ReadyPlanet.com


ทะเล้นจนเป็นเรื่อง
avatar
Admin


ทะเล้นจนเป็นเรื่อง


โดย: นฎา

อาจยังไม่น่าห่วงตอนนี้ แต่หากติดเป็นนิสัยหรือมากกว่านี้ล่ะ


หากลองคิดในแง่บวก ตอนที่เราเด็กๆ เราก็เคยเจอแบบนี้ ตอนเริ่มเป็นสาวบางคนยังเล่นดีดสายเสื้อในอยู่เลย โตขึ้นไม่เห็นจะเป็นโรคจิตตรงไหนเลย ทางออกของเรื่องนี้คืออะไร ก่อนอื่นเรามามองถึงที่มาที่ไปกันก่อนค่ะ

3 เรื่องที่ต้องเข้าใจ

1. นี่คือการเล่น เด็กวัย 3-4 ขวบ ยังคิดถึงเรื่องตัวเองเป็นหลัก เมื่ออยากรู้อย่าเห็นหรือเล่นแล้วรู้สึกสนุก คิดว่าเพื่อนคงสนุกไปด้วย เพราะยังไม่ใช่วัยที่เอาใจเขามาใส่ใจเรา เพียงแต่การเล่นนั้นเป็นไปอย่างไม่เหมาะสมและไม่รู้กาลเทศะ

2. หนูแค่อยากมีเพื่อน การมีเพื่อนเป็นเรื่องพัฒนาการด้านสังคมค่ะ แต่การมีเพื่อนสำหรับเด็กอนุบาล 1 ไม่ใช่เรื่องง่ายเสมอไป แม้เด็กๆ จะเป็นวัยที่ร่าเริงสดใส อยากรู้อยากเห็นโลกกว้าง แต่เพื่อนที่ว่านี้เป็นเป็นเพื่อนนอกบ้านในยามที่ไม่ได้อยู่กับพ่อแม่ จึงเป็นปัญหาที่ท้าทายสำหรับเด็กๆ ที่จะเรียนรู้การแก้ปัญหาเวลาที่มีความเห็นไม่ตรงกับคนอื่นด้วยค่ะ
ซึ่งมีเด็กบางคนค่ะ ที่ดึงผมเปิดกระโปรงเพื่อน หรือแสดงท่าทางทะเล้น โลดโผนที่แตกต่างไปจากคนอื่นๆ แล้วได้รับความสนใจจากคนอื่นๆ เขาจึงทำต่อไปเรื่อยๆ
 
3. รู้นะว่าเพื่อนไม่ชอบ มีบ้างเหมือนกันที่น้องหนูรับรู้ว่าเพื่อนไม่ชอบ แต่พอทำแล้วตัวเองสนุก ก็เลยทำเหมือนกับว่าเพื่อนเป็นของเล่นส่วนตัว
 
ทะเล้น ทะลึ่ง เรื่องน่ากังวลแค่ไหน
 
ที่จริงแล้วพฤติกรรมเหล่านี้ไม่ใช่เรื่องผิดปกติถึงขนาดต้องลงโทษราวกับ เป็นเรื่องคอขาดบาดตายหรอกค่ะ และสามารถพบเจอได้อยู่บ่อยๆ ขณะเดียวกันก็ไม่ใช่เรื่องที่ควรจะปล่อยไว้แบบเลยตามเลยเช่นกัน ดังนั้นจึงควรจะห้ามปราม ตักเตือน ชี้แนะทันทีเมื่อพบเห็น
 
หยุดทะเล้น...
 
ใช่ว่าจะให้น้องหนูหยุดร่าเริงแล้วมานั่งพับเพียบเรียบร้อยหรอกนะคะ เพราะความร่าเริงสนุกสาน ซุกซน อยากรู้อยากเห็นตามวัยเป็นเรื่องที่ดีอยู่แล้ว แต่อะไรก็ตามที่เป็นกิริยาที่สังคมทั่วไปไม่ยอมรับก็ควรจะปรับปรุงค่ะ
 
* ให้น้องหนูหยุดพฤติกรรมนั้นทันที โดยไม่ต้องพิจารณาว่ามาจากสาเหตุใด บอกให้เขารู้ว่าเล่นกับเพื่อนอย่างนี้ไม่สุภาพ และเสื้อผ้าหรือร่างกายของเพื่อนเป็นเรื่องส่วนตัว การทำอย่างนี้เป็นเรื่องน่าอาย
 
* ไม่ควรลงโทษอย่างรุนแรงหรือประณามว่าเป็นเด็กไม่ดี เป็นเด็กลามกหรือมีปัญหาทางจิต
 
* บอกลูกว่า เล่นอย่างนี้เพื่อนไม่สนุกและไม่ชอบด้วยนะ ถ้าอยากเล่นกับเพื่อน ต้องเล่นที่เพื่อนชอบและสนุกด้วย เขาจึงจะอยากเล่นกับหนู
 
ถ้าน้องหนูยังทำพฤติกรรมแบบนี้บ่อยๆ คุณต้องมีมาตรการที่เข้มขึ้น เช่น แยกตัวออกมา อย่างจริงจัง เพราะครั้งแรกๆ คือการบอกล่าว ตักเตือนหรือแนะนำ ถ้าไม่ดีขึ้นก็ตั้งกติกาหรือเงื่อนไขกันหน่อย เช่น งดกิจกรรมที่ลูกชอบบางอย่างเพื่อปรับพฤติกรรม
 
ขอขอบคุณ : ผศ. นพ. ชาตรี วิฑูรชาติ หน่วยจิตเวชเด็ก โรงพยาบาลศิริราช เอื้อเฟื้อข้อมูลทางวิชาการ


จาก: นิตยสาร Kids & School


ผู้ตั้งกระทู้ Admin :: วันที่ลงประกาศ 2009-08-20 23:49:24 IP : 124.122.176.232


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล *
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.