ReadyPlanet.com


กิจกรรมแบบ Child-centered
avatar
admin


กิจกรรมแบบ Child-centered

โดย: ดร.พัฒนา ชัชพงศ์

 

 

การทำกิจกรรมแบบเอาเด็กเป็นศูนย์กลางช่วยหนูเรียนรู้ได้ดีขึ้น

 

 

การจัดกิจกรรมเพื่อตอบสนองต่อการเรียนรู้แบบเด็กเป็นศูนย์กลาง (Child-centered) นั้น ควรจัดกิจกรรมที่มีความหลากหลายและบูรณาการให้เด็กได้ พัฒนาทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคมและสติปัญญา ซึ่งจัดได้ในลักษณะของกลุ่มใหญ่ รวมกันทั้งห้อง หรือเป็นกลุ่มเล็กและกิจกรรมเดี่ยว ในห้องเรียนและนอกห้องเรียน ทั้งนี้ โดยต้องคำนึงถึง


1.ควรเป็นกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้เด็กได้ค้นพบความสามารถของตนเอง เด็กแต่ละ คนในหนึ่งห้องเรียนมีความสามารถแตกต่างกัน ฉะนั้น การจัดกิจกรรมต้องมีความหลาก หลาย ยาก-ง่ายปนกันอยู่ในแต่ละกิจกรรม เปิดโอกาสให้เด็กได้ทดลองและค้นพบความ สามารถของตนได้ทุกคน

2.ควรเป็นกิจกรรมที่ช่วยให้เด็กเรียนรู้ที่จะรักการเรียนรู้ ธรรมชาติของเด็กเล็ก ชอบความสนุกสนาน เพลิดเพลิน กระตือรือร้นที่จะเรียนรู้ผ่านการเล่น ฉะนั้นการได้รับ กิจกรรมที่สนุกสนานแฝงไว้ด้วยการเรียนรู้ เปิดโอกาสให้ประสบกับความสำเร็จ ส่งผลให้ เด็กเกิดความมั่นใจและรักที่จะเข้าร่วมในกิจกรรมและเกิดการเรียนรู้ต่อไปอย่างไม่มีที่สิ้น สุด อีกทั้งยังเกิดความรู้สึกที่ดีต่อตนเอง มีความภาคภูมิใจในความสำเร็จจากการร่วมทำ กิจกรรม

3.กิจกรรมที่จัดให้เด็กควรมีความหมายต่อตัวเด็ก เป็นสิ่งที่อยู่ใกล้ตัว เด็กได้มี โอกาสประสบพบในชีวิตประจำวัน อันจะก่อให้เกิดการนำไปใช้ เกิดการฝึกฝน และมีความ ชำนาญในการใช้ทักษะที่ได้เรียนรู้ ซึ่งเป็นไปตามกฏของการฝึกฝน (Law of Exercise) ของธอร์นไดต์(Thorndike)

4.ควรให้เด็กได้มีโอกาสเลือกตามความสนใจและความถนัดของเด็ก ในแต่ละช่วงเวลาควรมีการจัดกิจกรรมให้เลือก หรือหากเป็นกิจกรรมเดียวกันก็ควรมีสื่ออุปกรณ์หลาก หลายให้เลือกใช้ตามความต้องการของเด็ก

5.ควรเป็นกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้เด็กได้ฝึกปรับตัวต่อสื่อใหม่ๆ เพื่อนใหม่ๆ สื่อและ อุปกรณ์ในการทำกิจกรรมควรมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา หมุนเวียนนำมาให้เด็กได้ เลือกใช้ร่วมกับผู้อื่นตามความต้องการ พัฒนาการสังเกตสิ่งใหม่ๆ รอบๆ ตัว ฝึกฝนการ อยู่และทำงานร่วมกับผู้อื่น

 

รูปแบบของกิจกรรม


กิจกรรมที่จัดให้ในลักษณะของการยึดเด็กเป็นศูนย์กลาง มีรูปแบบหลักๆอยู่ 9 แบบ ซึ่งโรงเรียนอนุบาลอาจนำไปเป็นตัวอย่างได้

1.กิจกรรมที่จัดในรูปแบบปฏิบัติการ คือ กิจกรรมที่ให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติ เลือกตัดสินใจ ลงมือกระทำกับสื่อที่อยู่ในวิถีทางที่ตนต้องการ เปิดโอกาสให้เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสทั้ง ห้าในการปฏิบัติกิจกรรม เน้นการเรียนรู้อย่างเป็นรูปธรรม มีความหมายต่อตนเองและเข้า ใจ จำได้แม่นยำ

2.รูปแบบการแก้ไขปัญหา การใช้ปัญหาที่สอดคล้องและเหมาะสมกับวัยของเด็ก เป็นการกระตุ้นให้เด็กเกิดความสนใจใคร่รู้และลงมือแก้ปัญหาตามความคิด ความสามารถของ ตน ในบางครั้งครูอาจใช้ปริศนาคำทาย ปัญหาสถานการณ์ที่เด็กเคยเผชิญ หรือปัญหาใน สภาพแวดล้อมรอบตัว กิจกรรมนี้เด็กอาจจะเชื่อมโยงกับประสบการณ์เก่าของตน และนำมาทดลองแก้ไขปัญหา ทำการทดลองและปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับปัญหา จากนั้นเกิดการสรุป และเรียนรู้ในที่สุด

3.กิจกรรมในรูปแบบของการสร้างองค์ความรู้ (Constructivism) จากสิ่งแวดล้อมหรืออุปกรณ์ที่มีอยู่ เด็กมีเสรีที่จะเลือกใช้และลงมือกระทำจนเกิดความคิดรวบยอด (Concept) ของตนเป็นองค์ความรู้ขึ้น ซึ่งในบางครั้งกิจกรรมเดียวกัน สื่อและอุปกรณ์ อย่างเดียวกัน เด็กอาจจะสร้างองค์ความรู้แตกต่างกันออกไปหลายแนวคิด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ เด็กแต่ละคน หรือแต่ละแนวคิดก็เป็นได้

4.รูปแบบการใช้คำถาม คำถามของครูหรือคำถามที่เกิดจากตัวเด็ก ก่อให้เกิดความสงสัย ความคิดที่จะตอบคำถามขึ้นในตัวเด็ก จากนั้นเด็กจะลงมือกระทำกับอุปกรณ์ในรูปแบบ และตามขีดความสามารถของตนจนได้คำตอบที่ต้องการ การรวบรวมข้อมูลโดยการเปรียบ เทียบ เชื่อมโยงกับประสบการณ์หรือการเรียนรู้ที่ผ่านมามักจะถูกนำมาใช้ในเด็กวัยนี้

5.รูปแบบของกิจกรรมที่เน้นกระบวนการวิทยาศาสตร์ ทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ทั้ง 8 ถูกนำมาใช้ในกิจกรรมรูปแบบนี้ จนในท้ายที่สุดเกิดเป็นความคิดรวบยอดขึ้นมา เด็กแต่ละคนอาจจะถนัดในบางทักษะแตกต่างกัน ฉะนั้นการเปิดโอกาสให้เด็กได้ลงมือกระทำ ให้เวลาอย่างพอเพียงเหมาะสม จะช่วยให้เกิดการเรียนรู้ได้เป็นอย่างดี

จาก: นิตยสารรักลูก



ผู้ตั้งกระทู้ admin :: วันที่ลงประกาศ 2009-05-07 19:26:00 IP : 124.120.107.182


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (2040551)
avatar
good
good
ผู้แสดงความคิดเห็น good (123-at-yahoo-dot-com)วันที่ตอบ 2010-03-02 13:33:34 IP : 124.120.109.231


ความคิดเห็นที่ 2 (2106471)
avatar
bob

lv travel fake replica louis vuitton bags Guccissima Leather Tote Handbag is louis vuitton and eye catching handbags We can lv handbags fake lv wallets for men.

ผู้แสดงความคิดเห็น bob (assioma-at-google-dot-com)วันที่ตอบ 2010-09-10 18:08:01 IP : 125.126.157.28



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล *
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.