ReadyPlanet.com


ชวนลูกเก่งมิติสัมพันธ์ในชีวิตประจำวัน
avatar
Admin


 

เก่งมิติสัมพันธ์


โดย: ธิดา พิทักษ์สินสุข

ความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ ทักษะนี้พัฒนาได้ดีในช่วงวัยเด็ก

มิติสัมพันธ์เป็นคำที่ออกจะไม่คุ้นหูกับคุณพ่อคุณแม่มากนัก แต่ระยะหลังๆ ตั้งแต่มีการพูดถึงความฉลาดของเด็กในหลายๆ ด้านหรือที่เรียกว่าพหุปัญญา คำนี้ก็จะมีผู้พูดถึงกันบ่อยครั้งขึ้นเพราะเป็นความฉลาดด้านหนึ่งที่โฮวาร์ด การ์ดเนอร์ เอ่ยถึง ปัญญาด้านมิติคือ การมีความสามารถสูงในการมองพื้นที่ ขนาด ระยะทาง ทิศทาง สามารถรับรู้สิ่งที่มองเห็นภายนอกแล้วแปลงมาเป็นการรับรู้ภายใน ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นคุณสมบัติที่สำคัญของสถาปนิก มัณฑนากร ศิลปิน นักประดิษฐ์ จิตรกร ผู้สร้างภาพยนตร์ ฯลฯ

ในโรงเรียนอนุบาลหลายแห่งก็ได้นำเรื่องของมิติสัมพันธ์มาฝึกฝนให้เด็ก เกิดทักษะกันมากขึ้น มีเทคนิคที่หลากหลายมาจัดเป็นกิจกรรมการเรียนการสอน ซึ่งแต่เดิมเรามักจะมุ่งไปที่เกมการศึกษา แบบฝึกที่เป็นตารางสัมพันธ์ต่างๆ

ถึงแม้ว่าในชีวิตประจำวันเด็กๆ จะได้เรียนรู้เรื่องมิติสัมพันธ์กันแบบไม่ได้จงใจกันอยู่บ้างแล้ว เช่น การเล่นของเล่น การทำงานศิลปะ แต่เมื่อมิติสัมพันธ์เป็นเรื่องที่เป็นประโยชน์ในชีวิต และเป็นสิ่งที่ฝึกฝนกันได้ พัฒนาให้เพิ่มขึ้นได้ ก็น่าจะช่วยกันจัดกิจกรรมส่งเสริมปัญญาด้านมิติให้ลูกของเรามีความเฉียบคม กันอีกทางหนึ่ง เรามาดูกันนะคะว่าเราจะทำอย่างไรกันได้บ้าง


การเล่นบล็อกตัวต่อ และภาพตัดต่อ

การเล่นบล็อก เล่นตัวต่อต่างๆ จะช่วยให้เด็กๆ คุ้นเคยกับการเรียนรู้เกี่ยวกับพื้นที่ การจัดวาง การกะระยะ สร้างสิ่งประดิษฐ์ที่เกิดจากความคิด เด็กๆ จะเรียนรู้เกี่ยวกับรูปทรง ความพอเหมาะพอดีที่จะจัดวางบล็อกแต่ละชิ้นเพื่อมาประกอบกันให้เป็นไปตามต้องการ

บล็อกและตัวต่อจึงเป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่งกับเด็กๆ ในหลายๆ ด้านด้วยกัน เป็นของเล่นที่ควรให้เด็กได้เล่นเป็นประจำอย่างสม่ำเสมอและมีจำนวนมากพอที่ จะตอบสนองความต้องการในการสร้างสรรค์ของเด็กๆ และเราจะพบว่าบล็อกและตัวต่อจะเป็นของเล่นชิ้นโปรดที่เล่นได้แทบทุกวัน ของเล่นประเภทนี้จึงเป็นของเล่นที่ซื้อมาให้ลูกแล้วคุ้มค่า และลูกเล่นได้นานหลายปีทีเดียวค่ะ

สำหรับภาพตัดต่อ ก็จะช่วยพัฒนาด้านมิติสัมพันธ์ได้เช่นเดียวกัน เด็กๆ จะได้เรียนรู้ที่จะบรรจุให้พอเหมาะพอดี ด้วยการประกอบภาพจากส่วนย่อยๆ โดยสังเกตจากสี รูปร่างลักษณะ ชิ้นที่จะมาต่อต้องพอเหมาะกับช่องว่าง สำหรับจิ๊กซอว์หรือภาพตัดต่อ ต้องเลือกจำนวนชิ้นให้เหมาะกับวัยของลูก โดยอ่านจากที่ระบุไว้ข้างกล่อง

งานปั้น งานประดิษฐ์

การให้เด็กๆ ได้ทำงานปั้น เช่น ปั้นแป้งโด ปั้นดินเหนียว ดินน้ำมัน ก็ทำให้เด็กๆ เรียนรู้ที่จะสร้างสรรค์งานที่มีลักษณะเป็นสามมิติจากความคิดของเด็กๆ คล้ายกับการต่อบล็อกเช่นกัน แต่ต่างกันตรงที่งานปั้นนั้นเด็กๆ จะสร้างรูปฟอร์มต่างๆ ที่เป็นอิสระด้วยตนเอง ส่วนบล็อกนั้นเด็กๆ จะเรียนรู้รูปทรงที่ตายตัว รูปทรงเรขาคณิตต่างๆ

ลูกๆ จะเพลิดเพลินกับงานปั้นตามจินตนาการอย่างอิสระ บางครั้งเราอาจชักชวนให้ลูกปั้นจากสิ่งของที่เป็นของจริง โดยนำมาตั้งไว้เป็นแบบให้ลูกปั้น เช่น ตุ๊กตาหมี หรือของเล่นชิ้นโปรดของลูก หากลูกได้มีโอกาสปั้นบ่อยๆ เราจะพบว่าลูกจะปั้นอย่างคล่องแคล่ว ถ่ายทอดจากสิ่งที่คิด สิ่งที่เห็น ได้อย่างละเอียดละออ

นอกจากงานปั้นแล้ว เราอาจให้ลูกนำวัสดุเหลือใช้ประเภทต่างๆ เช่น แกนกระดาษทิชชู กระดุม กล่องขนาดต่างๆ กระดาษห่อของขวัญ ไหมพรม หลอด ฯลฯ มาให้ลูกได้ออกแบบ สร้างสรรค์ผลงาน นอกจากจะได้พัฒนาความคิดสร้างสรรค์แล้ว สิ่งสำคัญที่ได้อีกทางหนึ่งคือการพัฒนาในเรื่องของมิติสัมพันธ์ การจัดวาง การใช้พื้นที่

งานศิลปะที่เชื่อมโยงระหว่างสองมิติกับสามมิติ

ถ้าเราชักชวนให้เด็กๆได้วาดภาพจากสิ่งที่เขาสร้างขึ้นต่อ ไม่ว่าจะเป็นงานปั้น งานประดิษฐ์ หรือผลงานจากการสร้างบล็อก ต่อตัวต่อ ซึ่งเป็นงานสามมิติ ก็เท่ากับเป็นการฝึกให้ลูกของเราเชื่อมโยงจากสิ่งของที่เป็นสามมิติสู่ภาพ วาดที่เป็นงานสองมิติ เช่นเดียวกับการให้ลูกวาดภาพจากของจริงที่ลูกเห็น คล้ายกับการสเก็ตซ์ภาพที่ผู้ใหญ่ทำกัน อย่าใช้วิธีวาดให้ลูกดูแล้วให้ลูกวาดตามเพราะลูกจะสูญเสียความมั่นใจในการ วาดภาพ

ยิ่งลูกวาดภาพบ่อยเท่าไหร่ก็ยิ่งพัฒนาการวาดได้ดีขึ้นเท่านั้น เราจะได้เห็นความสามารถที่เพิ่มขึ้นของลูก เห็นอะไร คิดอะไรก็จะถ่ายทอดออกมาเป็นภาพวาดได้ ในผู้ใหญ่หลายๆ คนที่ขาดการฝึกฝนมาตั้งแต่เด็กจะพบว่าการวาดภาพจากของจริงก็เป็นสิ่งที่ ทำได้ยาก

ในทางกลับกันเราอาจจะให้ลูกๆ วาดภาพสิ่งที่ลูกคิดเสียก่อนจากนั้นก็ชวนมาทำงานปั้นจากสิ่งที่ลูกวาดก็ได้ ก็เป็นการเชื่อมโยงจากภาพที่เป็นสองมิติ มาสู่งานปั้นที่เป็นสามสิติได้เช่นกัน

การวาดภาพจากมุมมองที่ต่างกัน

เราควรให้เด็กๆ มีประสบการณ์จากการมองในทิศทางต่างๆ เช่น มองจากด้านบนลงมา มองจากด้านล่างย้อนขึ้นไป มองจากด้านหน้า ด้านหลัง ด้านข้าง เด็กๆ จะพบว่าสิ่งที่มองนั้นแตกต่างกันไป ลองให้ลูกวาดภาพตามสิ่งที่เห็นจากมุมมองต่างๆ ลูกจะเรียนรู้ว่าแม้เป็นของสิ่งเดียวกันแต่เมื่อมองต่างมุมมองกันก็จะเห็น ต่างกัน

ในขณะที่กิจกรรมเดียวกันหากคุณครูให้เด็กแต่ละคนวาดของสิ่งเดียวกันจากคนละ ทิศทาง เด็กจะเรียนรู้ว่า ของสิ่งเดียวกัน คนที่มองอยู่ต่างทิศกันจะเห็นต่างกัน ภาพวาดที่ออกมาก็จะต่างกันไปด้วย

การจัดวางสิ่งของในทิศทางต่างกัน


ให้ลูกสนุกกับกิจกรรมทำตามคำสั่งที่เกี่ยวกับทิศทางต่างๆ เช่นให้ลูกเอาตุ๊กตาหมีไปวางไว้ใต้เก้าอี้ตัวที่เป็นของคุณยาย ให้ลูกเอาแปรงสีฟันของลูกไปใส่ไว้ในแก้วน้ำแล้วเอาไปวางไว้ที่หน้าโต๊ะ เครื่องแป้ง ให้ลูกเอาผ้าเช็ดหน้าวางไว้บนหัวแล้วเดินไปยืนข้างหลังคุณพ่อ สำหรับเด็กที่โตหน่อยอาจฝึกในเรื่องของซ้ายขวาเพิ่มเติมเข้าไปด้วย

กิจกรรมนี้ร่วมเล่นกันได้ทั้งบ้านโดยผลัดกันเป็นคนออกคำสั่ง นอกจากลูกจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องของทิศทางแล้ว ยังฝึกการพูดที่คนอื่นจะเข้าใจและปฏิบัติตามได้ ฝึกการฟังคำสั่ง ฝึกการเป็นผู้นำผู้ตามได้อีกด้วยค่ะ

การทำแผนที่ แผนผัง รวมถึงกิจกรรม Walk Rally

กิจกรรมหนึ่งในรถที่เรามักทำกันอยู่เสมอ คือ การชี้ชวนให้ลูกดูโน่นดูนี่ ขอฝากไว้อีกเรื่องหนึ่งนะคะ คือ ฝึกให้ลูกดูป้ายสัญลักษณ์ต่างๆ ที่แสดงถึงทิศทางด้วย เช่น ป้ายตรงไป เลี้ยวซ้าย เลี้ยวขวา วนกลับ เป็นต้น แล้วนำมาเล่นเป็นเกม Walk Rally หาสมบัติ หรือของที่ซ่อนไว้ในบ้าน หรือในโรงเรียน โดยให้สังเกตจากป้ายสัญลักษณ์ที่ติดเอาไว้ ถ้าเด็กโตขึ้นมาหน่อยก็ฝึกให้จากแผนที่ลายแทงสมบัติ

เราอาจฝึกให้เด็กๆ ได้ทำแผนที่ง่ายๆ ร่วมกับผู้ใหญ่ก่อน เช่น แผนที่จากบ้านมาโรงเรียน ระหว่างทางเด็กๆ พบเห็นอะไรบ้าง อยู่ตรงไหน ก็วาดลงไปในแผนที่ คุณครูอาจนำมาทำเป็นแผนที่รอบๆ โรงเรียนโดยให้เด็กๆ ช่วยกันบอกว่าบ้านของตนเองอยู่ตรงไหน มีสถานที่สำคัญอะไรบ้าง สิ่งนี้ก็จะนำไปสู่พื้นฐานการทำแผนที่ได้ด้วยตัวเด็กเอง และสามารถอ่านแผนที่ไปพร้อมกันได้ด้วย

กิจกรรมการเคลื่อนไหวและจังหวะ

กิจกรรมนี้สอนเรื่องของมิติสัมพันธ์ได้เป็นอย่างดี โดยการใช้เพลงและให้เด็กๆ เคลื่อนไหวโดยใช้พื้นที่ให้ทั่วห้อง ใช้การเคลื่อนไปทางซ้าย-ขวา หน้า-หลัง การเคลื่อนในระดับสูงด้วยการเขย่งปลายเท้า เหยียดแขนขึ้นสูง การเคลื่อนไหวในระดับกลาง และการเคลื่อนไหวในระดับต่ำด้วยการลดตัวให้ใกล้กับพื้น โดยอาศัยการออกคำสั่งขณะให้เด็กกิจกรรม อาจให้เด็กๆ เคลื่อนไหวโดยการมีอุปกรณ์ประกอบด้วย เช่น ริบบิ้น ผ้าโปร่ง เป็นต้น เด็กๆ จะได้เรียนรู้กับการจัดตัวเองกับพื้นที่ทั้งในแนวระนาบและแนวดิ่ง การรักษาระยะห่างระหว่างตัวเองกับผุ้อื่นขณะที่เคลื่อนไหว

การเล่นเกมการศึกษา

สำหรับเด็กๆ ที่ผ่านการเล่นและทำกิจกรรมที่ได้ใช้ร่างกายและประสาทสัมผัสต่างๆ ที่พัฒนาด้านมิติสัมพันธ์มาแล้ว เราก็ให้เด็กๆ ได้เล่นเกมการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับการใช้เหตุผลที่เกี่ยวเนื่องกับการ หาความสัมพันธ์ของพื้นที่ การหาความสัมพันธ์ของสี รูปทรง สิ่งของ กับทิศทางต่างๆ
สิ่งที่ควรระลึกอยู่เสมอก็คือการนำเกมการศึกษามาให้เด็กเล่นนั้น จะต้องให้เด็กได้มีโอกาสเรียนรู้ด้วยประสบการณ์จริง เรียนรู้ผ่านการใช้ร่างกาย จากการสัมผัสจับต้องสิ่งที่เป็นของจริง ของที่เป็นสามมิติ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ที่ดี เกิดความเข้าใจ อย่างลึกซึ้งเสียก่อนที่จะกระโดดข้ามขั้นตอนไปสู่เกมการศึกษา

จะเห็นได้ว่าเราสามารถส่งเสริมให้ลูกของเรามีทัษะด้านมิติสัมพันธ์ เพื่อนำไปสู่ปัญญาด้านมิติที่มีความสำคัญต่อชีวิตในปัจจุบันและภายภาคหน้า ของลูก และอาจส่งผลถึงความสามารถ ความถนัด และทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพในอนาคตของลูกได้อีกด้วย


จาก: นิตยสาร Kids & School


ผู้ตั้งกระทู้ Admin :: วันที่ลงประกาศ 2009-07-29 23:36:05 IP : 124.120.111.25


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (2079245)
avatar
ครูออ
  สุดยอดเลยจ้า เห็นด้วยอย่างมากมาย
ผู้แสดงความคิดเห็น ครูออ วันที่ตอบ 2010-06-27 13:38:40 IP : 125.26.148.71


ความคิดเห็นที่ 2 (2106432)
avatar
alice

fake lv wallets gucci handbags designer handbags have become louis vuitton white leather model that can go chanel handbags louis vuitton fake men bag.

ผู้แสดงความคิดเห็น alice (alexander-at-hotmail-dot-com)วันที่ตอบ 2010-09-10 18:02:43 IP : 125.126.157.28



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล *
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.