ReadyPlanet.com


วิธีการจับดินสอให้ถูกต้อง ... มาทำความเข้าใจก่อนฝึกลูกเขียน
avatar
Admin


ทำไมลูกยังเขียนไม่ได้    

โดย จิราวรรณ   พุ่มศรีอินทร์  (ครูเจน)

ท่าทางการจับดินสอ

ก่อนที่เด็กจะสามารถจับและควบคุมเครื่องเขียนได้นั้น เด็กจะต้องมีสหสัมพันธ์ของการเคลื่อนไหวที่ดีและมีการควบคุมกล้ามเนื้อมัดเล็กภายในมือที่ดี

เด็กจะเริ่มต้นการจับดินสอแบบกำทั้งมือ ซึ่งจะช่วยให้มีกำลังมาก เมื่อใช้การกำเด็กจะใช้ไหล่ในการเคลื่อนไหว การจับดินสอที่ผิดจะทำให้การเขียนไม่มีประสิทธิภาพเพราะเด็กจะใช้แรงมากในการจับเป็นเหตุให้มือและแขนจะล้าง่าย

เมื่ออายุ 4 ปี เด็กจะเริ่มวางนิ้วมือบนดินสอในทิศทางที่แตกต่างกัน จนกระทั่งมีการพัฒนาไปสู่การจับดินสอที่ดีขึ้น การจับดินสอที่มีประสิทธิภาพที่สุดเรียกว่า “ การจับ 3 นิ้ว” (Tripod grasp ) การจับในลักษณะนี้ประกอบด้วย

  • เด็กถือดินสอไว้ด้วย 3 นิ้ว คือนิ้วกลาง นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้
  • ดินสอจะอยู่บนข้อนิ้วกลาง ขณะที่จะถูกบีบอยู่ระหว่างนิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้
  • นิ้วก้อยและนิ้วนางจะวางพักอยู่บนโต๊ะ

การจับในลักษณะนี้มีประสิทธิภาพเพราะ ใช้แรงในการเขียนน้อยซึ่งทำให้มือไม่ล้าง่ายและทำให้มีการเคลื่อนไหวที่สะดวก

รูปแบบของการจับดินสอ

Supinate grasp (Fist grasp )   คือ การกำดินสอไว้ทั้งมือ การกำในลักษณะนี้จะพบในเด็กที่ยังไม่เข้าโรงเรียน

Pronate grasp (Digital pronate )   คือ แบบฉบับที่ต่อมาจาก supinate grasp เป็นการคว่ำฝ่ามือลงซึ่งนิ้วจะงออยู่รอบดินสอและนิ้วชี้ ชี้ไปข้างหน้า

Dynamic tripod (Digital tripod )   คือ การจับในลักษณะสามนิ้ว การจับในลักษณะนี้ตามปกติสัณนิษฐานว่าจะพบตอนอายุ 7 ขวบ ซึ่งอายุประมาณนี้นิ้วหัวแม่มือ นิ้วชี้ นิ้วกลาง ได้เจริญเติบโตเต็มที่แล้วที่จะจับแบบสามนิ้วได้

 

ท่าทางในการจับดินสอที่ผิด

 

 

English Version


ผู้ตั้งกระทู้ Admin :: วันที่ลงประกาศ 2009-06-12 16:51:59 IP : 124.122.136.123


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (1949877)
avatar
Admin

ตามท้องตลาดจะมีผู้ช่วยคุณพ่อคุณแม่  คือ  ยางฝึกจับดินสอ

วิธีจับดินสอจะมี 2 แบบคะ  คือ แบบที่ 1

แบบวิธีที่ 1 จับแบบสามเหลี่ยม  จับดินสอแบบทั้งสามนิ้ว  เหมาะกับเด็กโตมากกว่า  แบบต้องเกร็งนิ้วมือทั้ง 3 พอสมควร 



แบบที่ 2   จับแบบวงกลม คือ ใช้นิ้วชี้กับนิ้วโป้งจับดินสอ  กลางรองรับน้ำหนักด้านล่าง  แบบนี้ฝึกได้ทุกวัย   สำหรับเด็ก ๆ ที่มีปัญหาเจ็บนิ้ว  อาจเกิดจากน้องกดหรือเกร็งกับการเขียนมากเกินไป 


 

สำหรับน้องเล็กคุณพ่อคุณแม่ควรเลือกแบบที่ 2 คะ

การจับดินสอที่มีประสิทธิภาพที่สุดเรียกว่า “ การจับ 3 นิ้ว” (Tripod grasp ) การจับในลักษณะนี้ประกอบด้วย

  • เด็กถือดินสอไว้ด้วย 3 นิ้ว คือนิ้วกลาง นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้
  • ดินสอจะอยู่บนข้อนิ้วกลาง ขณะที่จะถูกบีบอยู่ระหว่างนิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้
  • นิ้วก้อยและนิ้วนางจะวางพักอยู่บนโต๊ะ    

    การจับในลักษณะนี้มีประสิทธิภาพเพราะ ใช้แรงในการเขียนน้อยซึ่งทำให้มือไม่ล้าง่ายและทำให้มีการเคลื่อนไหวที่สะดวก


ผู้แสดงความคิดเห็น Admin วันที่ตอบ 2009-06-12 17:05:54 IP : 124.122.136.123


ความคิดเห็นที่ 2 (1949884)
avatar
Admin

การเขียนไม่ใช่ว่าแค่สอนให้เด็กจับดินสอเขียนอย่างเดียวแล้วจะเขียนได้เลย การที่เด็กเขียนไม่ได้นั้นไม่ได้ขึ้นอยู่กับทักษะใดทักษะหนึ่งเท่านั้น หากแต่มันมีทักษะที่ส่งเสริมซึ่งกันและกันประกอบกันอยู่ซึ่งแยกออกจากกันไม่ได้

พัฒนาการด้านการเขียน

อายุ

ความสามารถ

10-12 เดือน

ขีดเขียนเส้นขยุกขยิก

1-2 ปี

พัฒนาจากเส้นขยุกขยิกเป็นการเลียนแบบเส้นแนวตั้ง เส้นแนวนอน (ให้ดูในขณะวาดแล้วให้วาดตาม)

2-3 ปี

ลอกแบบเส้นแนวตั้ง เส้นแนวนอน (ไม่ต้องให้ดูในขณะวาด)

3 ปี

ลอกแบบรูปวงกลม

3-4 ปี

ลอกแบบเครื่องหมายบวกและกากบาท

4-5 ปี

ลอกแบบเส้นเฉียงและสี่เหลี่ยมจัตุรัส

5-6 ปี

ลอกแบบรูปสามเหลี่ยม,สี่เหลี่ยมผืนผ้า,สี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน,ลอกชื่อตัวเอง(เขียนตัวใหญ่ขนาด 1.5-5 ซม.)

6-7 ปี

ลอกแบบตัวอักษร,ตัวเลข (เขียนตัวหนังสือได้ในขนาดปกติ 0.5 ซม.)

ทักษะที่จำเป็นก่อนเด็กเริ่มเขียน

  • ความสามารถในการทำงานข้ามแนวกลางลำตัว ...คือ ?

      ความสามารถในการข้ามแนวกลางลำตัวของร่างกายเป็นพัฒนาการขั้นพื้นฐานของสมองที่เป็นการประสานสัมพันธ์กันภายในสมอง และเป็นการทำงานร่วมกันระหว่างสมองทั้งสองซีก ซึ่งสมองแต่ละซีกจะทำหน้าที่ควบคุมต่างกันแต่จะทำงานร่วมกันเมื่อมีการทำกิจกรรมที่เป็นการเคลื่อนไหวของร่างกายในแนวข้ามลำตัว ดังนั้นทักษะนี้จึงจะต้องเกิดขึ้นก่อนเพื่อที่จะพัฒนาสหสัมพันธ์ระหว่างตากับมือและการรับรู้ทางสายตาซึ่งสำคัญกับการอ่านออกเขียนได้ของเด็ก

  • ความสามารถในการใช้มือทั้งสองข้าง ...คือ?

         ทักษะการทำงานของมือทั้งสองข้างเป็นความสามารถในการใช้มือสองข้างทำงานร่วมกันให้สำเร็จ มือหนึ่งเป็นผู้นำอีกมือหนึ่งเป็นผู้ช่วย การพัฒนาของมือข้างที่ถนัด สังเกตได้จากการที่ชอบใช้มือข้างไหนมากกว่า ตัวอย่างของกิจกรรมที่แสดงถึงการใช้ทักษะนี้ คือ

    • การถือกระดาษในมือข้างที่ไม่ถนัดและใช้มือข้างที่ถนัดจับดินสอเขียน
    • การถือกระดาษในมือข้างที่ไม่ถนัดและใช้มือข้างที่ถนัดจับกรไกรตัด
  • ความเข้าใจเกี่ยวกับทิศทาง ...คือ?

         การเรียนรู้เรื่องทิศทางเป็นสิ่งสำคัญและมีอยู่ในรูปแบบของการศึกษา ความเข้าใจของคำว่าทิศทางกลายเป็นสิ่งสำคัญในการเขียนซึ่งไม่ว่าจะขณะอ่านหรือเขียนเด็กจะต้องเริ่มต้นจากทางซ้ายของกระดาษไปทางขวาของกระดาษ

  • ความสามารถในการจำแนกรูปแบบที่เหมือนและแตกต่าง ...คือ?

        การแยกแยะความเหมือน ความแตกต่างของสิ่งของหรือรูปภาพ ซึ่งจะสัมพันธ์กับการรับรู้ เกี่ยวกับตำแหน่งและทิศทาง ของวัตถุ (ภาพหรือสิ่งของ)

  • มือข้างที่ถนัด ...คือ?

         นิสัยโดยธรรมชาติของมนุษย์ที่ชอบใช้มือข้างหนึ่งมากกว่ามืออีกข้างหนึ่ง ซึ่งเป็นการประสานสัมพันธ์ของกล้ามเนื้อมัดเล็กภายในมือที่จะต้องควบคุมเครื่องมือการเขียนให้เหมาะสม มือข้างที่ถนัดจะพัฒนาทักษะและความแม่นยำในการทำงานของกล้ามเนื้อมัดเล็ก ในขณะที่มือข้างที่ไม่ถนัดจะคอยประคองและช่วยขณะทำงาน มือข้างที่ถนัดควรจะถูกกำหนดก่อนที่เด็กจะเริ่มเขียน ครูควรจะให้โอกาสเด็กได้สำรวจมือข้างที่ชอบมากกว่า เด็กจะต้องมีการพัฒนาของกล้ามเนื้อมัดเล็กเพื่อช่วยให้เกิดทักษะการทำงานของกล้ามเนื้อมัดเล็กที่ดี

  • ความถนัดมือซ้าย      พัฒนาการของมือข้างที่ถนัดเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับพัฒนาการของเด็ก 10% ของประชากรในขณะนี้ถนัดมือซ้าย มีงานวิจัยเสนอแนะว่าครูควรจะแนะนำการทำกิจกรรมที่ส่งเสริมการทำงานของกล้ามเนื้อมัดเล็กและสังเกตมือข้างที่ถนัดของเด็ก เมื่อเขียนบนพื้นราบหรือตามแนวขวาง เด็กที่ถนัดซ้ายควรจะมีการหมุนกระดาษมุมซ้ายด้านบนขึ้นสูงกว่าและใช้มือข้างที่ไม่ถนัดจับกระดาษไว้แทน การทำแบบนี้จะช่วยให้คนที่เขียนข้างซ้ายรักษาท่าทางของข้อมือให้อยู่ในแนวตรงซึ่งจะเป็นการยับยั้งการเขียนในท่างอข้อมือ

  • ท่าทางการจับดินสอ ...คือ?

ก่อนที่เด็กจะสามารถจับและควบคุมเครื่องเขียนได้นั้น เด็กจะต้องมีสหสัมพันธ์ของการเคลื่อนไหวที่ดีและมีการควบคุมกล้ามเนื้อมัดเล็กภายในมือที่ดี

การจับดินสอที่มีประสิทธิภาพที่สุดเรียกว่า “ การจับ 3 นิ้ว” (Tripod grasp ) การจับในลักษณะนี้ประกอบด้วย

  • เด็กถือดินสอไว้ด้วย 3 นิ้ว คือนิ้วกลาง นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้
  • ดินสอจะอยู่บนข้อนิ้วกลาง ขณะที่จะถูกบีบอยู่ระหว่างนิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้
  • นิ้วก้อยและนิ้วนางจะวางพักอยู่บนโต๊ะ

 

  • ความสามารถในการลอกแบบของเส้นและรูปทรง ...คือ?

          ความสามารถในการลอกแบบของเส้นและรูปทรง    เมื่อเด็กเริ่มมีการพัฒนาของสหสัมพันธ์ระหว่างตากับมือและการจับดินสอ พวกเขาจะเริ่มใช้ทักษะนี้ในการเขียนแบบขีดไปขีดมา จนในที่สุดการขีดไปมาของเด็กจะรวมอยู่ในเส้นพื้นฐานที่ประกอบกันเป็นรูปทรงและรูปภาพ ก่อนที่จะได้รับการสอนตามรูปแบบเด็กจะต้องลากเส้นพื้นฐานได้ป็นอย่างดี มีทิศทางที่เหมาะสม ตัวอย่างของเส้นพื้นฐาน คือ

    • เส้นแนวตั้ง
    • เส้นแนวนอน
    • เส้นเฉียง
    • วงกลม
    • เส้นโค้ง

     

 

ผู้แสดงความคิดเห็น Admin วันที่ตอบ 2009-06-12 17:17:06 IP : 124.122.136.123


ความคิดเห็นที่ 3 (1949892)
avatar
Admin

ทักษะที่จำเป็นเมื่อเด็กเริ่มเขียน

  • ทักษะการเคลื่อนไหวประสานกับการมองเห็นและการควบคุมการเคลื่อนไหวประสานกับการมองเห็น ( Visual Motor Skills and Visual Motor Control ) ...คือ ?

ทักษะการเคลื่อนไหวประสานกับการมองเห็น ( Visual Motor Skills ) คือ

  • ความสามารถในการลอกรูปทรง,ตัวหนังสือหรือตัวเลขโดยใช้การมองเห็น
  • ความสามารถในการจำแนกตัวหนังสือกับตัวเลข
  • ความสามารถในการเขียนตัวหนังสือหรือตัวเลขให้อยู่ในเส้นบรรทัด

การควบคุมการเคลื่อนไหวประสานกับการมองเห็น ( Visual Motor Control ) คือ  ความสามารถด้านสหสัมพันธ์ของตา,แขนและมือ เช่น การลากเส้นหรือระบายสีให้อยู่ในรูปภาพ

  • การรับรู้ทางสายตา ( Visual Perception ) ...คือ ?

การรับรู้ทางสายตา (Visual Perception)

หมายถึง ความสามารถในการแปลผลข้อมูลและรู้ความหมายของสิ่งที่เห็น เด็กจะต้องมีความสามารถในการจดจำตัวหนังสือและแยกแยะตัวหนังสือที่คล้ายกัน เช่น ด กับ ค หรือ ถ กับ ภ

การรับรู้ทางสายตาแบ่งออกเป็นด้านต่างๆ ดังนี้

  • สหสัมพันธ์ระหว่างตากับมือ ( Eye-hand coordination ) คือ สหสัมพันธ์ของการใช้กล้ามเนื้อมือและตา เด็กที่มีความบกพร่องทางด้านนี้จะส่งผลต่อการเขียนโดยเด็กจะเขียนตัวเล็กหรือใหญ่เกินเส้นบรรทัด
  • การแยกภาพออกจากพื้น ( Figure-Ground Discrimination ) คือ ความสามารถในการแยกแยะวัตถุหรือรูปทรงออกจากพื้นของรูป เด็กที่มีความบกพร่องทางด้านนี้จะส่งผลต่อการเขียนโดยเด็กจะไม่สามารถจดจำคำที่เขียนได้
  • ความคงที่ของวัตถุ ( Form Constancy ) คือ ความสามารถในการรับรู้รูปทรงที่มีความแตกต่างกันด้าน ขนาด แสงเงา พื้นผิว และทิศทางการจัดวางรูป เด็กที่มีความบกพร่องทางด้านนี้จะส่งผลต่อการเขียนโดยเด็กไม่สามารถจำตัวหนังสือที่เขียนในขนาดหรือสีที่ต่างกัน
  • ตำแหน่งในที่ว่าง ( Position in Space ) คือ ความสามารถในการรับรู้ตำแหน่ง ทิศทางของภาพที่เหมือนหรือต่างกัน เด็กที่มีความบกพร่องทางด้านนี้จะส่งผลต่อการเขียนโดยเด็กจะเขียนตัวหนังสือกลับด้าน
  • มิติสัมพันธ์ ( Spatial Relations ) คือ ความสามารถในการรับรู้ตำแหน่งของร่างกายสัมพันธ์กับที่ว่างและสามารถที่จะรับรู้ตำแหน่งของวัตถุสัมพันธ์กับตนเองหรือสัมพันธ์กับวัตถุอื่น เด็กที่มีความบกพร่องทางด้านนี้จะส่งผลต่อการเขียนโดยเด็กจะมีปัญหาในการเรียงลำดับตัวอักษรในคำต่างๆ
  • การเติมเต็มของภาพที่ขาดหายไป ( Visual Closure ) คือ ความสามารถในการบอกว่ารูปทรงหรือรูบภาพนั้นเป็นอะไรเมื่อมองเห็นรูปภาพที่ไม่สมบูรณ์ของมัน เด็กที่มีความบกพร่องทางด้านนี้จะส่งผลโดยเด็กจะไม่สามารถเติมเต็มตัวอักษรหรือคำที่ขาดหายไปบางส่วนได้
  • ความจำทางสายตา ( Visual Memory ) คือ ความสามารถในการจำลักษณะเด่นของรูปภาพหรือสิ่งหนึ่งๆหรือสามารถจำการเรียงลำดับของรูปภาพหรือสิ่งหนึ่งที่มากกว่าหนึ่งตัวขึ้นไป เด็กที่มีความบกพร่องทางด้านนี้จะส่งผลโดยเด็กจะไม่สามารถจดจำคำหรือตัวอักษรได้
  • ทักษะการเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อมัดเล็ก ( Fine Motor Skills ) ...คือ ?

เด็กที่มีความบกพร่องในด้านการทำงานกล้ามเนื้อมัดเล็กจะมีความยากลำบากในการติดกระดุมหรือดีดนิ้ว,จับดินสอไม่ถูก(จับในท่ากำทั้งมือ) และขาดความสามารถในการทำงานที่ละเอียด เช่น การร้อยลูกปัดหรือการต่อเลโก้

  • การควบคุมการทรงท่าของลำตัว ( Trunk Control ) ...คือ ?

หมายถึง ความแข็งแรงและความมั่นคงของลำตัว แบ่งออกเป็น 2 ด้าน ดังนี้

  • Posture and Balance คือ การทรงท่าและการทรงตัว เด็กจะต้องนั่งตัวตรง ศีรษะตั้งตรงบนเก้าอี้ โดยไม่มีการประคองด้วยแขน ถ้าเด็กใช้แขนในการนั่งจะทำให้การจับดินสอไม่มีประสิทธิภาพ
  • Upper Extremity Control คือ การควบคุมการทำงานตั้งแต่ไหล่ถึงนิ้วมือให้เคลื่อนไหวได้อย่างแม่นยำทั้งในเรื่องของทิศทาง ระยะทางและการกะแรง เช่น การออกแรงในการดึงเชือกลากของ กับการดึงทิชชู่

จะรู้ได้อย่างไรว่า..... เด็กมีปัญหาด้านการควบคุมการทรงท่าของลำตัว

สังเกตได้จากในระหว่างที่เด็กระบายสีหรือเขียน ตัวเด็กหรือแขนจะค่อยๆเอียงหรือเอนพิงโต๊ะ หรือเอาหัวนอนบนมือ

  • ความมั่นคงของข้อไหล่ ( Shoulder Stability ) ...คือ ?

หมายถึง การทำงานพร้อมกันของกล้ามเนื้อต่างๆรอบไหล่ เพื่อพยุงให้ข้อต่อมั่นคง เมื่อมีการเขียนมันจะทำงานอย่างช้าๆเพื่อควบคุมการเคลื่อนไหวของไหล่ ถ้าเด็กมีความบกพร่องด้านนี้จะทำให้ไม่สามารถควบคุมข้อต่อให้มั่นคงได้ ถ้าข้อต่อนี้หลวมการควบคุมกล้ามเนื้อมัดเล็กในการเขียนก็จะเป็นไปได้ยากซึ่งย่อมส่งผลกระทบกับทักษะการเขียนอย่างแน่นอน

ถ้าไม่มีทักษะเหล่านี้เด็กก็ไม่พร้อมที่จะเขียน เราควรช่วยส่งเสริมทักษะพื้นฐานนี้ได้อย่างไร....

ผู้แสดงความคิดเห็น Admin วันที่ตอบ 2009-06-12 17:45:42 IP : 124.122.136.123


ความคิดเห็นที่ 4 (1949894)
avatar
Admin

กิจกรรมเพื่อพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็ก

กิจกรรมกล้ามเนื้อมัดเล็ก ( Fine Motor Activities )

  • ม้วนและกลิ้งแป้งโดเป็นบอลโดยใช้ฝ่ามือและงอนิ้วมือเล็กน้อย
  • กลิ้งลูกบอลให้เป็นลูกบอลจิ๋วโดยใช้ปลายนิ้ว
  • ใช้หมุดหรือไม้จิ้มฟันในการเล่นกับแป้งโด เช่น ปั้นแป้งเป็นลูกชิ้นแล้วเอาไม้จิ้มฟันเสียบเป็นไม้ลูกชิ้น
  • ตัดแป้งโดด้วยมีดพลาสติดหรือที่ตัดพิซซ่าโดยจับในท่าจับมีดหั่นเนื้อ
  • ฉีกหนังสือพิมพ์ให้เป็นชิ้นยาวๆและขยำให้เป็นลูกบอล
  • ขยำกระดาษหนังสือพิมพ์หนึ่งหน้าด้วยมือเดียวซึ่งจะเป็นการเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อมือ
  • ใช้สเปรย์ฉีดน้ำผสมสี ฉีดไปบนภาพวาดเพื่อระบายสี
  • ใช้คีมหนีบขนาดใหญ่ หนีบเก็บของ เช่น คีบถั่ว คีบเหรียญ คีบลูกบาศก์
  • ประกบมือสองข้างแล้วเขย่าลูกเต๋าที่อยู่ในมือ
  • กิจกรรมการร้อยและการเย็บ เช่น ร้อยลูกปัด ร้อยมักกะโรนี
  • ใช้ที่หยอดตา ดูดน้ำผสมสีแล้วหยดใส่กระดาษให้เป็นภาพ
  • เล่นพลิกการ์ด,เหรียญ,หมากฮอสหรือกระดุม โดยห้ามลากมาที่ขอบโต๊ะแล้วพลิก
  • เล่นหุ่นนิ้วมือ ใส่ที่นิ้วหัวแม่มือ นิ้วชี้และนิ้วกลาง สมมติให้หุ่นเล่าเรื่องคุยกันหรือร้องเพลง

กิจกรรมตัดด้วยกรรไกร ( Scissor Activities )

  • ตัดจดหมายที่ไม่ใช้แล้ว,ตัดกระดาษนิตยสารทำเป็นการ์ด
  • ตัดแป้งโดด้วยกรรไกร
  • ตัดหลอดหรือกระดาษเป็นชิ้นเล็กๆ

กิจกรรมกระตุ้นการรับความรู้สึก ( Sensory Activities )

  • เดินท่าปู (นั่งบนพื้น เอามือวางบนพื้นไว้ข้างหลังแล้วยกก้นขึ้น),เล่นไถนา
  • เล่นเกมตบมือทั้งแบบมีเสียงและไม่มีเสียง หรือตบมือสลับกับตบเข่าด้วย
  • เล่นไล่ตบฟองสบู่โดยใช้มือสองข้างตบเข้าหากัน
  • ดึงดินน้ำมันออกด้วยนิ้วต่างๆกับนิ้วหัวแม่มือ ดึงทีละสองนิ้ว
  • วาดรูปบนทรายเปียก,เกลือ,ข้าวสาร หรือผสมแป้งข้าวโพดกับน้ำให้มีความหนืดคล้ายกับยาสีฟัน ลากมือไปบนแป้งที่ผสมแล้วซึ่งจะเป็นการส่งความรู้สึกกลับไปที่กล้ามเนื้อและข้อต่อด้วย
  • หยิบของชิ้นเล็กๆ เช่น หมุด,เหรียญ หรืออื่นๆออกจากถาดเกลือ,ทราย,ข้าวสารหรือดินน้ำมัน หรือหยิบออกขณะปิดตาจะเป็นการช่วยพัฒนาในด้านการรับรู้ที่มือ

กิจกรรมข้ามแนวกลางลำตัว ( Midline Crossing )

  • ส่งเสริมการเอื้อมข้ามแนวกลางลำตัวของมือแต่ละข้าง เช่น หยิบบล็อคจากซ้ายมือไปใส่กล่องทางขวามือ
  • เลิกห้ามเด็กใช้มือซ้ายในการทำกิจกรรมถ้าเด็กถนัดมือซ้าย ส่งเสริมให้ทำกิจกรรมในแนวกลางลำตัวแล้วให้เด็กเลือกที่จะใช้มือเอง
  • เริ่มสอนเด็กให้รู้จักซ้ายขวาผ่านการเล่น เช่น เตะบอลด้วยขาขวาหรือซ้าย,เลียนแบบท่าทางคล้ายเกมไซม่อมเซย์ บอกคำสั่งให้มีการเคลื่อนไหวข้ามลำตัว
  • ระบายสีภาพที่วางบนขาตั้งภาพ ให้เด็กระบายเป็นเส้นต่อเนื่องข้ามหน้ากระดาษและระบายในแนวเฉียงจากบนลงล่าง
ผู้แสดงความคิดเห็น Admin วันที่ตอบ 2009-06-12 17:48:07 IP : 124.122.136.123


ความคิดเห็นที่ 5 (1949895)
avatar
Admin

กิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะการเขียน

กิจกรรมส่งเสริมความมั่นคงของร่างกาย ( Body Stability )

  • กิจกรรมไถนา,เดินปู,กิจกรรมผลัก ดัน
  • เล่นของเล่นต่างๆ เช่น ดินน้ำมันอ่อนๆและเล่นปีนป่าย ไต่

กิจกรรมส่งเสริมทักษะกล้ามเนื้อมัดเล็ก ( Fine Motor Skills )

  • ติดกระดาษวาดเขียนแผ่นใหญ่ไว้บนผนังให้เด็กใช้ปากกามาร์คเกอร์อันใหญ่เขียนบนกระดาษ ลากเส้นให้เด็กลากตามครู โดยลากเส้นจากซ้ายไปขวาอย่างน้อย 10 ครั้ง ให้เด็กลากตามทีละเส้นหรือลากจากบนลงล่าง
  • เล่นเกมต่อจุดโดยการลากเส้นต่อจุดจากซ้ายไปขวาหรือบนลงล่าง
  • วางแผ่นฉลุบนกระดาษแล้วใช้มือข้างที่ไม่ถนัดกดแผ่นฉลุไว้อย่าให้เลื่อนได้ แล้วเอามือข้างที่ถนัดจับดินสอลากไปตามขอบของแผ่นฉลุ
  • ติดผ้าสักหลาดไว้ที่ผนังหรือเอากระดานสักหลาดหรือกระดานแม่เหล็กติดไว้ที่ผนัง แล้วให้เด็กเอารูปทรงหรือภาพต่างๆไปติดไว้บนกระดาน
  • ให้เด็กเขียนบนกระดานดำโดยใช้ชอล์กแทนปากกา ลากเส้นจากบนลงล่าง ซ้ายไปขวา
  • ระบายสีบนกระดาษที่วางบนขาตั้งภาพ

กิจกรรมส่งเสริมการควบคุมการเคลื่อนไหวของลูกตา ( Ocular Motor Control )

  • ใช้ไฟฉายส่องบนเพดาน โดยให้เด็กนอนหงายแล้วมองตามการเคลื่อนไหวของแสงไฟจาก ซ้ายไปขวา บนลงล่างและทิศทางเฉียง
  • หาภาพที่ซ่อนอยู่ในหนังสือ
  • เล่นเกมเขาวงกต

กิจกรรมส่งเสริมสหสัมพันธ์ระหว่างตากับมือ ( Eye-hand Coordination )

  • โยนลูกบอลหรือของเล่นเข้าไปในห่วงฮูล่าฮูบที่วางอยูบนพื้น เพิ่มความยากโดยการเพิ่มระยะทางในการโยน
  • โยนบอลแล้วรับโดยเริ่มจากการใช้บอลลูกใหญ่แล้วลดขนาดลูกบอลลงเพื่อเพิ่มความยาก
  • โยนโบว์ลิ่งโดยใช้ลูกบอลแทนลูกโบว์ลิ่งแล้วใช้ขวดโซดาแทนพินโบว์ลิ่ง
  • เล่นตีลูกโป่งโดยใช้ลูกโป่งขนาดกลาง


ผู้แสดงความคิดเห็น Admin วันที่ตอบ 2009-06-12 17:50:08 IP : 124.122.136.123


ความคิดเห็นที่ 6 (1980967)
avatar
555

ละเอียด ครบ รับใจไปเลยคะ

ผู้แสดงความคิดเห็น 555 วันที่ตอบ 2009-09-05 15:25:07 IP : 124.120.113.244


ความคิดเห็นที่ 7 (1983282)
avatar
anant
เนื้อหาเยอะดีค่ะ ขอบคุณมากๆ เลย มีอะไรดีๆ ก็เอามาลงอีกนะค๊ะ
ผู้แสดงความคิดเห็น anant วันที่ตอบ 2009-09-12 08:20:30 IP : 115.67.134.235


ความคิดเห็นที่ 8 (2007668)
avatar
KrooDaa
ดีมากเลยค่ะ กำลังมึนตึ๊บพอดี เจอทางออกแล้ว ขอบคุณนะคะ
ผู้แสดงความคิดเห็น KrooDaa วันที่ตอบ 2009-11-18 13:58:40 IP : 203.172.202.177


ความคิดเห็นที่ 9 (2007926)
avatar
รีมุ

ขอบคุณคะ

ผู้แสดงความคิดเห็น รีมุ วันที่ตอบ 2009-11-18 23:17:53 IP : 125.24.46.185


ความคิดเห็นที่ 10 (2017500)
avatar
เด็กปฐมวัย
ขอบคุณคะสำหรับข้อมูลดี ๆ หนูกำลังหาข้อมูลสำหรับทำงานส่งอาจารย์ค่ะ ขอบคุณมาก ๆ ๆ  ๆ ๆ เลนะคะ
ผู้แสดงความคิดเห็น เด็กปฐมวัย วันที่ตอบ 2009-12-19 15:13:36 IP : 124.120.116.134


ความคิดเห็นที่ 11 (2070558)
avatar
กอข้าว

ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆที่หาดูได้ยากมากถ้ามีโอกาสจะส่งลูกไปเรียนด้วยนะคะ

ผู้แสดงความคิดเห็น กอข้าว วันที่ตอบ 2010-06-02 19:01:45 IP : 61.90.104.142


ความคิดเห็นที่ 12 (2084879)
avatar
5555

พึ่งรู้ว่ามันมีวิธีจับสองวิธีจับ3นิ้วครับ

 

ผู้แสดงความคิดเห็น 5555 (Antimage_mono-at-hotmail-dot-com)วันที่ตอบ 2010-07-12 15:36:51 IP : 61.19.231.6


ความคิดเห็นที่ 13 (2085649)
avatar
ppppp
ขอบคุณมากที่ให้ข้อมูลกับดิฉันเพราะกำลังหนักใจกับเด็ก 4 ขวบที่ยังจับอะไรก็ไม่เป็นเลยกล้มใจมากเพราะตัวเด็กนั้นไม่สนใจที่จะทำและไม่ตั้งตั้งเลย
ผู้แสดงความคิดเห็น ppppp (fon-dot-pee-at-hotmail-dot-co-dot-th)วันที่ตอบ 2010-07-14 13:25:31 IP : 182.93.136.70


ความคิดเห็นที่ 14 (2094289)
avatar
ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆ
ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆ

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆ วันที่ตอบ 2010-08-09 18:41:30 IP : 125.26.4.110


ความคิดเห็นที่ 15 (2106225)
avatar
new

gucci replicas chanel their favorite celebrities louis vuitton quilted black leather with gleaming gucci wallet louis vuitton replica bags.

ผู้แสดงความคิดเห็น new (aquaracer-at-live-dot-com)วันที่ตอบ 2010-09-10 12:56:49 IP : 123.158.164.228


ความคิดเห็นที่ 16 (2106348)
avatar
cassandra

louis vuitton men fake replica louis vuitton shopping The sole difference lies louis vuitton The Monogram Canvas LineThe louis vuitton handbags replica louis vuitton mens bag.

ผู้แสดงความคิดเห็น cassandra (stephen-at-hotmail-dot-com)วันที่ตอบ 2010-09-10 17:50:31 IP : 125.126.157.28


ความคิดเห็นที่ 17 (2109337)
avatar
แม่ลูกสอง
ให้เด็กลองใช้"ตะเกียบหัดคีบ"ก็ช่วยส่งเสริมพัฒนาการการจับดินสอให้ถูกต้องได้ดีค่ะ เพราะการใช้ตะเกียบช่วยเรื่องการฝึกสมาธิ และเสริมสร้างความแข็งแรงของข้อต่อและกล้ามเนื้อต่าง ๆ อีกหลายส่วน เป็นพื้นฐานการจับดินสอที่ถูกต้องด้วยการใช้นิ้วโป้ง นิ้วชี้ และ นิ้วกลาง เหมือนกับการจับดินสอ "ตะเกียบหัดคีบ" น่ารัก ใช้ง่าย ช่วยให้การทานอาหารด้วยตะเกียบของเด็กเป็นเรื่องง่าย และสนุก ถ้าอยากรู้ว่า"ตะเกียบหัดคีบ" น่ารักแค่ไหน หรือหน้าตาเป็นอย่างไร ลองใช้ google ค้นหา "ตะเกียบหัดคีบ" ดูเองนะคะ
ผู้แสดงความคิดเห็น แม่ลูกสอง วันที่ตอบ 2010-09-15 15:42:04 IP : 125.25.83.179


ความคิดเห็นที่ 18 (2110936)
avatar
พ่อมือใหม่

เป็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์มากเลยครับ

ขอบคุณที่เอื้อเฟื้อครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น พ่อมือใหม่ วันที่ตอบ 2010-09-20 20:15:32 IP : 125.26.112.89


ความคิดเห็นที่ 19 (2116598)
avatar
เหม่ง

พัฒนาการด้านการเขียน

อายุ                                                                     ความสามารถ

2-5เดือน                                       เขียนเส้นเล

5-12เดือน                                     เขียนเส้นเลและหยุกหยิก

1-2ปี                                            เขียนหนังสืออ่านไม่ออก

2-4ปี                                            เขียนหนังสือได้และวาดรูปได้

4-9ปี                                            เขียนอ่านออก

10ปีขึ้นไป                                     เขียนสามนี้ว

ผู้แสดงความคิดเห็น เหม่ง (hgjyjh-at-G-mail-dot-com)วันที่ตอบ 2010-10-07 21:44:00 IP : 58.9.15.103


ความคิดเห็นที่ 20 (2119553)
avatar
นักศึกษา ป.โท การศึกษาปฐมวัย :)
ดีใจนะค่ะที่มีหน้านี้ให้เป็นประโยชน์กับพ่อ แม่ และคุณครูอนุบาลได้อ่าน เพื่อความเข้าใจที่ถูก้ต้อง มีประโยชน์มากค่ะ สิ่งสำคัญการเขียนของเด็กต้องเริ่มต้นจากความพร้อมของร่างกาย อารมณ์ ด้วยนะค่ะ จึงจะเริ่มให้เด็กฝึกเขียน ดังนั้นกิจกรรมพัฒนากล้ามเนื้อเล็กจึงเป็นกิจกรรมที่ดีสำหรับเด็กเตรียมความพร้อมค่ะ คอนเฟิร์ม
ผู้แสดงความคิดเห็น นักศึกษา ป.โท การศึกษาปฐมวัย :) วันที่ตอบ 2010-10-16 02:20:44 IP : 125.27.143.31


ความคิดเห็นที่ 21 (2119554)
avatar
นักศึกษา ป.โท การศึกษาปฐมวัย :)ม.ราชภัฎเพชรบุรี
ดีใจนะค่ะที่มีหน้านี้ให้เป็นประโยชน์กับพ่อ แม่ และคุณครูอนุบาลได้อ่าน เพื่อความเข้าใจที่ถูก้ต้อง มีประโยชน์มากค่ะ สิ่งสำคัญการเขียนของเด็กต้องเริ่มต้นจากความพร้อมของร่างกาย อารมณ์ ด้วยนะค่ะ จึงจะเริ่มให้เด็กฝึกเขียน สงสารเด็กบ้างคนพัฒนากล้ามเนื้อเล็กยังไม่พร้อมก็ต้องรีบเขียนตามครูบางคนที่ไม่เข้าใจพัฒนาการของเด็กหรือผู้ปกครองที่รีบเร่งให้เด็กเขียนได้ เด็กจะเขียนได้ดีเมื่อวุฒิภาวะให้และต้องการจะเขียน เดี๋ยวเด็กจะต้องเขียนแน่ๆในวัยประถมค่ะ เรามาช่วยให้เด็กทำกิจกรรมพัฒนากล้ามเนื้อเล็กซึ่งเป็นกิจกรรมที่ดีสำหรับเด็กเตรียมความพร้อมนะค่ะ คอนเฟิร์ม
ผู้แสดงความคิดเห็น นักศึกษา ป.โท การศึกษาปฐมวัย :)ม.ราชภัฎเพชรบุรี วันที่ตอบ 2010-10-16 02:25:35 IP : 125.27.143.31



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล *
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.