ReadyPlanet.com


ผลสำรวจ “พฤติรรมการลอกเลียนแบบและอบรมเลี้ยงดู”
avatar
ครูจอย


จากทฤษฎีกระจกเงาที่ทางรักลูกเปิดตัวใหม่  "ดีได้ให้ลูกดี  ดูได้ให้ลูกดี"     ส่วนตัวคุณครูสนใจในพฤติกรรมส่วนนี้ แล้วเห็นด้วยกับพฤติกรรมเลียนแบบของเด็ก  ซึ่งในวัยอนุบาลด้วยแล้ว  จัดว่าการเลียนแบบเป็นการเรียนรู้ที่สำคัญของเด็กวัยนี้ และเกิดขึ้นง่ายมาก แล้วตัวอย่างที่ใกล้ตัวที่สุดก็คงไม่ไกลตัวเค้า  ก็คือ คุณพ่อ คุณแม่ คุณครู และเพื่อนๆ  มาดูผลสำรวจเบื้องต้นอันหน่อยดีกว่า

พ่อแม่ ”ก้าวนำ” ลูกๆ “ก้าวตาม” : ทักษะพ่อแม่ยุคใหม่

ปัจจุบันสภาพสังคมไทยเกิดการเปลี่ยนแปลงไปตามอิทธิพลของสภาพแวดล้อมโดยเฉพาะจากวัฒนธรรมภายนอกที่หลั่งไหลเข้ามาสู่สังคมซึ่งมีผลกระทบต่อความคิด และพฤติกรรมของผู้คนในสังคมนั้นๆ ทำให้เกิดการเปลี่ยนอย่างรวดเร็วในระยะเวลาอันสั้น สภาพแวดล้อมที่เป็นตัวแปรทำให้เกิดผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้มีมากมายทั้งใกล้ตัวและไกลตัวทำให้สังคมที่เจริญเติบโตอย่างรวดเร็วนั้น เป็นไปตามสภาพแวดล้อม การเปลี่ยนแปลงทางความคิดและพฤติกรรมนั้นเกิดขึ้นง่ายกับกลุ่มเด็กและเยาวชนซึ่งจะเติบโตขึ้นมาเป็นอนาคตของชาติ กลุ่มเยาวชนจึงเป็นกลุ่มที่น่าจับตามองอย่างยิ่งเพราะกลุ่มคนเหล่านี้มักจะแสดงความคิดและพฤติกรรมตามรูปแบบที่พวกเขาได้รับ


จากการสำรวจความคิดเห็นจากพ่อแม่ในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑลในเรื่อง “พฤติกรรมการลอกเลียนแบบและอบรมเลี้ยงดู” ของศูนย์วิจัยรักลูกกรุ๊ป พบว่า พ่อแม่ยุคใหม่ยังคงเชื่อว่าสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปไม่สามารถที่จะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมลูกได้ ยังไงลูกของเราก็ต้องเหมือนกับตัวเรา เหมือนสุภาษิตที่ว่า ลูกไม้ย่อมหล่นไม่ไกลต้น (93.5%) โดยให้เหตุผลว่า พฤติกรรมของเด็กเกิดจากการเรียนรู้จากสิ่งที่พบเห็นในชีวิตประจำวันจากต้นแบบ คือ การกระทำของพ่อแม่ (74.6%) และการอบรมสั่งสอนโดยตรงของพ่อแม่ (56.5%) ซึ่งในความเป็นจริงพบว่า ทักษะของการเลี้ยงลูกของพ่อแม่ คือ ใช้การอบรมสั่งสอนโดยใช้การพูดคุยกับลูกเป็นหลัก การปฏิบัติตัวให้ดูเป็นแบบอย่าง (40.1%) กลับเป็นอันดับรองลงมาซึ่งอาจเกิดจากสภาพของครอบครัวไทยที่ปัจจุบันเป็นครอบครัวเดี่ยวมากขึ้น มีวิถีชีวิตที่ต้องทำมาหากินเป็นหลัก ได้ส่งผลกระทบต่อทั้งปริมาณและคุณภาพของเวลาที่ใช้ร่วมกันในครอบครัว ส่งผลให้พ่อแม่จำนวนมากขาดในเรื่องของการเป็นต้นแบบที่ดีให้กับลูกดู ซึ่งสอดคล้องกับความคิดเห็นของพ่อแม่ที่ว่า สิ่งที่แบบอย่างที่ดีหรือสิ่งเร้าที่จะทำให้ลูกมีพฤติกรรมที่ดีหรือไม่ดีนั้น ส่วนใหญ่จะมาจากพ่อแม่นั้นเอง (66.2%) เป็นหลัก


คุณลักษณะที่พ่อแม่อยากจะให้ลูกซึมซับจากพฤติกรรมของพ่อแม่มากที่สุด ส่วนใหญ่จะเป็นในเรื่องของคุณธรรมและจริยธรรม คือ ความซื่อสัตย์ มีความรับผิดชอบ (14.1%) และมีกิริยามารยาทที่ดี (12.9%) พูดจาไพเราะอ่อนหวาน (11.4%) ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นสิ่งที่สังคมในปัจจุบันขาดหายไป อันเนื่องมาจากสภาพปัญหาสังคมที่กล่าวไว้ข้างต้น ทำให้พ่อแม่ไม่สามารถที่จะมีเวลาได้เป็นแบบอย่าง เพราะเวลาส่วนใหญ่จะใช้ไปกับการทำงานประกอบอาชีพ ทำให้มีแต่การพูดคุยหรือตักเตือนเฉพาะเวลาที่ทำผิดเท่านั้น

จากผลของการสำรวจทำให้เห็นว่า พ่อแม่คือ ส่วนสำคัญในการปลูกฝังพฤติกรรมของลูก โดยการที่ต้องทำตัวเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับลูกดู เหมือนคำกล่าวที่ว่า พ่อแม่เป็นอย่างไร ลูกก็เป็นอย่างนั้น ยิ่งในเรื่องคุณธรรมและจริยธรรมที่พ่อแม่ต้องการให้ลูกเป็นนั้น การอบรมสั่งสอนโดยปราศจากต้นแบบที่ดีที่เป็นรูปธรรมให้เด็กได้เข้าใจและซึมซับได้ยิ่งเป็นเรื่องสำคัญ การเรียนรู้ที่แท้จริงของเด็กนั้น เด็กจะเริ่มต้นเรียนรู้จากการมองเห็น การกระทำโดยมีเซลล์สมองที่เรียกว่า “เซลล์กระจกเงา” เป็นตัวบันทึกและจดจำภาพเหตุการณ์ ที่ส่งผลต่อการเรียนรู้และสร้างเสริมพัฒนาการของเด็ก ซึ่งนำไปสู่พฤติกรรมการเลียนแบบ ทฤษฏีดังกล่าวยังส่งผลถึงการปลูกฝังนิสัยให้ลูกเป็นไปอย่างที่พ่อแม่ต้องการได้อย่างรวดเร็ว

ขอบคุณผลสำรวจจาก :  รักลูกรีเสริท์



ผู้ตั้งกระทู้ ครูจอย :: วันที่ลงประกาศ 2008-01-29 13:21:43 IP : 124.120.101.228


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (906426)
avatar
ครูจอย

ย้อนมาดูบทความน่ารักที่เราคาดไม่ถึงกันดีกว่า

บทความนี้มีชื่อว่า แม่จะรู้ไหมน้า...หนูดูอยู่

http://www.wattanasatitschool.com/index.php?lay=boardshow&ac=webboard_show&Category=wattanasatitschoolcom&thispage=1&No=273077

ผู้แสดงความคิดเห็น ครูจอย วันที่ตอบ 2008-01-29 14:42:32 IP : 124.120.101.228


ความคิดเห็นที่ 2 (2106563)
avatar
axial

bio ionic brushes half wigs special occasion without having to wigs popular because they are more hair extensions human hair fall.

ผู้แสดงความคิดเห็น axial (museum-at-msn-dot-com)วันที่ตอบ 2010-09-10 18:21:52 IP : 125.126.157.28



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล *
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.