ReadyPlanet.com


ทำอย่างไรให้ลูกเป็นเด็กช่างสังเกต
avatar
Admin


 เลี้ยงลูกอย่างไร ให้เป็นเด็กช่างสังเกต    โดย  ศศิพินท์ บุณย์สวัสดิ์

 

 1. หมั่นตั้งคำถามกระตุ้นเพื่อให้ลูกเกิดความสนใจใฝ่รู้ โดยเริ่มจากสิ่งแวดล้อมใกล้ตัวก่อน  เช่น ระหว่างนั่งรถมา   บ้านของเล่น ถามลูกว่า “ลองทายดูซิจากบ้านไปถึงบ้านของเล่น  เราผ่านปั้มน้ำมันกี่ปั๊ม” เด็กจะสังเกตหาปั๊มน้ำมัน  รู้จักปั๊มน้ำมันยี่ห้อต่างๆ สัญลักษณ์ของแต่ละยี่ห้อ  และอาจเกิดความสนใจการเติมน้ำมัน  และเครื่องมือเครื่องใช้อื่นๆ ภายในปั๊มน้ำมัน  นอกจากจะพัฒนาการสังเกตแล้ว ยังเพิ่มพูนความรู้รอบตัวให้มากขึ้น  และยังได้พัฒนาภาษา และความสัมพันธ์ที่ดีในครอบครัวอีกด้วย

2. ฝึกลูกเก็บของให้เป็นระเบียบด้วยตนเอง  เป็นการฝึกให้มีระเบียบ และลูกจะจำตำแหน่งของสิ่งของได้ง่าย สังเกตได้ง่ายว่ามีอะไรวางผิดที่ อะไรหายไปบ้าง

3. ฝึกให้ลูกสังเกตภาพเหมือน-ต่าง, ภาพคล้ายคลึงกัน, ภาพผิดปกติ  เช่น มีเทคนิคง่ายๆ คือ เริ่มกวาดตามองภาพรวมๆ ก่อน แล้วจึงมองภาพแบบตัดแบ่งเป็นส่วนๆ ค่อยๆ สังเกตทีละส่วน จากซ้ายไปขวา จากบนลงล่าง อาจใช้กระดาษปิดแล้วค่อยๆ เปิดออกสังเกตทีละส่วน (อย่ามองสะเปะสะปะ ตรงนั้นบ้าง ตรงนี้บ้าง) ก็จะทำให้ลูกสังเกตได้ละเอียดลออทั่วทั้งหมด      เมื่อเริ่มฝึกอย่าเพิ่งแข่งขันความเร็ว แบบใครหาได้ครบเป็นคนแรกชนะ เพราะลูกจะทำด้วยความรีบร้อน ไม่รอบคอบ  เมื่อฝึกจนชำนาญแล้วจึงเริ่มแข่งขันได้  การเลือกภาพให้ลูกทำควรเลือกจากง่ายไปหายาก ควรเป็นภาพที่ลูกสนใจก่อน และเป็นภาพที่มีความแตกต่างกันชัดเจน ไปจนถึงภาพที่มีความคล้ายคลึงกันมาก

4. ฝึกให้ลูกมองสิ่งต่างๆ ในมุมมองต่างๆ กัน  เช่น เมื่อมองตุ๊กตาจากด้านหน้า ด้านซ้าย ด้านขวา ด้านหลัง ด้านบน  ได้ภาพอะไรเหมือน-ต่างกันบ้าง  และถ้าดูจากภาพในมุมมองต่างๆ แล้วจับคู่ตุ๊กตาให้ถูกด้าน ลูกต้องใช้การสังเกตมากกว่าภาพเหมือน-ต่างธรรมดา  เพราะมีเรื่องของมิติเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย และยังสอดแทรกแง่คิดเรื่องการตัดสินว่าอะไรถูก-ผิด ความคิดเห็นอาจไม่เหมือนกันหมดทุกคน แล้วแต่ใครมองมุมไหน

5. ฝึกให้ลูกทำอะไรเอง หรือช่วยงานบ้านเล็กๆ น้อยๆ  เพราะขณะที่ลูกลงมือทำสิ่งต่างๆ ด้วยตนเอง ลูกจำเป็นต้องใช้ทักษะการสังเกต เช่น ให้เก็บใบไม้ด้วยไม้เสียบลูกชิ้น  ขณะที่เสียบใบไม้ ลูกได้สังเกตเห็นใบไม้ลักษณะต่างๆ ขนาดต่างๆ เรียนรู้ว่าใบไม้แห้งกับใบไม้สดมีลักษณะการเสียบเหมือน/ต่างกัน ใบไม้แบบไหนเสียบยาก-ง่าย แก้ปัญหาใบไม้ขาดเมื่อถูกไม้เสียบ มีทักษะการใช้มือและตาให้สัมพันธ์กัน ภูมิใจที่ได้ช่วยทำให้บ้านสะอาด   ยิ่งถ้าคุณพ่อ-คุณแม่      ตั้งคำถามต่อยอดจากกิจกรรมนี้อีก ลูกก็จะมีทักษะการสังเกต และความรู้รอบตัวมากขึ้นด้วย ตัวอย่างคำถาม  เช่น    ใบไหนใหญ่ที่สุด เสียบใบไม้ได้กี่ใบ ใบไม้สด-ใบไม้แห้งต่างกันอย่างไร หรือนำใบไม้มาลอกลาย พิมพ์ลายเป็นผลงานศิลปะ ลูกก็ยิ่งเกิดความภูมิใจ  และสนุกกับการทำงาน

ผลจากการให้ลูกลงมือทำสิ่งต่างๆ ด้วยตัวเอง นอกจากลูกได้ฝึกสังเกตตัวอย่างและสิ่งต่างๆรอบตัว แล้ว  ยังเป็นการเพิ่มพูนทักษะและความรู้รอบตัว รู้จักแก้ปัญหา  อีกทั้งได้ฝึกให้เป็นคนมีน้ำใจ รู้จักเห็นอกเห็นใจผู้อื่น มีความรับผิดชอบ และเมื่อลูกทำสิ่งต่างๆ สำเร็จได้เอง ก็ยังเกิดความภูมิใจ และมั่นใจในการทำ สิ่งต่างๆ ได้ด้วย



ผู้ตั้งกระทู้ Admin :: วันที่ลงประกาศ 2014-04-09 12:20:27 IP : 58.11.243.209


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (3610255)
avatar
Admin

 1. หมั่นตั้งคำถามกระตุ้นเพื่อให้ลูกเกิดความสนใจใฝ่รู้ โดยเริ่มจากสิ่งแวดล้อมใกล้ตัวก่อน  เช่น ระหว่างนั่งรถมา   บ้านของเล่น ถามลูกว่า “ลองทายดูซิจากบ้านไปถึงบ้านของเล่น  เราผ่านปั้มน้ำมันกี่ปั๊ม” เด็กจะสังเกตหาปั๊มน้ำมัน  รู้จักปั๊มน้ำมันยี่ห้อต่างๆ สัญลักษณ์ของแต่ละยี่ห้อ  และอาจเกิดความสนใจการเติมน้ำมัน  และเครื่องมือเครื่องใช้อื่นๆ ภายในปั๊มน้ำมัน  นอกจากจะพัฒนาการสังเกตแล้ว ยังเพิ่มพูนความรู้รอบตัวให้มากขึ้น  และยังได้พัฒนาภาษา และความสัมพันธ์ที่ดีในครอบครัวอีกด้วย

2. ฝึกลูกเก็บของให้เป็นระเบียบด้วยตนเอง  เป็นการฝึกให้มีระเบียบ และลูกจะจำตำแหน่งของสิ่งของได้ง่าย สังเกตได้ง่ายว่ามีอะไรวางผิดที่ อะไรหายไปบ้าง

3. ฝึกให้ลูกสังเกตภาพเหมือน-ต่าง, ภาพคล้ายคลึงกัน, ภาพผิดปกติ  เช่น มีเทคนิคง่ายๆ คือ เริ่มกวาดตามองภาพรวมๆ ก่อน แล้วจึงมองภาพแบบตัดแบ่งเป็นส่วนๆ ค่อยๆ สังเกตทีละส่วน จากซ้ายไปขวา จากบนลงล่าง อาจใช้กระดาษปิดแล้วค่อยๆ เปิดออกสังเกตทีละส่วน (อย่ามองสะเปะสะปะ ตรงนั้นบ้าง ตรงนี้บ้าง) ก็จะทำให้ลูกสังเกตได้ละเอียดลออทั่วทั้งหมด      เมื่อเริ่มฝึกอย่าเพิ่งแข่งขันความเร็ว แบบใครหาได้ครบเป็นคนแรกชนะ เพราะลูกจะทำด้วยความรีบร้อน ไม่รอบคอบ  เมื่อฝึกจนชำนาญแล้วจึงเริ่มแข่งขันได้  การเลือกภาพให้ลูกทำควรเลือกจากง่ายไปหายาก ควรเป็นภาพที่ลูกสนใจก่อน และเป็นภาพที่มีความแตกต่างกันชัดเจน ไปจนถึงภาพที่มีความคล้ายคลึงกันมาก

4. ฝึกให้ลูกมองสิ่งต่างๆ ในมุมมองต่างๆ กัน  เช่น เมื่อมองตุ๊กตาจากด้านหน้า ด้านซ้าย ด้านขวา ด้านหลัง ด้านบน  ได้ภาพอะไรเหมือน-ต่างกันบ้าง  และถ้าดูจากภาพในมุมมองต่างๆ แล้วจับคู่ตุ๊กตาให้ถูกด้าน ลูกต้องใช้การสังเกตมากกว่าภาพเหมือน-ต่างธรรมดา  เพราะมีเรื่องของมิติเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย และยังสอดแทรกแง่คิดเรื่องการตัดสินว่าอะไรถูก-ผิด ความคิดเห็นอาจไม่เหมือนกันหมดทุกคน แล้วแต่ใครมองมุมไหน

5. ฝึกให้ลูกทำอะไรเอง หรือช่วยงานบ้านเล็กๆ น้อยๆ  เพราะขณะที่ลูกลงมือทำสิ่งต่างๆ ด้วยตนเอง ลูกจำเป็นต้องใช้ทักษะการสังเกต เช่น ให้เก็บใบไม้ด้วยไม้เสียบลูกชิ้น  ขณะที่เสียบใบไม้ ลูกได้สังเกตเห็นใบไม้ลักษณะต่างๆ ขนาดต่างๆ เรียนรู้ว่าใบไม้แห้งกับใบไม้สดมีลักษณะการเสียบเหมือน/ต่างกัน ใบไม้แบบไหนเสียบยาก-ง่าย แก้ปัญหาใบไม้ขาดเมื่อถูกไม้เสียบ มีทักษะการใช้มือและตาให้สัมพันธ์กัน ภูมิใจที่ได้ช่วยทำให้บ้านสะอาด   ยิ่งถ้าคุณพ่อ-คุณแม่      ตั้งคำถามต่อยอดจากกิจกรรมนี้อีก ลูกก็จะมีทักษะการสังเกต และความรู้รอบตัวมากขึ้นด้วย ตัวอย่างคำถาม  เช่น    ใบไหนใหญ่ที่สุด เสียบใบไม้ได้กี่ใบ ใบไม้สด-ใบไม้แห้งต่างกันอย่างไร หรือนำใบไม้มาลอกลาย พิมพ์ลายเป็นผลงานศิลปะ ลูกก็ยิ่งเกิดความภูมิใจ  และสนุกกับการทำงาน

ผลจากการให้ลูกลงมือทำสิ่งต่างๆ ด้วยตัวเอง นอกจากลูกได้ฝึกสังเกตตัวอย่างและสิ่งต่างๆรอบตัว แล้ว  ยังเป็นการเพิ่มพูนทักษะและความรู้รอบตัว รู้จักแก้ปัญหา  อีกทั้งได้ฝึกให้เป็นคนมีน้ำใจ รู้จักเห็นอกเห็นใจผู้อื่น มีความรับผิดชอบ และเมื่อลูกทำสิ่งต่างๆ สำเร็จได้เอง ก็ยังเกิดความภูมิใจ และมั่นใจในการทำ สิ่งต่างๆ ได้ด้วย

 

ผู้แสดงความคิดเห็น Admin วันที่ตอบ 2014-04-09 12:24:00 IP : 58.11.243.209



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล *
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.