ReadyPlanet.com


ชวนคุณพ่อคุณแม่ มาเลือกนิทานให้ลูกกันคะ
avatar
Admin


 เข้าเทศกาลหนังสืออีกแล้ว  หนังสือในท้องตลาดมีมากมาย  สีสัน รูปลักษณ์  เนื้อหา  หรืออะไรนะ
ที่เราควรจะใช้เป็นเกณฑ์เลือกนิทานให้ลูก  เพื่อไม่ให้เสียเงินโดยไม่คุ้มค่า  มาอ่านกันเลยคะ 


kid-reading-book

        นิทาน เรื่องที่แม่ๆไม่ควรมองข้าม บางเรื่องแม้จะเป็นนิทานที่เราคิดว่าคนแต่งเค้าคัดเลือกมาแล้ว แต่ก็มีหลายเรื่องที่เห็นว่าไม่ควรที่จะเอามาสอนลูก ถึงจะเป็นนิทานแม่ๆก็ควรเลือกสรรเนื้อเรื่องให้เหมาะ ถ้าแม่ๆฉลาดเลือกหละก็นิทานเป็นตัวช่วยที่ดีเลยเหมือนกัน เช่น แม่ๆสามารถสอดแทรกสิ่งที่อยากสอนลงไปได้ หรือเลือกนิทานให้สอดคล้องกับชีวิตประจำวันลูก

อย่าง เช่นตอนนี้ลูกชอบสัตว์ คุณแม่ก็อาจหานิทานเกี่ยวกับชีวิตสัตว์มาเล่า อาจจะเป็นเรื่องการนอนของสัตว์แนะนำเรื่อง”ขอหนูหลับหน่อย” ภาพสวย เนื้อหาดี ตัวหนังสือใหญ่ ดีไปหมดหาข้อติไม่ได้ เล่มนี้ของสำนักพิมพ์แพรวราคาเล่มละ 180 บาท เนื้อหาเป็นการหลับนอนของสัตว์ชนิดต่างๆสุดท้ายถามว่าแล้วเด็กๆนอนแบบไหน หรือจะเป็นเรื่องเรื่องการขับถ่ายของสัตว์ก็จะมีเรื่อง “อึ” หรือ “ฉี่” เป็นการขับถ่ายของสัตว์ต่างๆ จบด้วยสอนเด็กๆว่าจะต้องขับถ่ายอย่างไร สองเล่มนี้ก็น่ารักแปลจากของญี่ปุ่น เนื้อหาเรียบง่าย เรียกเสียงฮาได้เหมือนกัน
หรืออย่างพ่อแม่ที่กำลังสอนเรื่องนั่ง กระโถน ไม่ควรพลาด Once Upon a Potty เล่มนี้เก่งโชคดีได้มาราคา 30 บาทตอน B2S โละสต๊อก สภาพโทรมแต่ด้วยความที่แม่ชอบเนื้อหาก็เอามาเพราะหาจากที่อื่นก็ไม่มี เนื้อหาเป็นการเล่าเรื่องถึงเด็กชายคนนึงชื่อ โจชัว ว่ามีอวัยวะอะไรบ้าง แล้วก็มีรูก้นเอาไว้อึอึ๊ แต่เล็กโจชัวก็อึอึ๊ในผ้าอ้อมจนวันนึงโจชัวได้กระโถนมาเป็นของขวัญ แต่ก็ยังอึอึ๊ในกระโถนไม่สำเร็จ พอวันนึงเค้ามีอึอึ๊ในกระโถนครั้งแรกก็เก็บไปให้แม่ดู เชื่อมั๊ยคะว่าวันที่บันมีอึอึ๊ในกระโถนครั้งแรกเค้าบอกจะเอาให้ป่าป๊าดู เพราะอิทธิพลของโจชัวรึเปล่าคะท่าน?? ถ้าเอาฉบับไทยก็จะมีเรื่อง “ขอไปด้วยคน” อันนี้ก็น่ารักเป็นสัตว์เล่นกันอยู่ที่ชายหาดแล้วจู่ๆก็วิ่งหายกันไปทีละตัว สุดท้ายไปนั่งกระโถนเรียงกัน

แม่ๆ พยายามเลือกหนังสือให้เชื่อมโยงกับสิ่งที่ลูกรู้อยู่แล้ว แล้วลูกจะได้เรียนรู้ว่าทุกสิ่งในชีวิตเค้าเชื่อมโยงกับสิ่งอื่นๆ เช่น ถ้าจะพาลูกไปสวนสัตว์ก็เอาหนังสือภาพสัตว์มาเปิดดูกัน พอกลับมาจากสวนสัตว์ก็มาเปิดภาพดูว่าเราเห็นตัวอะไรมาบ้าง สัตว์บางชนิดหนังสือแต่ละเล่มก็หน้าตาไม่เหมือนกัน เช่น วัวจากหนังสือเล่มนี้สีดำ-ขาว แต่อีกเล่มนึงมีวัวสีน้ำตาล ถ้าเก่งอ่านนิทานแล้วนึกออกว่าเราเคยมีหนังสือที่วัวอีกสีนึงอยู่อีกเล่มนึง เก่งจะไปหยิบมาเปิดให้บันดูทันที เค้าก็จะได้เรียนรู้ว่าวัวมันมีหลายสีนะ แล้วเค้าก็จะได้เชื่อมโยงหนังสือ 2 เล่มเข้าด้วยกันโดยมีวัวเป็นตัวเชื่อม

เรื่อง นิทานจริงๆมีให้เล่าอีกยาวเดี๋ยวทยอยมาเล่า สุดท้ายฝากบทความที่อ่านเจอจากมูลนิธิหนังสือเพื่อเด็กไว้หน่อยละกันนะคะ ใครสนใจเชิญที่ลิ้งค์ของ มูลนิธิหนังสือเพื่อเด็ก นะคะ

กระบวนการใช้หนังสือสำหรับเด็ก 
ต้อง11 (MUST)

1. ต้องชักชวนลูกให้อ่านหนังสือ
การชักชวนที่ดีที่สุด และง่ายที่สุดคือ การที่พ่อแม่อ่านออกเสียงดัง ๆ เพื่อเรียกร้องความสนใจของลูก

2. ต้องแสดงท่าทางที่เป็นสุข
เพื่อทำให้ช่วงเวลาของการอ่านหนังสือร่วมกันประสาพ่อแม่ลูกให้เป็นช่วงเวลาหรรษาของ ครอบครัว

3. ต้องใช้เวลาที่เหมาะสม
การอ่านหนังสือให้ลูกฟังต้องเป็นระยะเวลาที่ไม่นานเกินไปจนลูกเบื่อ หรือสั้นเกินไปจนลูกหงุดหงิด

4. ต้องเลือกหนังสือที่เหมาะสมกับวัยของลูก
เนื้อเรื่องต้องสนุกสนาน รูปภาพประกอบสวยงาม รูปเล่มแข็งแรงแต่ไม่เป็นอันตรายต่อลูก

5. ต้องลดวัย
ให้สอดคล้องกับวัยที่จะเป็นเพื่อนเล่นที่ดีของลูกได้

6. ต้องหากิจกรรมมาประกอบ
ต้องหากิจกรรมอื่น ๆ มาประกอบ อ่านไปร้องเพลงไป หรืออ่านไปเต้นไป ลูกจะได้ไม่เบื่อ

7. ต้องต่อยอดความคิด
พ่อแม่ต้องเรียนรู้ที่จะตอบคำถามของลูก ไม่ปล่อยให้ลูกเคว้งคว้างทางความรู้สึก

8. ต้องจัดมุมหนังสือไว้ในบ้าน
จัดมุมหนังสือไว้ในบ้าน ลูกจะได้เรียนรู้ว่าถ้าต้องการหนังสือเมื่อไรจะมาที่มุมนี้

9. ต้องชื่นชมและชมเชยลูก
พ่อแม่ต้องชื่นชม และชมเชยทุกครั้งเมื่อลูกหยิบหรือจับหนังสือขึ้นมาอ่านหรือทำอะไรดี ๆ

10. ต้องจัดระเบียบชีวิต
การจัดระเบียบชีวิตให้เอื้อต่อการอ่านเช่น ปิดโทรทัศน์ตอน 1 ทุ่ม แล้วอ่านหนังสือร่วมกัน

11. ต้องเป็นแบบอย่างที่ดี
ถ้าต้องการให้ลูกรักการอ่าน พ่อแม่ต้องเป็นแบบอย่างของนักอ่านที่ดี

7 อย่า (DON’T)

1. อย่ายัดเยียดหนังสือให้ลูก
การ ที่พ่อแม่เห็น ว่าการปลูกฝังให้ลูกรักการอ่านเป็นสิ่งที่ดี จึงบังคับ ยัดยู้ และยัดเยียด หนังสือให้ลูก จะทำให้ลูกกดดัน เครียดและเกิดความรู้สึกเกลียดหนังสือได้

2. อย่าคาดหวังสูง
เมื่อ ลูกไม่สามารถเป็นได้ดังหวัง พ่อแม่ไม่ควรตีตราลูกว่า “โง่… สู้ลูกคนอื่นเขาไม่ได้” จะทำให้ลูกจะซึมซับรับความผิดหวังกระทั่งโตมา “โง่” สมหวังดั่งที่พ่อแม่หมั่นบอก

3. อย่าจ้องแต่จะสอน
พ่อแม่ไม่ควร ใช้ เนื้อเรื่องและตัวละครในหนังสือที่สนุก ๆ มาเป็นช่องทางในการอบรมบ่มสอนลูกในทุกเรื่อง เพราะจะทำให้ลูกเบื่อการอ่านหนังสือ

4. อย่าตั้งคำถามมากเกินไป
การ ตั้งคำถามจาก หนังสือมากเกินไปจะทำให้ลูกเบื่อ และเกลียดหนังสือ เพราะลูกจะคิดว่าเมื่อแม่จับหนังสือ พ่อถือนิทานเมื่อไรเป็นต้องได้มานั่งคอยตอบคำถามมากมาย จนไม่ได้ฟังเรื่องสนุกสนาน

5. อย่าขัดคอหรือตำหนิ
พ่อแม่ไม่ควร ตำหนิ ขัดคอ หรือแสดงความเอ็นดู ด้วยการหัวเราะขบขัน เมื่อลูกพยายามพูดเลียบแบบแต่ไม่ชัดหรือแสดงเป็นตัวละครในหนังสือแต่ไม่ เหมือน เพราะจะทำให้ลูกเกิดความไม่มั่นใจในการใช้ชีวิตกับพ่อแม่

6. อย่าแสดงความเบื่อหน่าย
พ่อ แม่พึงระวังท่า ที ไม่ให้แสดงความเบื่อหน่ายในขณะที่ลูกยื่นหนังสือให้อ่าน เพราะพฤติกรรมนี้จะทำให้ลูกผิดหวัง ถ้าเกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำอีก ลูกจะปฏิเสธหนังสือ

7. อย่ากังวลใจ
อย่ากังวลใจถ้าลูก จะหยิบ จับ ตี ดึง ทุบ ทิ้ง แทะ หรือฉีกหนังสือ ปล่อยให้ลูกได้ขีดเขียนตามความต้องการของลูกบ้าง เรื่องการบ่มสอนควรเก็บไว้ภายหลัง ไม่ควรใช้เวลาที่ลูกมีความสนใจ และใจจดจ่ออยู่กับหนังสือเป็นช่วงเวลาในการสอนถึงพฤติกรรมที่เหมาะ ไม่เหมาะ ควร ไม่ควร

Credit : www.mamycenter.com



ผู้ตั้งกระทู้ Admin :: วันที่ลงประกาศ 2014-01-18 23:55:48 IP : 115.87.92.216


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล *
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.