![]() |
|
Home | หลักสูตร | กิจกรรมประจำวัน | ติวสาธิตครูจอย | Contact | English Version | School Blog |
ความฉลาดของเด็ก เกิดขึ้นได้อย่างไร | |
ความเฉลียวฉลาดเกิดจากอะไร ความฉลาดของบุคคล
| |
ผู้ตั้งกระทู้ Admin :: วันที่ลงประกาศ 2011-09-05 11:30:26 IP : 115.87.125.199 |
[1] |
ความคิดเห็นที่ 1 (2212995) | |
โฮวาร์ด การ์ดเนอร์ (Howard Gardner) ศาสตราจารย์ทางการศึกษาแห่ง มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ได้พัฒนาทฤษฎี ความฉลาดพหุมิติ (Multiple intelligence) ขึ้นเมื่อ ค.ศ.๑๙๘๓ ซึ่งนิยาม ความฉลาดนี้จะไม่จำกัด แค่เพียงความฉลาดทางเชาว์นปัญญา แต่เป็นความฉลาดที่หลากหลาย ๘ ด้านได้แก่ ๑.ความสามารถด้านภาษาศาสตร์ ๒.ความสามารถเชิงตรรก คณิตศาสตร์ ๓.ความสามารถด้านภาพ ๔.ความสามารถเคลื่อนไหวร่างกาย ๕.ความสามารถด้านดนตรี ๖.ความสามารถด้านสังคม ๗.ความสามารถเข้าใจในตนเอง ๘.ความสามารถด้านธรรมชาติวิทยา การวัดอีคิว เพิ่งเกิดขึ้นเมื่อไม่กี่ปีมานี้ ไม่มีแบบมาตรฐานที่แน่นอน เป็นเพียงการประเมินเพื่อให้ผู้วัดมองเห็นความบกพร่องของความสามารถทางด้านอารมณ์ที่ต้องพัฒนาแก้ไข กรมสุขภาพจิตได้พัฒนาแบบประเมินความฉลาดทางอารมณ์ โดยประเมินจากความสามารถด้านหลัก ๓ ด้านคือ ดี เก่ง สุข ซึ่งแยกเป็นด้านย่อยได้ ๙ ด้าน คือ ๑. การควบคุมตนเอง ๒. ความเห็นใจผู้อื่น ๓. ความรับผิดชอบ ๔. การมีแรงจูงใจ ๕. การตัดสินใจแก้ปัญหา ๖. สัมพันธภาพกับผู้อื่น ๗. ความภูมิใจในตนเอง ๘. ความพอใจในชีวิต ๙. ความสุขสงบทางใจ ในอดีตการวัดความฉลาดของเด็กโดยใช้แบบประเมิน ไอคิว เพียงอย่างเดียว หรือการทำข้อสอบ ซึ่งมักจะประเมินในลักษณะอ่านเขียนคำตอบทำให้เด็กที่มีปัญหาด้านภาษา มีโอกาสชีวิตน้อยกว่าคนอื่นเมื่อต้องสอบแข่งขันด้วยข้อสอบแบบเดียวกัน | |
ผู้แสดงความคิดเห็น Admin วันที่ตอบ 2011-09-05 11:50:25 IP : 115.87.125.199 |
ความคิดเห็นที่ 2 (2212997) | |
การวิจัยในปัจจุบันพบว่า พฤติกรรมของเด็กมีผลจากปัจจัยพันธุกรรมของเด็กที่ได้จากพ่อแม่ การเลี้ยงดูของผู้ปกครอง และสิ่งแวดล้อมรวมทั้งสารอาหารที่หล่อเลี้ยงเด็ก รวมถึงการดูแลตั้งแต่ในครรภ์ ของมารดา พ่อแม่ทุกคนอยากให้ลูกดี เด่น ดัง เป็นที่พึ่งของตนเองและผู้อื่นได้ เรามักจะได้ยินคำว่า ไอคิว(IQ.)
| |
ผู้แสดงความคิดเห็น Admin วันที่ตอบ 2011-09-05 11:52:56 IP : 115.87.125.199 |
ความคิดเห็นที่ 3 (2213001) | |
สิ่งแวดล้อมในการเลี้ยงดูของผู้ปกครองที่มีผลต่อพัฒนาการสมอง
| |
ผู้แสดงความคิดเห็น Admin วันที่ตอบ 2011-09-05 11:54:50 IP : 115.87.125.199 |
ความคิดเห็นที่ 4 (2213004) | |
ปัจจุบันพบว่า สมองของมนุษย์มีความสามารถพิเศษทางความคิดและการเรียนรู้แตกต่างกัน ได้แก่ สมองซีกซ้าย สมองซีกขวา เป็นคำพูด เป็นขั้นเป็นตอน เป็นช่วงของเวลา เป็นจำนวนตัวเลข เป็นตรรกวิทยาการวิเคราะห์ ความเป็นเหตุ เป็นผล แนวคิดตะวันตก ไม่เป็นคำพูด เป็นทัศนปริภูมิ การร้องเพลงเป็นไปพร้อมๆกับปรภูมิ เป็นการเปรียบเทียบและอารมณ์ขัน เป็นการหยั่งรู้และการสังเคราะห์ เป็นสัญชาตญาณ แนวคิดตะวันออก คุณลักษณะข้างต้นข้อที่จัดไว้ตามลำดับต้นๆ เป็นสิ่งที่ค้นพบตามพื้นฐานของหลักการทดลอง ส่วนข้อรองลงมานั้นเป็นการคาดคะเนมากกว่า ปัจจุบันมีความพยายามให้การเรียนรู้หรือส่งเสริมพัฒนาการแก่เด็กให้เกิดขึ้นพร้อมกันไปของสมองทั้งสองข้างสำหรับเด็กนั้นการเล่นและการฟังนิทาน เป็นหนทางสำคัญให้เกิดพัฒนาการด้านต่างๆทั้งสองซีกสมอง | |
ผู้แสดงความคิดเห็น Admin วันที่ตอบ 2011-09-05 11:56:29 IP : 115.87.125.199 |
ความคิดเห็นที่ 5 (2213014) | |
ความสำคัญของการพัฒนาไอคิว อีคิวและเอคิว (IQ ,EQ ,AQ) ยกตัวอย่างเช่น งานวิจัยชิ้นหนึ่งในรัฐแมสซาซูเสท สหรัฐอเมริกาที่ศึกษาความสัมพันธ์ของไอคิวกับความสำเร็จในชีวิต โดยติดตามเก็บข้อมูลจากเด็ก ๔๕๐ คน นานถึง ๔๐ ปี พบว่าไอคิวมีความสัมพันธ์เพียงเล็กน้อยกับความสามารถในการทำงานได้ดีหรือกับการดำเนินชีวิต และพบว่าปัจจัยที่สามารถจะทำนายถึงความสำเร็จในด้านต่าง ๆ ของชีวิตได้ดีกว่า กลับเป็นความสามารถด้านต่าง ๆ ในวัยเด็กที่ไม่เกี่ยวข้องกับไอคิว เช่น ความสามารถในการจัดการกับความผิดหวัง การควบคุมอารมณ์ และการเข้ากับบุคคลอื่น ๆ ได้ดี EQ คืออะไร ความหมายของ อีคิวได้แก่ความฉลาดทางอารมณ์นั้น นิยาม ตามกรมสุขภาพจิต มีลักษณะดังนี้ | |
ผู้แสดงความคิดเห็น Admin วันที่ตอบ 2011-09-05 12:15:48 IP : 115.87.125.199 |
ความคิดเห็นที่ 6 (2213016) | |
AQ. คืออะไร ? Dag Hammarskjold กล่าวว่า สตอลต์(Paul G.Stoltz, Ph.D.)เป็นผู้เสนอแนวความคิดและแนวทางพัฒนาสามารถเผชิญกับปัญหา และพยายามหาหนทางแก้ไขอย่างไม่หยุดศักยภาพด้านเอคิว( A.Q.)ขึ้น เขาได้แบ่งลักษณะของบุคคลเมื่อเผชิญปัญหาโดยเทียบเคียงกับนักไต่เขาไว้ ๓ แบบคือ
| |
ผู้แสดงความคิดเห็น Admin วันที่ตอบ 2011-09-05 12:18:48 IP : 115.87.125.199 |
ความคิดเห็นที่ 7 (2213018) | |
สตอลต์ (Stoltz ) เปรียบชีวิตเหมือนการไต่ขึ้นภูเขา ผู้ที่ประสบความสำเร็จนั้นจะอุทิศตนก้าวต่อไปข้างหน้าไต่ขึ้นไปยังจุดสูงขึ้นอย่างไม่หยุดหย่อน บางครั้งช้าบ้างเร็วบ้าง เจ็บปวดบ้างก็ยอม
| |
ผู้แสดงความคิดเห็น Admin วันที่ตอบ 2011-09-05 12:19:50 IP : 115.87.125.199 |
ความคิดเห็นที่ 8 (2213022) | |
ความเข้าใจแนวความคิดด้านเอคิว( A.Q. ) ทำให้เข้าใจถึงวิธีที่บุคคลตอบสนองต่ออุปสรรคหรือสิ่งท้าทายตลอดทุกแง่มุมของชีวิต ด้วยวิธีการค้นหาว่าตนเอง ณ จุด ใดของงานนั้นๆ จากนั้นจึงวัดและพัฒนางานนั้นให้ดีขึ้นตลอด บันไดในการกำหนดเป้าหมายและการไปให้ถึง ได้แก่
มิได้หมายความว่า คนที่มีเอคิว( AQ. )ดี ซึ่งเปรียบได้กับคนที่พยายามไต่เขาต่อไปไม่หยุดหย่อน จะไม่รู้สึกเหนื่อยอ่อน จะไม่รู้สึกลังเลใจที่จะทำต่อไป จะไม่รู้สึกเหงา แต่เป็นเพราะเขารู้จักที่จะให้กำลังใจตนเองสู้ต่อไป เติมพลังให้ตนเองตลอดเวลาที่ทำให้เขาแตกต่างจากคนอื่นและกัดฟันสู้อยู่ไม่ถอย สิ่งที่เขาต้องการมิใช่ส่วนแบ่งการตลาดของสินค้าที่บริษัทเขาผลิตอยู่ มิใช่ต้องการเงินเดือนขั้นพิเศษเป็นผลตอบแทน เพราะนั่นเป็นเพียงผลพลอยได้ สิ่งที่เขาต้องการแท้ที่จริงคือ เป้าหมายของงานที่ดีขึ้นอย่างไม่หยุดหย่อน
ข้อได้เปรียบของคนที่มีเอคิว( AQ. )ใน ๓ ลักษณะคือ ที่มา: http://webhost.wu.ac.th/stipawan/index/link_etc_data/sm.htm | |
ผู้แสดงความคิดเห็น Admin วันที่ตอบ 2011-09-05 12:26:14 IP : 115.87.125.199 |
[1] |
Copyright © 2010 All Rights Reserved. |
![]() |
Visitors : 681156 |