ReadyPlanet.com


พูดกับลูกอย่างไร ให้ลูกเชื่อฟังง่ายๆ
avatar
ครูจอย


       "ไม่ว่าเมื่อไหร่ลูกก็ใหญ่ที่สุดในบ้าน   ยิ่งเราเปิดโอกาสให้ลูกเลือกมาเเค่ไหนยิ่งดื้อ  ยิ่งไม่ฟัง"   มีบ้านไหนเกิดปัญหาตรงนี้บ้านคะ   จริง ๆ แล้วการที่เราจะเปิดโอกาสให้ลูกมีความคิดเป็นของตนเอง   คุณพ่อคุณแม่และที่บ้านต้องเปิดใจด้วยคะ   เราต้องยอมรับที่ใจ  ปัญหาที่เกิดส่วนมากเกิดจากรูปแบบการเลี้ยงดูของคนเอเชียที่ลูกต้องเชื่อฟัง  ต้องทำตาม  ใจครึ่งนึงอยากให้ลูกกล้าแสดงออก  แต่อีกครั้งนึงก็รับไม่ได้ที่ลูกแสดงออกมากเกินไป   เราจึงต้องมาคุยกันที่ขอบเขตของความกล้าแสดงออกกัน   คุณพ่อคุณแม่เปิดโอกาสให้ลูกคิด และตัดสินใจได้  แต่ต้องมีลิมิตที่ว่าลูกก็ต้องรับฟังและยอมรับความคิดของคุณพ่อคุณแม่เช่นกัน  และที่สำคัญคนที่จะตัดสินใจว่าควรจะทำอะไรท้ายที่สุดหลังจากปรับให้มีการยืดหยุ่นแล้วควรเป็นคุณพ่อคุณแม่หรือผู้ใหญ่ที่ดูแลคะ  (มาตราการนี้ใช้ได้ผลในกรณีของเด็กเล็กถึงประถมปลายเท่านั้นนะคะ   โตกว่านี้ก็ต้องพิจารณาไปตามแต่ละบุคคล)

       ทำไมคุณครูถึงระบุช่วงวัยแค่เด็กเล็กถึงประถม  เพราะเด็กกลุ่มนี้เริ่มมีความคิดเป็นของตนเองคะ  แต่ยังเลือกถูก- ผิด  ควร-ไม่ควร  ไม่เป็นคะ   สิ่งที่เลือกเกิดจากความต้องการล้วน ๆ  ไม่ว่าจะผิด ถูก หรือควร ไม่ควร   ถ้าหนูต้องการนั้นคือสิ่งที่ใช่     ดังนั้นเราจึงควรเปิดโอกาสให้ลูกได้บอกและแสดงความต้องการ  เพื่อสอนให้รู้จักเลือกในสิ่งที่สมควร      

...ปัญหาที่ตามมา คือ คุณพ่อ คุณแม่ … คุณเคยรู้สึกบ้างไหมว่าการพูดคุย “สื่อ” กับลูกเป็นเรื่อง “ไม่ง่าย” คุณพ่ออยากจะบอก อยากจะสั่งสอนเขา แต่มันดูราวกับคุณต้องพูดข้ามผนังห้องหรือผ่านกำแพงกั้น ลองทบทวนวิธีการที่คุณใช้อยู่ กับวิธีการเหล่านี้

 

ประตูใจ ใช้กุญแจดอกไหนเปิดดีสิ ...



วิธีการที่ผู้เชี่ยวชาญเรื่องการสื่อสาร
ให้ความเห็นว่าเป็นวิธีการที่ใช้เป็น ”กุญแจ” ที่จะช่วยทำให้เด็ก “เปิดใจ” และยอมเล่าความรู้สึกนึกคิดที่เขาเก็บอยู่ ภายในกับผู้ใหญ่ได้ คุณพ่อคุณแม่อาจลองฝึกเรียนรู้ที่จะใช้คำพูดบางคำ หรือบางประโยคให้เหมาะ ที่จะใช้สื่อกับลูกของคุณเองซึ่งจะช่วยให้ลูกแบ่งปันความรู้สึกของเขาให้คุณรับรู้ได้ ลองประยุกต์ใช้วิธีการเหล่านี้ เพื่อสร้างความใกล้ชิดและเสริมบรรยากาศแห่งความไว้เนื้อเชื่อใจต่อกันเพราะนั่นเป็น”กุญแจดอกสำคัญ” ของการสื่อสารในครอบครัว

กุญแจดอกที่หนึ่ง :B เรียนรู้ที่จะเป็นผู้ฟังที่ดี
ใช้เวลาในการฟังโดยไม่ขัดจังหวะหรือขัดคอลูก รอฟังให้เขาพูดจบเสียก่อนจึง ค่อยตอบสนอง

กุญแจดอกที่สอง :B แสดงออกให้ลูกรู้ว่าคุณกำลังฟังเขา
มองหน้า สบตากับลูกเวลาที่ลูกพูด นั่งให้อยู่ระดับเดียวกับเขาโดยอาจนั่งข้าง ๆ

กุญแจดอกที่สาม : หาจังหวะดี ๆB เวลาคุย
เลือกเวลาที่จะคุยกับลูก ในขณะที่เขาผ่อนคลายและให้เวลากับคุณได้เต็มที่ และเป็นเวลาที่คุณเองก็สามารถคุยกับเขาได้โดยไม่มีอะไรคอยมาดึงความสนใจของคุณอยู่ด้วยเช่นกัน

กุญแจดอกที่สี่ : ใส่ใจกับสีหน้า ท่าทางที่ลูกแสดงออก
เรียนรู้ว่าลูกกำลังรู้สึกอย่างไรจากภาษากาย ท่าทางที่เขาแสดงออก สังเกตว่าลูกยิ้มหรือหน้านิ่ว ดูผ่อนคลายหรือตึงเครียด

กุญแจดอกที่ห้า :B เข้าใจให้กระจ่างชัด
พยายามทำความเข้าใจคำพูดของลูก คุณอาจทวนถามซ้ำเพื่อเพิ่มความเข้าใจหรือเพื่อช่วยยืนยันว่าคุณเข้าใจคำพูดของเขาได้ถูกต้องแล้ว

กุญแจดอกที่หก : เลี่ยงการเทศนา
อย่าด่วนแสดงความเห็นหรือถามคำถามที่เป็นการตัดสินพฤติกรรมของลูก แต่ช่วยให้เขาได้คิดหาคำตอบหรือหาทางออกด้วยตัวเขาเองจะเหมาะกว่า

คำพูดช่วยเปิดใจ

แทนที่คุณจะพูดหรือถามลอย ๆ ว่า “เป็นไงล่ะวันนี้” คุณพ่อคุณแม่อาจถามพุ่งประเด็นไปให้ชัดเจนในเรื่องสำคัญที่เกิดกับลูก เช่น “ลูกรู้สึกอย่างไรบ้างกับการสอบเลขวันนี้” (หรือ เหตุการณ์สำคัญใด ๆ ที่เกิดกับเขาวันนี้)

แทนที่จะถามว่า “มีอะไรหรือเปล่า” คุณอาจถามให้เจาะจงมากขึ้นและสื่อให้เขารู้ได้ว่าคุณสนใจเขาอย่างแท้จริง เช่น “วันนี้ลูกดูร่าเริงเป็นพิเศษ (หรือโกรธ หงุดหงิด ฯลฯ) เหมือนมีอะไรบางอย่าง ?”

แทนที่จะบอกว่า “ถ้าแม่ (หรือพ่อ) เป็นลูกนะ …” ใช่…คุณอาจจะอยากแบ่งปันประสบ-การณ์หรือเสนอแนะกับเขา แต่คุณก็อาจหาคำพูดที่มันดูเป็นการเลคเชอร์น้อยกว่านี้สักหน่อย เช่น “แม่ (หรือพ่อ) เข้าใจดีว่าลูกลำบากใจที่ …” แล้วรอจนลูกถามถึงข้อเสนอแนะหรือความคิดเห็นของคุณ

แทนที่จะบอกว่า “แม่คิดว่าลูกควรจะ …” คุณก็ลองปล่อยให้เขาได้แสดงความคิดเห็นของตนเอง เช่น “ลูกคิดอย่างไรบ้างกับเรื่อง …” เด็กหลายคนพอใจที่จะได้แสดงความคิดเห็นและรับรู้ว่าผู้ใหญ่ก็รับฟังความคิดเห็นของเขา

แทนที่จะบอกว่า “เมื่อพ่อ (หรือแม่) อายุเท่าแกนะ …” คุณก็อาจช่วยให้ลูกหันมองสถานการณ์ที่เขาเกี่ยวข้องอยู่ตอนนี้ เช่น “แล้วลูกคิดว่าลูกจะจัดการเรื่องนี้อย่างไรต่อไปบ้าง” หรือคำถามอื่น ๆ ที่เหมาะสม ซึ่งช่วยให้เขาได้หัดคิดวิเคราะห์ประเด็นที่เป็นปัญหาเพื่อหาทางออก

แม้ว่าการคุยกับลูก โดยเฉพาะเมื่อลูกเข้าวัยรุ่นไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ถ้าคุณหัดใช้กุญแจและคำพูดเปิดใจที่เหมาะสมในครอบครัวของคุณบ่อย ๆ การคุยกับลูกก็ไม่ใช่เรื่องยากนัก และอย่าลืมว่าท่าทีที่รับฟัง พร้อมจะตอบสนองด้วยความปรารถนาดี ไม่ว่าใครที่มีเรื่องไม่ว่าจะดีหรือร้ายก็อยากเปิดประตูออกไปหาด้วยกันทั้งนั้นไม่ใช่หรื

 

โดย : สุวัฒนา ศรีพื้นผล : สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์



ผู้ตั้งกระทู้ ครูจอย (wst_school-at-hotmail-dot-com) :: วันที่ลงประกาศ 2009-10-28 17:52:31 IP : 124.120.96.103


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (2106539)
avatar
abagail

louis vuitton men fake louis vuitton handbags If you havent made statement louis vuitton retail price benefiting UNICEFs louis vuitton travel bags handbag lv.

ผู้แสดงความคิดเห็น abagail (josie-at-gmail-dot-com)วันที่ตอบ 2010-09-10 18:18:26 IP : 125.126.157.28



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล *
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.