ReadyPlanet.com


ทำไมลูกชอบทำอะไรเรื่องเดิมซ้ำๆ
avatar
Admin


"ทำไมลูกชอบฟังนิทานเรื่องเดิมซ้ำๆ"
คำถามนี้เป็นคำถามในใจของบ้านไหนบ้างยกมือขึ้น

...เด็ก ๆ ที่โรงเรียนก็ชอบฟังนิทานซ้ำ ๆ คะ  เรื่องที่ถูกใจเล่มเดียวเล่าใหม่ได้ทั้งเดือน
ของเล่นก็ชุดโปรดชุดเดิม เล่นทุกวันก็ไม่เบื่อ  ระบายสีก็มีสีในดวงใจ ทุกอย่างเป็นสีนั้น
สำหรับเด็กการทำซ้ำ ซ้ำ ซ้ำ ซ้ำ ซ้ำ.....เป็นเรื่องดีคะ  เด็ก ๆ จะได้เรียนรู้วิธีการที่ถูกต้อง 
คิดดัดแปลงวิธีเล่นให้ง่ายขึ้น  ทบทวนความรู้เดิม  ถ้าคุณพ่อคุณแม่นั่งเล่นไปด้วย
คอยหยอดคำถามต่อยอด   ความคิดสร้างสรรค์ลูก ๆ บันเจิดแน่ ๆ ค่ะ
คุณพ่อคุณแม่ อย่าเบื่อซะก่อนหล่ะกัน  ^^

______________________



 สมองของเด็กทำงานอย่างไร

การทำงานของสมองเกิดขึ้นจากการส่งต่อข้อมูลระหว่างเซลสมองผ่านทางช่องว่างเล็กๆ (gap) โดยมีการเชื่อมต่อสัญญาณ (synapse) ทุกครั้งที่สมองทำงาน การเชื่อมต่อสัญญาณจะเพิ่มขึ้น ส่วนที่ไม่ได้ถูกใช้งาน การเชื่อมต่อสัญญาณจะถูกยกเลิกไป

โดยแรกเริ่ม สมองสร้างการเชื่อมต่อสัญญาณมากเกินความต้องการ แต่ต่อมา ยกเลิกส่วนที่ไม่ได้ใช้ สมองของนักศึกษามหาวิทยาลัยมีการเชื่อมต่อสัญญาณน้อยกว่าเด็กอายุ 2 ขวบ โดยการยกเลิกส่วนที่ไม่ได้ใช้ สมองจะทำงานได้เร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น แต่ขณะเดียวกัน ทำให้ความสามารถในการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆยากขึ้น เช่น นักศึกษามหาวิทยาลัยเข้าใจเรื่องยากๆเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ในแขนงวิชาที่กำลังศึกษาอยู่ แต่หากให้มาเริ่มเรียนภาษาจีน จะทำได้ไม่ดีเท่าเด็ก 2 ขวบ

ความสำคัญของเรื่อง ใช้ต่อหรือยกเลิก คือ การเลี้ยงเด็ก ควรเปิดโอกาสให้เด็กได้เรียนรู้สิ่งต่างๆหลายๆด้าน เพื่อสมองจะได้มีความสามารถในการปรับตัวอย่างสูงสุด เด็กๆต้องการของเล่นเพื่อการสัมผัส การเคาะ การชิม การวาด การประกอบหรือแยกชิ้นส่วน การกระโดดขึ้นกระโดดลง การถือของไว้ การปาของ และต้องการได้ยินหลายๆภาษา เพื่อการเรียนรู้ที่มากขึ้นและกว้างขวางขึ้นในอนาคต

เอาอีก! เอาอีก! เรื่อง “ใช้ต่อหรือยกเลิก” ช่วยอธิบายว่าทำไม เด็กเล็กจึงชอบทำอะไรซ้ำแล้วซ้ำอีก เช่น เด็ก 10 เดือนจับราวเตียงเพื่อยืนขึ้นมาได้แล้ว ไม่รู้ว่าจะทำอะไรต่อดี ก็ปล่อยมือทิ้งก้นลงพื้น อีกหนึ่งนาทีต่อมา ก็ทำเหมือนเดิมอีกซ้ำแล้วซ้ำอีก จนกว่าจะเหนื่อยหลับไป

ขณะที่เด็กกำลังทำสิ่งนี้ ไม่เพียงแต่บริหารกล้ามเนื้อ แต่เป็นการบริหารสมอง เพราะแต่ละครั้งที่เขายืนขึ้น การเชื่อมต่อของสัญญาณที่สมองจะมากขึ้น ทำให้สมองส่วนที่ควบคุมการทรงตัวทำงานมากขึ้น นำไปสู่ความสามารถในการเดินต่อไป และแน่นอน เมื่อเขาฝึกฝนจนทำได้ดีแล้ว เขาจะหมดความสนใจ แล้วหันไปทำอย่างอื่นต่อไป

คุณจะเห็นการทำซ้ำๆในทุกด้านของพัฒนาการ ลูกมีสัญชาตญาณในการเรียนรู้ พ่อแม่จึงควรสนับสนุนให้เต็มที่ ถึงแม้ลูกจะขอฟังนิทานเรื่องเดิมครั้งที่ 500 ก็ตาม

เครดิต  คุณหมอสุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ


ผู้ตั้งกระทู้ Admin :: วันที่ลงประกาศ 2013-08-28 22:12:20 IP : 124.122.79.116


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (2405584)
avatar
Admin

เด็กเล็ก 1- 6 ปี ชอบฟังนิทานทุกคน แถมชอบหยิบมาอ่านเองในสไตส์ของพวกเขาด้วย  ในเมื่อลูกชอบอ่านนิทานแล้ว  คุณพ่อคุณแม่ควรส่งเสริมต่อเลยคะ 

วิธีส่งเสริมการอ่านสำหรับเด็กวัย 3 - 5 ปี

วัยนี้มีจินตนาการเลิศล้ำ เชื่อว่ามีเวทมนตร์วิเศษ เชื่อว่าความสุขทำให้พระอาท
ิตย์ส่องแสง หรือ ซานตาคลอสมีจริง ดังนั้นเด็กวัยนี้จึงชอบการอ่านนิทาน วิธีสนุกกับการอ่านหนังสือให้ลูกวัยนี้ ทำได้โดย

- มีหนังสือไว้ในทุกที่ในบ้าน เช่น ห้องนั่งเล่น ห้องน้ำ ห้องกินข้าว ห้องนอน...


- จัดเวลาก่อนนอนหรือตอนเช้าหลังตื่นนอน เป็นเวลาอ่านหนังสือด้วยกัน

- หยุดอ่าน เมื่อคุณหรือลูกอยากหยุด (ลูกหลับหรือไม่ตั้งใจฟัง)

- จำกัดเวลาการดูโทรทัศน์ เพราะการดูโทรทัศน์ทำลายจินตนาการของเด็ก และทำให้ไม่มีเวลาเหลือสำหรับการอ่านหนังสือ

- พาลูกไปห้องสมุด แทนที่จะพาไปเดินห้างสรรพสินค้า

- ให้ลูกมีส่วนร่วมในการอ่าน เช่น ถามความคิดเห็นเกี่ยวกับเนื้อเรื่องหรือตัวละคร

- ลองให้ลูกช่วยคุณแต่งนิทานและอ่านด้วยกัน

เครดิต  คุณหมอสุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ
ผู้แสดงความคิดเห็น Admin วันที่ตอบ 2013-08-28 22:27:26 IP : 124.122.79.116



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล *
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.