ReadyPlanet.com


ชวนพ่อแม่มาปลูกต้นกล้าของการ Give & Take
avatar
Admin


give & take เรื่องใหญ่ของเด็กยุคใหม่


โดย: บุษกร


“ค า ด ห วั ง อะไรกับลูก” คือคำถามที่พ่อแม่ส่วนใหญ่มักถูกถาม



หลายคนคงเคยถามตัวเองด้วยประโยค นี้ และคำตอบร้อยทั้งร้อยก็คือ “อยากให้ลูกมีความสุข”

แต่สุขแบบไหน และที่มาของความสุขนั้นด้วยวิธีการอย่างไร ล้วนขึ้นอยู่กับการเลี้ยงดูและวิถีการใช้ชีวิตของแต่ละครอบครัว

แต่ทราบไหมคะว่าจุดเริ่มต้นของการดำเนินชีวิตที่มีความสุขจริงๆแล้ว
ก็คือ “การรู้จักเป็นผู้ให้”

แต่ด้วยเพราะสังคมปัจจุบัน หรือวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไป ทำให้เด็กที่เติบโตมาส่วนใหญ่กลับดำเนินชีวิตอยู่บนพื้นฐานของการมีตนเอง เป็นศูนย์กลางและมักจะเป็นผู้ ”รับ” แต่เพียงฝ่ายเดียว เมื่อถูกบ่มเพาะสิ่งเหล่านี้มากขึ้น มากขึ้นก็เลยเถิดเกิดปัญหาให้เห็นกันมากมายในทุกวันนี้ค่ะ

นี่คือเหตุผลสำคัญที่ใครก็ตามที่เป็นพ่อแม่ล้วนต้องหันมาใส่ใจและบ่มเพาะ ปลูกฝังเรื่องนี้แก่ลูกหลานกันเสียแต่วันนี้ เพราะมีบทพิสูจน์จากผู้ที่มี ความสุข ประสบความสำเร็จในชีวิต(แบบสมดุล) หลายต่อหลายคนที่บอกว่า การรู้จักเป็นผู้ให้ที่ดี และเป็นผู้รับที่เหมาะสม มีความหมายต่อ “ความสุข” และ “ความพอดี” ในชีวิตของคนๆหนึ่งมากมายนัก

และถ้าคำตอบของคุณผู้อ่านคือ “อยากให้ลูกมีความสุข(ทุกข์น้อยลง)” มาเริ่มต้นปลูกฝังเรื่องนี้กันเลยค่ะ

เพาะเมล็ดพันธุ์ การให้

ถ้าหากอยากให้ลูกรู้จักบทบาทแห่งการเป็นผู้ให้และผู้รับที่ดี ก็ต้องหว่านเมล็ดพันธุ์เช่นนั้นลงไปในหัวใจของลูกค่ะ

จริงอยู่ในช่วงแรกของชีวิตหนูๆ มีชีวิตที่มีความสุขได้ด้วยการเป็นผู้รับสิ่งต่างๆ ทั้งอาหาร และความรักความเอาใจใส่จากพ่อแม่ ช่วงขวบแรกของชีวิตนี้จึงเป็นเวลาทองแห่งการสร้างพื้นฐานด้านจิตใจอันมั่นคง ด้วยการเป็นผู้รับความสุขความสบายใจจากการดูแลอย่างดีของพ่อแม่ และเมื่อได้รับการเติมเต็มทุกความต้องการ กินอิ่ม นอนหลับ ได้เล่นสนุก ได้รับความรักความเอาใจใส่อย่างเต็มเปี่ยมจะช่วยให้หนูมีอารมณ์แจ่มใส มีจิตใจมั่นคง และเมื่อไม่ขาดแคลนทั้งด้านกายภาพหรือด้านจิตใจ ลูกก็จะมีหัวใจเมตตา สามารถเรียนรู้เรื่องการเป็นผู้ให้ได้ง่ายขึ้นในวันข้างหน้าค่ะ

วัยทารก....ก่อรากฐานจิตใจดีและมั่นคง

ถึงทารกตัวน้อยจะยังเรียนรู้เรื่องการเป็นผู้ให้ได้ไม่มากนัก แต่ลูกกำลังเรียนรู้ประสบการณ์ที่ดีจากการเป็นผู้รับ หนูน้อยต้องได้รับการเติมเต็มความต้องการด้านกายภาพ ได้รับการดูแลเรื่องกิน-นอนที่เหมาะสม มีคนคอยดูแลเอาใจใส่ เล่นด้วยเพื่อสร้างความรู้สึกมั่นคงปลอดภัยขึ้นในใจลูก

เมื่อลูกร้องไห้คุณพ่อคุณแม่ควรรีบหาสาเหตุ เช่น ลูกหิวนม ง่วงนอน หรือลูกกำลังเบื่ออยากให้มีคนสนใจ เมื่อพบสาเหตุแล้วก็ให้ตอบสนองความต้องการนั้นอย่างเหมาะสม แน่นอนว่าเด็กน้อยที่ได้รับการตอบสนองความต้องการอย่างทันท่วงทีจะรู้สึก อบอุ่นปลอดภัย ในทาง กลับกันเด็กที่ไม่ได้รับการเอาใจใส่ ถูกปล่อยปละละเลย จะรู้สึกอ้างว้าง ว้าเหว่ ซึ่งอาจจะพัฒนาสู่การมีปัญหาทางอารมณ์ ไม่เห็นคุณค่าของตนเอง ต่อต้านสังคม และเป็นคนเห็นแก่ตัวได้

แรงเสริม...เมล็ดแตกหน่อ
หลังจากเป็นฝ่ายได้รับมาในช่วงแรก พอลูกอายุได้ 7-8 เดือนคุณพ่อคุณแม่เริ่มสอนเรื่องการให้ได้แล้วค่ะ ซึ่งหนูน้อยเริ่มเรียนรู้เรื่องการเป็นเจ้าของ เริ่มติดพ่อแม่ จำสิ่งแวดล้อมที่คุ้นเคยและจดจำของเล่นชิ้นโปรดได้แล้ว

ลองชวนลูกเล่นเกม ‘ของหนู ของแม่’ ให้ลูกยื่นของเล่นที่อยู่ในมือให้เรา ส่งของนั้นกลับคืนเมื่อลูกแสดงท่าทางอยากได้ แล้วยื่นมือขอให้ลูกส่งของให้อีก การทำอย่างนี้คือการสื่อสารให้ลูกเข้าใจว่า ไม่ว่าของชิ้นนั้นที่ลูกกำลังเล่นอยู่จะสำคัญและทำให้ลูกมีความสุขมากเพียง ใด แต่ถ้าไม่มีของสิ่งนั้นหรือหนูยื่นของสิ่งนั้นให้กับแม่แล้ว สิ่งของนั้นก็ไม่ได้หายไปไหน และแม่ก็ยังอยู่เพื่อรักลูกและเอาใจใส่ลูกอยู่เสมอ

หัวใจดวงน้อยที่ได้รับความรักอย่างเต็มเปี่ยมจะเรียนรู้เพื่อเป็นผู้ให้ที่ ดีได้ เมื่อเติบโตขึ้นหนูจึงสามารถที่จะให้สิ่งของ หรือให้ความรักความเอาใจใส่ผู้อื่นได้ เช่นเดียวกับที่หนูเคยมีความสุขจากการได้รับมาแล้วในวัยเด็ก

นั่นแสดงว่าเมล็ดพันธุ์แห่งการเป็นผู้ให้ได้ฝังลึกลงสู่จิตใต้สำนึกของลูก แล้ว ตั้งแต่วันที่ลูกมีความสุขจากการเป็นผู้ได้รับนั่นล่ะค่ะ

วัย 1-3 ปีรดน้ำพรวนดินให้ต้นกล้า
เมื่อเพาะเมล็ดพันธุ์แห่งการเป็นผู้ให้และผู้รับไปแล้ว อย่าลืมรดน้ำพรวนดินให้ต้นกล้านั้นเติบโต ด้วยการสร้างสถานการณ์และบรรยากาศความสุขใจจากการเป็นผู้ให้และผู้รับ ในชีวิตประจำวันของลูก

คุณพ่อคุณแม่ที่มีลูกในวัย 1-3 ขวบจะต้องเข้าใจธรรมชาติของลูกในวัยนั้นก่อนค่ะ ว่าวัยนี้จะเริ่มเอาตนเองเป็นศูนย์กลางในทุกๆ เรื่องมากขึ้น เพราะลูกรู้สึกถึงการมีตัวตนอยู่ของตนเองอย่างลึกซึ้งรุนแรงมากกว่าในวัย ทารก รวมถึงรู้สึกถึงการเป็นเจ้าของสิ่งที่ตนเองครอบครอง ช่วงวัยนี้ล่ะค่ะที่เหมาะจะสอดแทรกแนวคิด และบทบาทเรื่องการเป็นผู้ให้-ผู้รับให้กับลูกได้ดีที่สุด ควรเริ่มจากการแนะลูกเป็นผู้ให้กับคนใกล้ตัวก่อน พร้อมๆ กับพยายามสร้างความรู้สึกที่ดีอย่างเป็นรูปธรรม ทั้งในสถานการณ์การเป็นผู้ได้รับ และสถานการณ์การเป็นผู้ให้ เช่น ยิ้มแย้มหัวเราะและขอบคุณเมื่อรับของจากลูก เพราะเมื่อลูกเห็นเรามีความสุข ลูกก็จะมีความสุขด้วย หนูน้อยจะสามารถเรียนรู้ได้ว่าความสุขใจและการดั้บการชื่นชมเกิดได้จากทั้ง สองบทบาทและเป็นเรื่องปกติธรรมดาของชีวิตในการเป็นทั้งผู้ให้และผู้รับ

พอใจเมื่อได้รับ
หนูน้อยชอบรับของอยู่แล้ว เพราะไม่ว่าใครจะให้อะไรถือเป็นสิ่งใหม่สำหรับหนูเสมอ ลูกจึงพอใจและตื่นเต้นเมื่อได้รับสิ่งของเล็กๆ น้อยๆ จากคุณพ่อคุณแม่ ดังนั้นเทคนิคที่จะสอดแทรกได้คือ คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรให้เฉพาะลูกอยู่คนเดียวตลอดเวลาแต่ควรให้คนอื่นด้วย เช่น ถ้าซื้อขนมมาฝากลูก ถ้ามีเด็กคนอื่นๆ อยู่ด้วยก็แบ่งขนมให้เพื่อนๆ ของลูกด้วย เป็นต้น พยายามสร้างบรรยากาศที่ดีของการให้เพื่อให้ลูกรู้สึกว่าเป็นเรื่องธรรมดาที่ จะมีการแบ่งปัน และเป็นเรื่องสนุกสนานที่จะกินขนมด้วยกัน เล่นของเล่นด้วยกัน ในขณะเดียวกันกับที่หนูก็ได้รับในส่วนที่เป็นของหนูอย่างพอใจไปแล้วด้วย

เป็นแบบอย่างที่ดีของการให้
เรารู้กันดีว่าลูกชอบเลียนแบบคุณพ่อคุณแม่ โดยเฉพาะในวัยนี้คุณพ่อคุณแม่ถือเป็นฮีโร่ที่ลูกอยากเลียนแบบมากที่สุด เราจึงควรถือโอกาสนี้แสดงบทบาทการเป็นผู้ให้เพื่อเป็นตัวอย่างให้ลูกทำตาม เช่น พาลูกไปมอบของขวัญให้กับญาติผู้ใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นของขวัญวันเกิดคุณตาคุณยายหรือให้ของขวัญปีใหม่กับญาติๆ ที่ลูกคุ้นเคย เป็นต้น และถ้าเป็นไปได้อาจจะให้ลูกรับหน้าที่เป็นคนมอบของขวัญ เพราะญาติๆ มักจะเอ็นดูเด็กๆ อยู่แล้ว การที่เด็กเข้าไปให้ของท่านย่อมชื่นชมลูก ได้รับการโอบกอด หอมแก้ม ลูบหัว ซึ่งจะช่วยให้หนูน้อยภาคภูมิใจและเห็นคุณค่าในสิ่งที่ตนเองได้ให้ไป

สร้างประสบการณ์ดีๆ จากคนใกล้ตัว

เริ่มจากการให้สิ่งของเล็กๆ น้อยๆ ที่ลูกมี แบ่งปันให้กับคนใกล้ตัว ซึ่งจะทำให้หนูเข้าใจเรื่องได้ง่ายกว่า ถ้าได้ให้อะไรกับคนที่ตนเองรัก เช่น ถ้าลูกมีขนมแบ่งให้คุณพ่อคุณแม่กินได้ไหม หรือมีของเล่นแบ่งให้คุณพ่อคุณแม่เล่นด้วยนะคะ เป็นต้น เมื่อลูกให้แล้วก็ควรแสดงให้ลูกเห็นอย่างชัดเจนถึงความรู้สึกดีๆ ของการเป็นผู้ให้และผู้รับ หากลูกแบ่งขนมให้กินคุณแม่ควรแสดงออกให้ลูกเห็นว่าเราดีใจ ด้วยการยิ้มแย้ม ขอบคุณ และเวลากินก็แสดงท่าทางว่าขนมนั้นอร่อยจริงๆ ลูกจะรู้สึกดีที่ได้เห็นคุณพ่อคุณแม่มีความสุข ซึ่งนั่นจะทำให้จิตใจของลูกเกิดการรับรู้ว่า การทำให้คนอื่นมีความสุขด้วยการให้นั้นมีอยู่จริง เพราะเด็กวัยนี้จะเรียนรู้ได้ง่ายที่สุดจากการให้กับคนใกล้ตัว และเรียนรู้ได้ดีกว่าจากสิ่งที่เห็นเป็นรูปธรรมด้วย หลังจากนั้นจึงเริ่มเผื่อแผ่การให้สู่คนอื่นๆ ที่อยู่รอบข้างลูก เช่น พาลูกเอาขนมไปฝากคุณป้าข้างบ้าน หรือเวลาไปไหนก็ซื้อขนมมาฝากเพื่อนบ้าน



ผู้ตั้งกระทู้ Admin :: วันที่ลงประกาศ 2009-06-30 17:43:16 IP : 124.120.92.82


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (1957074)
avatar
Admin
ทำได้แบบนี้ต้นกล้าของการ Give & Take ก็ได้รับการรดน้ำพรวนดินและจะเติบโตหยั่งรากมั่นคงในใจหนูๆ แล้ว

3-6 ปี เวลาการเติมปุ๋ยและดูแล
เมื่อได้รับการบ่มเพาะเรื่องการเป็นของ ผู้ให้และผู้รับมาเป็นอย่างดี ช่วงวัยอนุบาลนี้ก็ถึงเวลาที่คุณพ่อคุณแม่น่าจะได้ชื่นชมดอกผลจากต้นไม้แห่ง การแบ่งปันในหัวใจของลูกแล้วล่ะค่ะ

คุณพ่อคุณแม่อาจจะได้เห็นหนูน้อยผู้มีน้ำใจ อุปนิสัยน่ารัก ชอบช่วยเหลือคนอื่น มีอะไรก็พร้อมจะแบ่งปันให้ผู้อื่นได้อย่างไม่ยากเย็น หรือลำบากใจเลย อย่างไรก็ตามในวัยนี้ถึงเวลาที่ต้องเติมปุ๋ยให้กับต้นไม้ Give & Take ในหัวใจของลูก ด้วยการให้ลูกได้เรียนรู้จากการปฏิบัติจริงมากขึ้น กิจกรรมที่ตอกย้ำให้ลูกรู้จักบทบาทนี้ได้ดีขึ้นผ่านการลงมือทำ โดยมีคุณพ่อคุณแม่เป็นแบบอย่างที่ดี และร่วมทำกิจกรรมการให้รูปแบบต่างๆ ไปด้วยกันกับลูก ซึ่งกิจกรรมต่างๆ เหล่านั้นมีทั้งที่เกิดขึ้นเองโดยอัตโนมัติและที่คุณพ่อคุณแม่สร้างสรรค์ บรรยากาศขึ้นมา ได้เรียนรู้พร้อมกับความสุขสนุกสนาน เรียกว่ายิงปืนนัดเดียวได้นกหลายตัวเลยล่ะค่ะ

ยื่นเงื่อนไขให้เลือก
เด็กวัยอนุบาลมีความเป็นตัวของตัวเองมากนะคะ ฉะนั้นก่อนที่จะชักชวนลูกให้สิ่งของอะไรกับใคร อย่าลืมถามก่อนด้วยว่าหนูอยากจะให้อะไรหรือไม่ เป็นธรรมดาถ้าลูกจะปฏิเสธเพราะรู้สึกหวง ไม่ว่าคำตอบของลูกจะคืออะไร ควรเปิดโอกาสให้ลูกได้ตัดสินใจ และแลกเปลี่ยนฟังความคิดเห็นของลูก พร้อมกับอธิบายให้ลูกเข้าใจถึงเหตุผลของการให้ที่ชัดเจน เข้าใจง่ายจะช่วยให้ลูกตัดสินใจและคลายความหวงของลงได้บ้าง ไม่ควรหักหาญน้ำใจขอให้ลูกให้ในสิ่งที่ลูกรักมากๆ ทางที่ดีควรเริ่มจากสิ่งที่ลูกไม่ได้ใช้แล้วหรือของที่ลูกไม่สนใจมากนัก และควรเป็นการให้ด้วยความสมัครใจเพื่อประสบการณ์ที่ดีต่อการให้ค่ะ

ขอบคุณจากใจจริง
สอนให้ลูกเรียนรู้การเป็นผู้รับที่ดีว่า เวลาที่คนให้สิ่งของกับเรา เรารู้สึกดีใจ เราต้องขอบคุณด้วยความรู้สึกนั้นจริงๆ จะทำให้ลูกเชื่อมโยงต่อไปได้ว่า เมื่อเขาให้อะไรกับคนอื่น และคนอื่นกล่าวคำขอบคุณ แสดงว่าคนๆ นั้นแสดงความรู้สึกจริงใจตอบกลับมาเช่นกัน ลูกจะเรียนรู้ถึงคุณค่าของการให้ว่ามีคุณค่าต่อจิตใจของผู้อื่นและตนเอง โดยผ่านคำกล่าวขอบคุณนี่เองค่ะ

สร้างแรงจูงใจด้วยคำชื่นชม
คุณพ่อคุณแม่อย่าลืมชื่นชมในการแสดงบทบาทต่างๆ ของการเป็นผู้ให้และผู้รับได้อย่างเหมาะสมของลูกนะคะ เช่น กล่าวชม
ว่าลูกน่ารักแค่ไหนหลังจากที่ลูกให้ขนมกับเพื่อน การชื่นชมในความมีน้ำใจของลูก เป็นแรงจูงใจทางด้านบวก แม้อาจจะฟังดูเหมือนเรื่องทำความดีแบบหวังผลตอบแทนไปสักหน่อย แต่แรงจูงใจทางด้านบวกยังเป็นสิ่งจำเป็นที่จะผลักดันให้หนูน้อยใน
การกระทำ สิ่งต่างๆ อยู่ หากเริ่มด้วยการใช้แรงจูงใจด้านบวกก่อน แล้วจึงค่อยๆ สอดแทรกเรื่องการให้แบบไม่หวังผลตอบแทนในโอกาสต่อไปได้ค่ะ

หากเด็กมีพื้นฐานจิตใจแห่งการเป็นผู้ให้ ในที่สุดลูกจะเรียนรู้ว่าการให้มีคุณค่าทางจิตใจกับทุกคนและจะตระหนักในที่ สุดว่า พลังของการเอื้ออาทรและความมีน้ำใจต่อเพื่อนมนุษย์คือสิ่งที่จรรโลงโลกให้ สงบสุขค่ะ

กิจกรรมสนุก เรียนรู้การแบ่งปัน

การแบ่งปันสามารถเกิดขึ้นได้ในทุกๆ จังหวะชีวิตของลูก คุณพ่อคุณแม่สามารถสอดแทรกเรื่องการ Give & Take เข้าไปในชีวิตประจำวันได้อย่างไม่มีวันหมดมุขเลยค่ะ

+ ทำการ์ดวันเกิดให้กับคนในครอบครัว คุณพ่อคุณแม่อาจเริ่มจากลงมือทำการ์ดวันเกิดให้กับลูก ส่วนในวันเกิดของคนอื่นๆ ก็

   ชวนลูกมาช่วยกันการ์ดเป็นของขวัญด้วยกัน

+ ให้อาหารสัตว์เลี้ยง บ้านมีสัตว์เลี้ยงก็ให้มอบหน้าที่การให้อาหารกับลูก พร้อมคุยกับลูกให้เข้าใจว่าการให้อาหารสัตว์ทำให้

   สัตว์มีความสุขอย่างไร และสัตว์นั้นก็จะเติบโตเป็นเพื่อนของหนูต่อไปอย่างไร

+ บริจาคสิ่งของช่วยเหลือผู้ประสบภัยหรือคนตกทุกข์ได้ยาก เมื่อเห็นข่าวภัยพิบัติทางสื่อต่างๆ ลองคุยกับลูกว่าเรามีอะไรพอ

 

ที่จะให้เพื่อช่วยเหลือเขาได้บ้าง แล้วชวนลูกมาช่วยจัดสิ่งของเพื่อนำไปบริจาคกัน

ดอกผลจากต้นไม้แห่งการแบ่งปัน

+ ลูกอีคิวดีได้ด้วยการให้และรับ การคิดเชื่อมโยงเรื่องการเป็นผู้ให้และ

   ผู้รับจากสิ่งของที่เป็นรูปธรรม  สู่สิ่งที่เป็นนามธรรมคือความรู้สึกที่ดี

   ต่างๆ   และคุณค่าที่เกิดขึ้นในจิตใจ  จะช่วยให้ลูกมีความฉลาดทาง

   อารมณ์ และมีความยืดหยุ่นทางอารมณ์ที่ดีกว่าเด็กที่ไม่รู้จักอารมณ์

   ในด้านบวกต่างๆ อันเกิดจากการให้

+ บทเรียนเรื่อง Give & Take คือแบบจำลองของโลกแห่ง

   ความเป็นจริง  เพราะในที่สุดลูกต้องเผชิญกับความจริงที่ว่า ไม่มี

   ใครเป็นผู้รับได้ตลอดเวลา    เมื่อถึงเวลาให้จึงต้องให้ด้วยความเต็ม

   ใจและสบายใจ ซึ่งจะช่วยให้ลูกไม่ต้องเจ็บปวดกับการสูญเสีย หาก

   มีความสุขที่ได้เป็นผู้ให้มากกว่า

+ เติบโตเป็นคนที่มีความสุข ความไม่เห็นแก่ตัวช่วยลดปัญหาทางอารมณ์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นความอิจฉาริษยา หรือความเจ้าคิด

   เจ้าแค้นต่างๆ ลูกจะสามารถมีความสุขได้ด้วยการแบ่งปัน ซึ่งเป็นเรื่องธรรมดาสำหรับมนุษย์ทุกคนที่อาศัยอยู่ในสังคม

+ บุคลิกภาพดี เข้าสังคมเก่ง การเรียนรู้เรื่อง Give & Take ทำให้ลูกเป็นคนที่มีความใส่ใจในความรู้สึกของผู้อื่น ซึ่งจะช่วยให้

   ลูกมีบุคลิกภาพที่ดี อยู่ในสังคมได้อย่างไม่มีปัญหากระทบกระทั่งกับใคร สามารถปรับตัวเข้ากับผู้อื่นได้ดีด้วยความอ่อนโยน

   มีน้ำใจที่ลูกมี

ระวัง! หลุมพราง 2 กับดัก
การสอนลูกให้รู้จักแบ่งปันเป็นเรื่องที่ดี แต่มีหลุมพรางที่คุณพ่อคุณแม่หลายคนอาจมองข้ามไป ซึ่งจะกลายเป็นกับดักทำให้การปลูกฝังลูกเรื่องการแบ่งปันสะดุดหรืออาจหลงทาง ได้

นพ.ดุสิต ลิขนะพิชิตกุล ผอ.สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่น กล่าวถึงเรื่องนี้ได้อย่างน่าสนใจว่า มี 2 ประเด็นที่คุณพ่อคุณแม่มักจะติดกับเสมอ ทำให้ไม่สามารถปลูกฝังลูกเรื่องการแบ่งปันจนลูกได้รับคุณค่าสูงสุดจากเรื่อง นี้อย่างแท้จริง

ประเด็นแรกคือคุณพ่อคุณแม่เองอาจเป็นต้นเหตุให้ลูกไม่รู้จักแบ่งปันในบาง เรื่องที่สำคัญต่อจิตใจของคุณพ่อคุณแม่ เช่น เรื่องเรียน เรื่องเงินทอง เรื่องการแบ่งพรรคแบ่งพวก ฯลฯส่งผลให้ลูกให้ความสำคัญกับเรื่องบางเรื่องมากจนกลายเป็นคนเห็นแก่ตัว

ใน เรื่องนั้นๆ ได้

“คุณพ่อคุณแม่สอนให้ลูกรู้จักแบ่งปันในเกือบทุกๆ เรื่อง แต่พอถึงเรื่องการเรียนกลับบอกลูกว่าลูกต้องเก่งที่สุดหรือเก่งกว่าคนอื่น ให้ได้ ซึ่งการสอนลูกให้ยึดติดกับบางเรื่องมากๆ ลูกอาจคิดว่าต้องเก่งที่สุดเก่งกว่าคนอื่นให้ได้โดยใช้ทุกวิถีทาง เพราะฉะนั้นไม่ควรสอนการบ้านคนอื่น เดี๋ยวคนอื่นจะเก่งกว่า มีอะไรดีๆ เรื่องเรียนแบ่งใครไม่ได้ เป็นต้น”

อีกประเด็นหนึ่งคือการสอนให้ลูกเป็นผู้ให้แบบมีเงื่อนไขมากเกินไป เช่น ให้ขนมน้อง น้องจะได้รัก หรือถ้าไม่ให้คุณพ่อคุณแม่จะไม่รักนะ หรืออื่นๆ อีกมากมายที่ทุกครั้งคุณพ่อคุณแม่ต้องยื่นเงื่อนไขเพื่อให้ลูกแบ่งปันสิ่ง ของ

“ไม่ควรใช้คำพูดแบบมีเงื่อนไขกับลูกบ่อยๆ ใช้สอนลูกจนลูกเคยตัว โดยเฉพาะในเรื่องการให้ เพราะถ้าสอนให้ลูกเป็นผู้ให้แบบมีเงื่อนไขจนติดเป็นนิสัยให้แบบหวังผล ลูกจะไม่ได้รับประโยชน์จากผลของการให้ที่มีคุณค่าต่อจิตใจอย่างแท้จริง เพราะมัวแต่หวังผลตอบแทนเป็นวัตถุหรือสิ่งที่จะได้ตอบกลับมาจากคนอื่น การให้เป็นเรื่องที่มีค่าแต่ถ้าจะให้ดีที่สุดต้องให้ลูกเรียนรู้เรื่องการ ให้แบบไม่หวังผลตอบแทน ซึ่งเป็นสุดยอดปรัชญาในเรื่องการแบ่งปันแล้วล่ะครับ”

ถ้า...ต้นไม้ Give & Take แคระแเกร็น เหี่ยวเฉา
เด็กที่ไม่ได้รับการปลูกฝังเรื่องการแบ่งปัน หนูน้อยอาจเติบโตขึ้นเป็นคนที่เห็นแก่ตัว ซึ่งลักษณะนิสัยไม่พึงประสงค์นี้จะทำให้ลูกมีปัญหาเรื่องการเข้าสังคม เพราะไม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับบทบาทของการเป็นผู้ให้และผู้รับที่ลูกต้อง สลับบทบาทกับผู้อื่นอยู่เสมอได้

นอกจากนี้เด็กที่ไม่ได้เรียนรู้เรื่องการแบ่งปันจะมีความยืดหยุ่นทางอารมณ์ น้อยกว่า เมื่อต้องพบกับสถานการณ์การสูญเสีย หรือเมื่อจำเป็นต้องเสียสละสิ่งของบางอย่างของตนเองกับผู้อื่น

 

 

 

จาก: นิตยสาร Modern Mom
ผู้แสดงความคิดเห็น Admin วันที่ตอบ 2009-06-30 17:44:45 IP : 124.120.92.82


ความคิดเห็นที่ 2 (2106794)
avatar
daytona

hair extension supplies hair wigs European types Indian and wigs different lengths such as lace wig application 100 human hair wigs.

ผู้แสดงความคิดเห็น daytona (edition-at-google-dot-com)วันที่ตอบ 2010-09-10 18:58:01 IP : 125.126.157.28



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล *
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.