ReadyPlanet.com


มารู้จักโรคมือ เท้า ปาก กัน
avatar
ครูกิ๊ฟ


 
 
น้องๆ คนไหนที่เข้าเรียนแล้ว มาช่วงนี้ก็คงจะปรับตัวเข้ากับโรงเรียนได้ดีขึ้น จากที่เคยร้องไห้ทุกเช้าก็อาจจะร้องน้อยลง หรือบางคนก็สนุกกับการไปโรงเรียนมากขึ้น แต่ก็มีอันต้องได้หยุดกันบ่อยๆ เพราะอาการไม่สบาย โดยเฉพาะในเด็กเล็กที่เพิ่งจะเข้าโรงเรียน เป็นเรื่องที่พ่อแม่ต้องทําใจกันล่ะค่ะ

อาการไม่สบาย ที่เกิดได้บ่อยที่สุด ก็คือเป็นหวัด น้ำมูกไหล ไอ แต่ 2-3 ปีให้หลังมานี้เรามักจะได้ยินกันบ่อยๆ ว่าโรงเรียนสั่งปิด 1 อาทิตย์บ้าง 10 วันบ้าง เพื่อลดการระบาดของโรคมือ เท้า ปาก เป็นโรคที่ติดง่ายๆ พอๆ กับหวัดเลยทีเดียว ถึงแม้โรคนี้จะไม่มีความรุนแรงเท่าไหร่นัก แต่ก็พบบ่อย และบางรายอาจมีอันตรายจากภาวะแทรกซ้อน และเป็นอันตรายถึงชีวิตได้เช่นกัน
 
ทําความรู้จักกับโรคมือ เท้า ปาก
    • โรคนี้เกิดจากเชื้อไวรัสที่อยู่ในลําไส้คน พบบ่อยในกลุ่มเด็กเล็กที่อายุต่ำกว่า 5 ปี โรคนี้เกิดขึ้นได้ทั้งปี แต่จะระบาดมากในช่วงหน้าฝน เพราะอากาศชื้น ซึ่งก็ตรงกับช่วงเปิดเทอมของบ้านเราพอดี 
    • เชื้อโรคจะอยู่ในน้ำลาย น้ำมูก อุจจาระ และน้ำจากตุ่มพองในแผล เด็กเล็กๆ ที่อยู่ในโรงเรียนมักเกิดจากการไอจามรดกัน ใช้ภาชนะร่วมกัน หรือเล่นของเล่นที่เปื้อนน้ำลาย น้ำมูกของเด็กที่ป่วย 
    • เชื้อโรคจะติดต่อกันในช่วงสัปดาห์แรกของการป่วย ซึ่งหลังจากรับเชื้อ 3-6 วัน จะมีอาการป่วย 
    • โรคนี้จะรักษาไปตามอาการ เช่น ตัวร้อนก็ให้ยาลดไข้ หรือเช็ดตัว ที่สําคัญคือ ต้องให้ลูกอยู่ที่บ้าน และทําความสะอาดของใช้ให้ดี โดยใช้น้ำยาฆ่าเชื้อในการล้างเครื่องใช้ ของเล่น และพื้นบ้าน
 
 
     อาการป่วย
    • มีไข้ต่ำๆ อ่อนเพลีย ปวดเมื่อยตามตัว เหมือนอาการไข้หวัด ประมาณ 2-4 วัน (ช่วงนี้คุณแม่ควรหมั่นเปิดปากลูกดูว่ามีตุ่มขึ้นหรือไม่) 
    • ถัดมาอีก 1-2 วัน เด็กจะเจ็บปาก ไม่อยากกิน เพราะมีตุ่มแดงๆ ที่ลิ้น เหงือก กระพุ้งแก้มก่อน จากนั้นจะพบที่ฝ่ามือ นิ้วเท้า ฝ่าเท้า และก้น ตุ่มแดงๆ นั้นต่อไปจะกลายเป็นตุ่มพองใส รอบๆ จะแดงอักเสบ และจะแตกออกเป็นแผล หลุมตื้นๆ 
    • อาการจะทุเลาและหายเป็นปกติภายใน 7-10 วัน 
    • อาการโรคนี้มักไม่รุนแรง แต่ก็มีไวรัสบางชนิดอาจทําให้อาการรุนแรงได้ โดยสังเกตถ้าเด็กมีไข้สูง ซึม เบื่ออาหาร อาเจียนบ่อย หอบ แขนขาไม่มีแรง อาจเกิดภาวะสมองเสื่อม กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ หรือน้ำท่วมปอด ซึ่งรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้
 
ป้องกัน ง่ายกว่ารักษา
    • ตัดเล็บลูกให้สั้น สอนลูกให้ล้างมือด้วยสบู่บ่อยๆ โดยเฉพาะก่อนกินข้าว และหลังจากเข้าห้องน้ำ
    • ฝึกให้ใช้ช้อนกลางในการกินข้าวร่วมกับผู้อื่น และไม่ให้ใช้แก้วน้ำ ขวดนม ช้อน หลอด ร่วมกับผู้อื่น
    • ถ้าลูกเป็นควรให้ลูกหยุดเรียนทันที ถ้ายังไม่เข้าเรียน ก็ต้องอยู่ในบ้านอย่าเพิ่งออกไปไหน โดยเฉพาะที่ที่มีคนมาก
    • รักษาความสะอาดของการปรุงอาหาร ทั้งมือผู้ปรุง อุปกรณ์ อาหารสด และกินอาหารที่ปรุงสุกใหม่ๆ 
    • ไม่นําลูกเล็กๆ ไปในสถานที่แออัด หรือไม่เล่นของเล่นตามสวนสาธารณะในช่วงที่มีการระบาดของโรค (เครื่องเล่นในโรงพยาบาลก็ควรเลี่ยงเช่นกัน)
 
ขอบคุณ : น้องพริตตี้-ด.ญ.พิชชาภรณ์ ปัญญพัฒนกุล
 

Mother&Care  Vol.4  No.43  July  2008


ผู้ตั้งกระทู้ ครูกิ๊ฟ :: วันที่ลงประกาศ 2008-07-12 17:52:32 IP : 124.120.110.80


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (2016145)
avatar
Admin

โรคมือเท้าปาก - Hand Foot Mouth Disease      
Hand-Foot-Mouth Disease
compiled by Voravouth Charoensiri, M.D.,


โรคนี้ไม่ใช่โรคใหม่ พบได้มานานแล้วและยังเกิดการระบาดเป็นครั้งคราว 
มักเกิดกับเด็กอายุต่ำกว่า 10 ขวบ โดยเฉพาะเด็กเล็ก อายุระหว่าง 2 สัปดาห์ 
ถึง 3 ปี ซึ่งจากการศึกษาทางระบาดวิทยาพบว่าเป็นช่วงอายุที่เกิดการติดเชื้อ
ไวรัสชนิดนี้ได้บ่อยที่สุด นอกจากนี้ยังพบว่าโรคนี้ไม่เป็นปัญหาในผู้ใหญ่และ
ผู้สูงอายุ 


โดยปกติถือว่าโรคมือ เท้า และปาก (hand, foot and mouth disease) เป็นโรคที่ไม่รุนแรง 
หรือที่เรียกว่า mild disease ผื่นและตุ่มน้ำใสดังกล่าวสามารถหายได้เองในเวลา 5 - 7 วัน 
ไม่เกินสองสัปดาห์ แต่ในบางครั้งที่มีการระบาด เชื้อไวรัสสายพันธุ์ที่รุนแรง เช่น Enterovirus 71  
หรือ Coxsackie virus บางชนิด อาจก่อให้เกิดโรคเดียวกันนี้ที่รุนแรงถึงขั้นทำให้ผู้ป่วยเด็ก
เสียชีวิตได้

สาเหตุ :
สาเหตุของโรคมือ เท้า และปากเกิดจากเชื้อไวรัสชนิดหนึ่ง ที่มีชื่อเรียกว่า coxsackie virus 
โดยเฉพาะเป็นไวรัสชนิด A5, A10 และ A16 ซึ่งเป็นสายพันธ์ที่พบบ่อยว่าเป็นสาเหตุ 
ในการระบาดบางครั้งพบว่าสายพันธ์ที่เป็นสาเหตุได้แก่ coxsackie virus type A16,
coxsackie virus typeA และ enterovirus type 71 
สรุปได้ว่าสาเหตุของโรค HFMD นี้ เกิดจากไวรัส (coxsackie virus) ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มของ
 enterovirus นั่นเอง 

ไวรัสชนิดนี้สามารถแพร่กระจายติดต่อถึงกันได้โดยตรงผ่านทางของเหลวต่างๆ
ของร่างกาย ที่สำคัญคือการปนเปื้อนมาในอุจจาระของผู้ป่วย fecal-oral 
transmission ซึ่งถือได้ว่าเป็นการติดต่อที่สำคัญของไวรัสกลุ่ม enterovirus 
ทั้งหมด (คำว่า entero หมายถึงทางเดินอาหาร, ติดต่อโดยระบบทางเดินอาหาร
นั่นเอง) ควรระลึกไว้เสมอว่าเด็กจะได้รับเชื้อไวรัสนี้ จากการที่ได้รับอาหารและ
น้ำที่ปนเปื้อนเชื้อไวรัส ซึ่งอาจกระจายออกมากับอุจจาระ หรือละอองน้ำมูก 
น้ำลายของเด็กที่เป็นโรคนี้ และนอกจากนี้ยังสามารถติดต่อได้ทางลมหายใจ
อีกด้วย 

การแพร่กระจายเชื้อ จะเกิดได้ง่ายมากในเด็กๆ เล็กๆ ที่ชอบเล่นคลุกคลีใกล้ชิด
กันใน โรงเรียนอนุบาล สถานรับเลี้ยงเด็ก หรือญาติพี่น้องที่อยู่รวมกันมากๆ 

ลักษณะอาการที่สำคัญของโรคติดเชื้อไวรัสชนิดนี้ (ดังแสดงในรูป)
   
คือการปรากฎผื่นและตุ่มน้ำใส (rash with blisters) ที่บริเวณปาก ลำคอ ต่อมทอนซิล รวมทั้งที่บริเวณ
มือและเท้า จึงทำให้โรคนี้ได้รับขนานนามว่า โรคมือ-เท้า-และปาก (ไม่ใช่ "เปื่อย" แต่เป็นผื่นที่มีตุ่มน้ำใส)
ซึ่งถ้าจะนึกภาพเพื่อเป็นการเทียบเคียง พอจะกล่าวได้ว่ามีลักษณะคล้ายตุ่มน้ำเมื่อถูกน้ำร้อนลวกนั่นเอง
 

ลักษณะสำคัญเฉพาะโรคนี้คือ มีแผลตื้นๆ เกิดขึ้นที่บริเวณเยื่อบุช่องปาก ลิ้น เหงือก 
และข้างกระพุ้งแก้ม เริ่มเป็นจุดแดงๆ ก่อนแล้วเปลี่ยนเป็นตุ่มน้ำใสและแตกเป็นแผล
ส่วนบริเวณผิวหนังจะเกิดมีผื่นแดงๆ ก่อนแล้วเปลี่ยนเป็นตุ่มน้ำใส โดยเฉพาะอย่าง
ยิ่งจะมี ผื่นตามฝ่ามือ ฝ่าเท้า บางครั้งอาจจะมีผื่นขึ้นที่บริเวณก้นด้วย ผื่นที่ผิวหนัง
นี้จะไม่แตกเป็นแผล (เหมือนในปาก) และไม่มีอาการคัน

การระวังป้องกัน :
แนวทางการป้องกันโรคมือ เท้า และปาก ที่สำคัญที่สุดประการหนึ่ง คือการ
หลีกเลี่ยงไม่สัมผัสกับผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้ (direct contact) โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
ในกรณีที่เกิดการระบาด สำหรับการป้องกันโรคนี้อีกสิ่งหนึ่งที่ไม่ควรละเลยคือ
เรื่องของสุขอนามัยของประชาชน กล่าวคือให้ประชาชนมุ่งเน้นที่ความสะอาด
ของร่างกาย ล้างมือให้สะอาดภายหลังเข้าห้องน้ำทุกครั้งและก่อนรับประทานอาหาร
 ทั้งนี้ จากการศึกษาพบว่าการล้างมือให้สะอาด และหลีกเลี่ยงการใช้เครื่องใช้ร่วมกัน 
เช่น ผ้าเช็ดตัว เสื้อผ้า ของเล่นเด็ก ล้วนเป็นประโยชน์ในการป้องกันโรคทั้งสิ้น 

ในสถานที่ดูแลเด็ก อาทิเช่น สถานเลี้ยงเด็กอ่อน เด็กเล็ก ควรเน้นวิธีกำจัด
อุจจาระให้ถูกต้อง ที่ต้องเน้นอีกเรื่องหนึ่งคือการล้างมือให้สะอาด เนื่องจาก
ไวรัสพวกนี้แพร่กระจาย โดยการสัมผัสอุจจาระของผู้ป่วยเป็นสำคัญประการหนึ่ง 

และประการสุดท้าย เมื่อเด็กมีตุ่มใสขึ้นที่ปาก มือ หรือ เท้า ขอให้นึกถึงโรคนี้ 
และต้องพาไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษาและแยกเด็กป่วยไม่ให้คลุกคลี   กับ
เด็กอื่นประมาณ 2 สัปดาห์ เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อด้วยเช่นกัน
ทั้งนี้ โรคมือ เท้า และปาก ในเด็กจะมีลักษณะเป็นตุ่มใสตามมือ เท้า ปาก มีไข้ 
การติดเชื้อร้อยละ 99 จะมาจากอุจจาระของเด็กเล็ก อายุต่ำกว่า 10 ขวบ จะติด
เชื้อได้ทางเดียวคือทางอุจจาระ ข้อควรระวังคือ เรื่องของสุขวิทยาส่วนบุคคลคือ 
รับประทานอาหาร และน้ำที่สะอาด ไม่ลงเล่นน้ำ ในสระน้ำสาธารณะ หลีกเลี่ยง
การเล่น ในสนามเด็กเล่นสาธารณะ และป้องกันไม่ให้มีการปนเปื้อนของ
อุจจาระเข้าปาก


อาการ :
ดังที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น โรคมือ เท้า และปาก Hand-foot-mouth disease
จัดได้ว่าเป็นโรคที่พบได้บ่อย โดยเฉพาะในเด็กเล็กๆ และมักเกิดการระบาดใน
หมู่หรือกลุ่มของเด็กที่อยู่ในสถานเลี้ยงเด็กกลางวัน หรือที่เรียกว่า daycare การ
ติดต่อเกิดขึ้นได้ง่าย กรณีที่ไม่รักษาอนามัยที่สะอาด เช่น ไม่ล้างมือหลังจาก
เปลี่ยนผ้าอ้อมให้เด็กเล็ก เป็นต้น หรือติดต่อทางน้ำลายได้ โดยไวรัสสามารถ
ติดต่อจากเด็กคนหนึ่งไปยังอีกคนหนึ่งได้เช่นกัน 

ภายหลังได้รับเชื้อไวรัสที่เป็นต้นเหตุ เป็นเวลา 4-6 วัน ผู้ป่วยเด็กจะมีไข้ มักเป็น
ไข้ต่ำๆ เช่น อุณหภูมิ 99-102 องศาF (หรือ 37.2-38.9 องศาC) อาการอื่นๆ 
ได้แก่ อ่อนแรงเมื่อยล้า fatigue ไม่มีแรง loss of energy ไม่อยากทานอาหาร 
decreased appetite และเจ็บที่บริเวณปาก sore sensation in the mouth, 
which may interfere with feeding ซึ่งอาจมีผลต่อการป้อนอาหารให้เด็ก 

หลังจากเด็กได้รับเชื้อไวรัสราว 1-2 วัน จะปรากฎตุ่มน้ำใส bumps (vesicles) 
ขึ้นภายในปาก ลิ้น กระพุ้งแก้ม ตุ่มน้ำใสเหล่านี้มีขนาดเล็ก เส้นผ่าศูนย์กลาง
ประมาณ 3-7 มิลลิเมตร ในที่สุดจะเกิดตุ่มน้ำใสขึ้นที่ฝ่ามือ ฝ่าเท้า และในบาง
รายเกิดขึ้นที่บริเวณก้นด้วย 

ตุ่มน้ำใสในปากดังกล่าวทำให้เกิดอาการหลายประการ เช่น เจ็บ และทำให้เด็ก
ไม่ยอมกินอาหารหรือดื่มน้ำ เนื่องจากเจ็บ ในระยะนี้ใช้เวลานานประมาณเฉลี่ย
หนึ่งสัปดาห์ ต่อมาเมื่อเกิดเป็นตุ่มน้ำใส เป็นระยะที่ติดต่อได้ง่ายที่สุด พบว่าเชื้อ
ไวรัสอยู่ในตุ่มน้ำใสเป็นจำนวนมาก จึงแนะนำให้ระมัดระวังการสัมผัสตุ่มน้ำใส 
เนื่องจากเกิดการติดเชื้อได้ง่ายมาก

กล่าวโดยสรุป อาการของโรคนี้มีดังต่อไปนี้
- ไข้สูง 
- เจ็บคอ 
- ตุ่มน้ำใส หรือ แผล ที่คอ ในปาก 
- ปวดหัว ปวดศีรษะ 
- ผื่นที่มีตุ่มน้ำใส มือ เท้า และปาก (อาจพบที่บริเวณก้นร่วมด้วย) 
- ไม่กินนม ไม่กินอาหาร 


ลักษณะอาการ/การวินิจฉัย - Signs and Tests:
เป็นที่ทราบกันดีว่าการวินิจฉัยโรคมือ เท้า และปากทำได้ไม่ยาก หมายความว่าการตรวจพบลักษณะของ
ตุ่มน้ำใสที่เกิดขึ้นที่บริเวณปาก ฝ่ามือ และ ฝ่าเท้า ทั้งนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ป่วยเด็กเล็กที่มีอาการ
ไม่รุนแรงนัก 
กล่าวโดยสรุปได้ว่าการวินิจฉัยโรคนี้ไม่ยากแต่อย่างใด การซักถามประวัติ และการตรวจร่างกายอย่าง
ละเอียด ก็สามารถให้การวินิจฉัยโรคนี้ได้อย่างถูกต้องแม่นยำ และไม่จำเป็นต้องอาศัยการตรวจพิเศษ
เพิ่มเติม


พ่อแม่จะสังเกตอาการเหล่านี้ได้อย่างไร ? 

เด็กที่ได้รับเชื้อโรคนี้ จะมีอาการไข้ต่ำๆ เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย หลังจากมีไข้ 2-3 วัน เด็ก จะเริ่มเจ็บคอ
น้ำลายไหล ปฎิเสธอาหารและน้ำ ถ้าให้เด็กอ้าปาก  จะเริ่มเห็นมีแผลในปาก และเริ่ม มีผื่นตามมือและเท้า
ในอีก 2-3 วันต่อมา 

เด็กๆ จะมีอาการอาเจียน ท้องร่วง ซึม ไม่วิ่งเล่นเหมือนเดิม โรคแทรกซ้อนที่อาจเกิดร่วม กับ HFMD
 ได้แก่ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ (Aseptic meningitis) และกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ (Myocarditis)
โรคแทรกซ้อนเหล่านี้ถึงแม้จะเกิดขึ้นไม่มากนักแต่ค่อนข้างจะอันตรายถึงแก่ชีวิต 

ฉะนั้นถ้าพ่อแม่ สงสัยว่าลูกจะเป็นโรคนี้ ให้สังเกตอาการดังกล่าว ถ้าสงสัยว่าจะมีโรค แทรกซ้อน
 เช่น เด็กมีอาการอ่อนเพลียมาก ซึม ปวดศีรษะ ปัสสาวะน้อย  ผิวหนังแห้ง เพลีย หมดแรง ให้รับพา
ไปหาหมอโดยด่วน 


การรักษา - Treatment:
สำหรับในแง่ของการรักษาโรคมือ เท้า และปาก    เนื่องจากเป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส 
จึงไม่มียาฆ่าเชื้อโดยตรง เช่นเดียวกับโรคติดเชื้อไวรัสทั่วๆไป ซึ่งในทางการแพทย์เรียกว่า
 "การรักษาเฉพาะเจาะจง"   specific treatment  เช่นถ้าสาเหตุเกิดจาเชื้อโรคก็ใช้ยาที่
ออกฤทธิ์ฆ่าหรือทำลายเชื้อก่อโรคนั้นเสีย 
ดังนั้นการรักษาที่สำคัญ จึงเน้นที่การรักษาตามอาการ และการรักษาประคับประคอง symptomatic 
and supportive treatment และเฝ้าระวังอาการที่รุนแรงหรือภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้
ในผู้ป่วยบางราย การใช้ยาลดไข้ acetaminophen or ibuprofen 
 กระตุ้นและดูแลให้เด็กดื่มน้ำและทานอาหารให้ได้ตามปกติ 

ถ้าหากทานไม่ค่อยได้ อาจพิจารณาให้ทานอาหารเหลว เครื่องดื่มบำรุงกำลัง หรือประเภท ice chips 
or popsicles ก็ได้ 


การรักษาเบื้องต้น 
พ่อแม่สามารถดูแลให้การรักษาเบื้องต้นแก่ลูกได้ ตั้งแต่ลูกเริ่มมีอาการไข้ พ่อแม่ควรให้ลูก ดื่มน้ำ
หรืออาหารเหลวทีละน้อยๆ ให้บ่อยๆ เช่น น้ำผลไม้ น้ำแกงจืด น้ำเต้าหู้ นม 
ให้ยาพารา เซตตามอลลดไข้ตามขนาดของน้ำหนักตัวของเด็ก เช็ดตัวลดไข้ และให้นอนพักผ่อน
ระมัดระวัง เรื่องการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสจากน้ำมูก น้ำลาย และอุจจาระของเด็กป่วยด้วย 

มียารักษาโรคนี้หรือไม่ 
ยังไม่มียาฆ่าเชื้อไวรัสตัวนี้ การรักษาทั่วๆ ไป ดังกล่าวข้างต้น เพื่อประคับประคองให้เด็ก ฟื้นไข้ 
ซึ่งส่วนมากจะกินเวลาประมาณ 7-10 วัน เด็กก็จะฟื้นจากไข้ และหายเป็นปกติ 


พยากรณ์โรค - Prognosis:
โดยทั่วไป โรคมือ เท้า และปาก ถือว่ามีการพยากรณ์โรคที่ดีมาก กล่าวคือโรคนี้สามารถหายได้เอง
ภายในเวลา 5 - 7 วัน (ไม่เกินสองสัปดาห์) โดยไม่มีภาวะแทรกซ้อนแต่อย่างใด


อาการแทรกซ้อน - Complications:
ที่สำคัญ ทำให้เด็กมีไข้สูง จนกระทั่งชักได้ 
อาจเกิดโรคแทรกซ้อนทางระบบประสาทและกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ 

 

Credit : http://www.thailabonline.com/sec8hfm.htm

ผู้แสดงความคิดเห็น Admin วันที่ตอบ 2009-12-15 14:36:51 IP : 124.121.229.76



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล *
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.