสือก็เริ่มจากซ้ายไปขวา ประมาณ 4- 5 ขวบ เด็กจะเรียนรู้ส่วนประกอบของหนังสือได้อย่างดี การอ่านข้อความบนปกหนังสือพึงกระทำ อย่างน้อยเพื่อให้เขาคาดการณ์เนื้อหาหรือภาพต่าง ๆ ที่บรรจุภายใน การชี้ชวนให้สนใจส่วนประกอบก็เป็นเรื่องดีที่ให้เด็กช่างสังเกต อย่างน้อยก็รู้ว่า สิ่งใดเปลี่ยนแปลงไปบ้างเมื่อพลิกไปในแต่ละหน้าของหนังสือ เช่น เลขหน้า ความลึกลับซับซ้อนของวัตถุสิ่งนี้ก็ได้ถูกค้นพบแล้วด้วยตัวเด็กเอง

ความพยายามเบื้องต้นในการเขียน
การเขียนเป็นพัฒนาการที่ส่งต่อมาจากการอ่าน เมื่อเรียนรู้การอ่านก็ควรส่งเสริมให้มีการเรียนรู้การเขียนไปพร้อมกันด้วย ในวัยสองขวบ ควรอย่างยิ่งที่จะให้เด็กหัดใช้สีเทียนเพื่อขีดเขียนลงบนกระดาษ อย่างน้อยก็เป็นการพัฒนากล้ามเนื้อมือ และเรียนรู้เรื่องสีต่าง ๆ ที่ใช้ เขาจะสนุกสนานมาก และเมื่อเขาเรียนรู้การอ่านระยะหนึ่ง เขาจะมีความกระตือรือร้นที่จะเขียนไปด้วย   เมื่อเริ่มต้นการหัดเขียนก็เริ่มด้วยตัวอักษรง่าย ๆ ไปเรื่อย ๆ เพื่อเลียนแบบอักษรในหนังสือที่เขาอ่าน หรือการวาดภาพสิ่งที่เห็นในหนังสือ ไม่ต้องสนใจความถูกผิด สมบูรณ์ของภาพ หรือตัวอักษร เมื่อวัยเข้าเรียน เขาจะเรียนรู้ความถูกผิดเองของการสะกดคำ อย่างน้อยสิ่งนี้เป็นสิ่งสะท้อนความรู้สึกนึกคิดของเขาในรูปของภาพวาด หรือ ตัวอักษร เขาจะเรียนรู้ว่า การเขียนคือสิ่งที่มาคู่กับการอ่าน

การอ่านภาษาอื่น
กรณีที่ต้องการส่งเสริมการอ่านภาษาอังกฤษ หรือ ภาษาจีน หรือภาษาอื่นใดที่นอกเหนือจากภาษาแม่ ก็ให้ดำเนินการเหมือนอย่างที่ได้พูดถึงข้างต้น ทั้งในเรื่องของการพูดคุย การอ่าน และการเขียน ในตอนท้าย เด็กจะสามารถแยกแยะได้เอง และสามารพูดสลับไปมาได้อย่างแคล่วคล่อง หากได้รับการสนับสนุนอย่างเต็มที่จากพ่อแม่ผู้ปกครอง
อย่าลืม ข้อแนะนำเบื้องต้นที่ว่า ความรักการอ่านสำคัญมากกว่าการอ่านหนังสือเป็นโดยไม่รัก ดังนั้นทุกกิจกรรมควรทำอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่องจนเป็นเนื้อเดียวของชีวิตประจำวัน  

"บ่มเพาะให้เด็กมีความรักการอ่าน สำคัญกว่าการฝึกให้เด็กแค่อ่านหนังสือเป็น เนื่องจากหากเด็กมีลักษณะนิสัยในการรักการอ่านนั้น ผลพลอยได้ที่ตามมาคือ เขาจะอ่านหนังสือเป็นโดยปริยาย และการอ่านเป็นของเด็กที่รักการอ่านจะมีคุณภาพมากกว่าเด็กที่อ่านหนังสือเป็นโดยไม่ได้เกิดจากความรัก"


 เอามาฝากคะ บทความดีๆเกี่ยวกับการอ่าน คัดลอกมาจาก www.prachathai.com

 

---------------------------------------------------------------------------

English Version

Learn to Read
  • Home
  • Reading Checklist
  • Spotting problems

Reading Strategy
  • Talking & Listening
  • Reading Together
  • Learn about Books
  • Efforts to Write
  • Another Language

Reading Games
  • Baby Talk
  • Books and Babies
  • Chat with Children
  • As Simple as ABC
  • What's Next?
  • Home for My Books
  • Worth 1000 Words
  • Rhyme with Me
  • Match My Sounds
  • Take a Bow!
  • Family Stories
  • Write On!

Reading Help
  • Reading Programs
  • Visiting the Library
  • Learn by Computers
  • Learning with TV
  • Resources




เก็บมาฝาก

นิทาน กับคุณค่าที่คุณคาดไม่ถึง article
Brain GYM : ชวนน้องหนูมาออกกำลังสมองกัน article
ถามตอบ กลุ่มโรค มือเท้าปาก (Hand foot mouth syndrome) article
“โรคมือเท้าปาก” article
clip
คลังชีทติวสาธิต 2009
การบ้านปิดเทอม 2009
code เพลงน่าฟัง
บทความน่ารู้สำหรับเด็กเล็ก
ทำอย่างไรเมื่อหนูดื้อ article
ของเล่นเพื่อพัฒนาการลูกน้อย วัย 1-3 ปี article
วันแม่แห่งชาติ article
นิทานพัฒนา EQ article
เมื่อหนูเป็นโรคภูมิแพ้ / หอบ article
เมื่อหนูไม่ทานน้ำ article
เด็กขี้อาย...ต๊าย...ตายแย่จัง



Copyright © 2010 All Rights Reserved.
@โรงเรียนอนุบาลวัฒนาสาธิต 34 ซ.วชิรธรรมสาธิต 55 หมู่บ้าน อิมพีเรียล พาร์ค สุขุมวิท 101/1 พระโขนง กทม. โทร. 02-7464991